จอร์เจีย (Georgia)
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 



เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : 12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
จอร์เจีย (Georgia)

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

จอร์เจียมียาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษา เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่ กรุงทบิลิซิ (เมืองหลวง) ซึ่งมีอายุกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขา (valley) ที่งดงามซึ่งถูกแบ่งโดยแม่น้ำ Mtkvari พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 ซึ่งเป็นเวลา 11 ศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยเผ่าต่างๆ ทั้งนี้ ในระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 12

จอร์เจียได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่ง ในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 (พ.ศ. 2344) อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียเมื่อระบบกษัตริย์ (Tsarist) ของรัสเซียถูกโค่นลง สาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464)

กองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียตก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) Supreme Council ของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

จอร์เจียประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนพลัดถิ่นภายใน (internally displaced persons--IDPs) กว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งใน Abkhazia และ South Ossetia ซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับ South Ossetia มีความคืบหน้าพอสมควร ในขณะที่การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับ Abkhazia ยังคงหาผลสรุปไม่ได้

รัฐบาลจอร์เจียยึดมั่นในแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ IMF และ World Bank และให้ความสำคัญกับการบูรณะเส้นทางสายไหม ในฐานะที่เป็น Eurasian corridor โดยจะใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจอร์เจียเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย

ที่ตั้ง
ทางตอนใต้ของเทือกเขา Transcaucasus
ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์เมเนีย และตุรกี
ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ


พื้นที่
69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์

เมืองหลวง
กรุงทบิลิซี (Tbilisi) มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน

ประชากร
4,646,003 คน (ก.ค. 2550) แบ่งเป็น ชาวจอร์เจีย ร้อยละ 83.8 ชาวอาเซอรี ร้อยละ 6.5 ชาวอาร์เมเนียน ร้อยละ 5.7 ชาวรัสเซีย ร้อยละ 1.5 และอื่นๆ

ภูมิอากาศ
อบอุ่นสบาย ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลดำมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน

ภาษาราชการ
ภาษาจอร์เจีย เป็นภาษาราชการ(ร้อยละ 71)
ภาษารัสเซีย (ร้อยละ 9)
ภาษาอาร์เมเนีย (ร้อยละ 7)
ภาษาอาเซอรี (ร้อยละ 6)
ภาษาอับคาซเป็นภาษาราชการในอับคาเซีย

ศาสนา
คริสต์ นิกายออโธด็อกซ์ (ร้อยละ 83.9)
มุสลิม (ร้อยละ 9.9)
Armenian-Gregorian (ร้อยละ 3.9)
คริสต์ นิกายคาธอลิค (ร้อยละ 0.8)
อื่น ๆ (ร้อยละ 0.8)


หน่วยเงินตรา
lari (1 lari เท่ากับ 1.653 ดอลลาร์สหรัฐฯ (2007)

การเมืองการปกครอง

ระบอบการปกครอง
ประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยผ่านการเห็นชอบ 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา
สถาบันนิติบัญญัติ - ระบบสภาเดียว (Unicameral Supreme Council) มีสมาชิก 235 คน เลือกตั้งจากการแบ่งเขตประชากรต่อพื้นที่ โดยแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 150 เขต เขตละ 1 คน และจากการเสนอของพรรคการเมืองอีก 85 คน ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี

ประมุขและหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดี Mikheil Saakashvili (25 มกราคม 2547 ชนะเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 โดยได้เข้าพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคม 2551)

นายกรัฐมนตรี นาย Lado Gurgenidze (ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2550)

รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Gela Bezhuashvili

สถานการณ์การเมืองภายในประเทศ
การปฏิวัติกุหลาบ (Rose Revolution)
ภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีจอร์เจียเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ผลปรากฏว่า นาย Eduard Shevardnadze ประธานาธิบดีจอร์เจียในขณะนั้น ชนะการเลือกตั้งอย่างไม่โปร่งใส จึงเกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Shevardnadze ซึ่งมีกำหนดครบวาระในปี 2548 ลาออกจากตำแหน่ง ต่อมา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 นาย Mikheil Saakashvili ผู้นำฝ่ายค้าน ได้นำผู้ประท้วงราว 30,000 คน บุกเข้าไปในอาคารรัฐสภา ในขณะที่สมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามากำลังร่วมในการเปิดประชุมสภาสมัยแรก ทำให้ประธานาธิบดี Shevardnadze ซึ่งกำลังกล่าวปราศรัยอยู่นั้น ต้องหลบหนีออกจากรัฐสภา และประกาศภาวะฉุกเฉินและได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา ทั้งนี้ การประกาศลาออกดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากการหารือกับนาย Igor Ivanov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งได้เดินทางไปจอร์เจียและพบหารือกับบุคคลสำคัญต่างๆ ของฝ่ายจอร์เจีย

ภายหลัง เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 จอร์เจียได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นใหม่ ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า นาย Mikhail Saakashvili ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน และผู้นำในการโค่นล้มอดีตประธานาธิบดี Shevardnadze ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน ถึงร้อยละ 96.3 นาย Saakashvili ได้ปฏิญานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีจอร์เจียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547 และได้แถลงนโยบายว่า รัฐบาลจะเร่งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปรับปรุงระบบการจ่ายเงินเดือนและเงินบำนาญ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในด้านนโยบายต่างประเทศ นาย Saakashvili สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและนาโต้ของจอร์เจีย แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาสัมพันธ์อันดีกับรัสเซีย ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญด้วย

สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังจากกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลได้ออกมาประท้วงอย่างกว้างขวางในกรุงทบิลิซี และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่งและจัดให้มีการเลือกตั้งภายในฤดูใบไม้ผลิของปี 2551 เหตุการณ์นี้นับเป็นวิกฤษการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในจอร์เจียนับตั้งแต่การปฏิวัติกุหลาบในปี 2546

การประท้วงครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความไม่พอใจของชาวจอร์เจียต่อการจับกุมนาย Irakli Okrushvili อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้สมัครเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป อย่างไรก็ดี ทางการจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่ามีส่วนร่วมในการวางแผนการประท้วงครั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมรยเพื่อล้มล้างรัฐบาลฝักใฝ่ตะวันตกของประธานาธิบดี Saakashvili

แรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอกประเทศทำให้ประธานาธิบดี Saakashvili ประกาศร่นกำหนดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นวันที่ 5 มกราคม 2551 ซึ่งผลการเลือกตั้งดังกล่าวปรากฏว่า ประธานาธิบดี Saakashvili ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด เป็นจำนวนร้อยละ 53.47 ตามด้วยนาย Levan Gachechiladze ได้คะแนนเสียงร้อยละ 25.69 อย่างไรก็ดี ถึงแม้ประธานาธิบดี Saakashvili จะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่หากเปรียบเทียบเสียงที่ได้รับในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วจะเห็นได้ว่า ความนิยมในตัวประธานาธิบดี Saakashvili ได้ลดลงกว่าเดิมมาก กลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดี Saakashvili ได้ออกมาประท้วงแสดงความไม่พอใจต่อผลการเลือกตั้งดังกล่าว และเชื่อว่ามีความไม่โปร่งใสในการนับคะแนน ต่างจากผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจาก OSCE และองค์กรจากประเทศยุโรปและอเมริกาที่เห็นว่า การเลือกตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องตามวิถีประชาธิปไตย ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้ออก Press Statement แสดงข้อกังขาต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีจอร์เจียว่า มีการกดดันผู้สมัครจากพรรคตรงข้ามกับรัฐบาลโดยใช้ “อำนาจรัฐ” อย่างกว้างขวาง

นโยบายต่างประเทศจอร์เจีย
แม้ว่าจอร์เจียจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส แต่ในบริบทของการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ อาทิ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป จอร์เจียมีบทบาทสำคัญด้วยที่ตั้งที่ใกล้กับอิรัก อิหร่าน และตุรกี และยังตั้งอยู่บนเส้นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภายในจอร์เจีย (ดินแดง Abkhazia, South Ossetia และ Adjara) ยังทำให้จอร์เจียสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้

ความสัมพันธ์จอร์เจีย-รัสเซีย
จอร์เจียมีความขัดแย้งกับรัสเซียสืบเนื่องมาจากปัญหาแบ่งแยกดินแดนในจอร์เจีย โดยจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่าเข้าไปแทรกแซงในปัญหาเหล่านี้ ทั้งในทางลับและโดยการส่งกองกำลังเข้าไป และยังกังวลว่ารัสเซียพยายามที่จะผนวกดินแดนจอร์เจียเข้าไปในดินแดนของตน ในขณะที่รัสเซียเห็นว่าดินแดนชายแดนของจอร์เจียบางแห่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายเชชเนีย และเห็นว่ารัฐบาลจอร์เจียไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างกลุ่มกองโจรเชชเนียเหล่านี้ในดินแดนของตน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก South Ossetia ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ South Ossetia เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย อย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ

ความสัมพันธ์จอร์เจีย-สหรัฐฯ
จอร์เจียมีความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) กับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปีค.ศ.2000 โดยสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่จอร์เจีย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.2002 ได้มีการลงนามในโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันระหว่างรัฐบาลจอร์เจียกับนักลงทุนต่างประเทศ ภายใต้โครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันเส้นทาง Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อจอร์เจียและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคคอเคซัส เนื่องจากจะนำไปสู่การขยายตัว ทางเศรษฐกิจของจอร์เจียและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคคอเคซัส ทั้งนี้ ท่อส่งน้ำมันดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นจากอาเซอร์ไบจาน (กรุงบากู) ผ่านจอร์เจียไปยังเมืองท่า Ceyhan ของตุรกี เพื่อขนถ่ายน้ำมันทางเรือต่อไปยังยุโรปทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งแล้วเสร็จและดำเนินการส่งออกก๊าซและน้ำมัน เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2005 นอกจากนี้ จอร์เจียยังมีโครงการ North-South Transport Corridor ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรป มีจุดเชื่อมจากเมืองในอิหร่านไปถึงท่าเรือในทะเลดำ อย่างไรก็ตาม ระยะทางประมาณ140 กิโลเมตร จากอิหร่านไปยังอาเซอร์ไบจาน ยังคงต้องสร้างเพิ่มเติม เนื่องจากในปัจจุบันยังต้องอาศัย การขนส่งโดยรถไฟ เศรษฐกิจการค้า

สถานะเศรษฐกิจจอร์เจีย
เศรษฐกิจจอร์เจียมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นในระยะหลังมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Saakashvili ในปี 2546 เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่แน่วแน่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายและเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ การปฏิรูปภาษี (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548) ที่ลดอัตราภาษีลงเพื่อให้ประชาชนลดการหลบเลี่ยงภาษี กระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่ม และยังพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในหมู่นักลงทุนต่างชาตินอกจากนี้ รัฐบาลยังประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และในระยะหลังยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการท่อขนส่งน้ำมัน Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งจะทำให้จอร์เจียเป็นเส้นทางผ่านสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป อย่างไรก็ดี ความยากจน ธุรกิจผิดกฎหมาย ตลาดมืด และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจอร์เจีย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Shevardnadze ทั้งนี้ มีการประเมินว่า มีการดำเนินธุรกิจโดยมิได้ผ่านการลงทะเบียนของรัฐในจอร์เจียอยู่ถึงร้อยละ 30-50

ข้อมูลทั่วไป
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ $18.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว $3,900 (ปี 2549)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ 9.4% (ปี 2549)
อุตสาหกรรม เหล็ก เครื่องบิน เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ไม้ ไวน์
มูลค่าส่งออก 1.667 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2549)
สินค้าออกที่สำคัญ อัลลอย เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ มะนาว ชา ไวน์
ตลาดส่งออกที่สำคัญ รัสเซีย ตุรกี อาเซอร์ไบจาน เติร์กเมนิสถาน อาร์เมเนีย
มูลค่านําเข้า 3.686 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2549)
สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร ยานยนต์ ข้าวและสินค้าอุปโภค ผลิตภัณฑ์ยา
ตลาดนําเข้าที่สําคัญ รัสเซีย ตุรกี เยอรมนี ยูเครน อาเซอร์ไบจาน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจอร์เจีย
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
1.1 การทูต
ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโกรับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจีย ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียได้แต่งตั้งนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2003

1.2 การค้า
ไทยกับจอร์เจียเพิ่งเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันเมื่อปี ค.ศ. 1995 โดยมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศยังมีมูลค่าไม่สูงมากนัก แต่มีแนวโน้มที่ดีในการขยายลู่ทางทางการค้าระหว่างกันต่อไป ในปี ค.ศ. 2003 มูลค่าการค้ารวมคิดเป็น 7,466,363 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า คิดเป็นมูลค่า 3,857 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากจอร์เจีย ได้แก่ ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป หลอดและท่อโลหะ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังจอร์เจีย ได้แก่ เม็ดพลาสติก น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ยางพารา ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผักกระป๋องและแปรรูป ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่าการค้ารวม (ม.ค.-พ.ย. 49) 17 ล้าน USD (ไทยส่งออก 8.3 ล้าน USD นำเข้า 8.6 ล้าน USD ขาดดุล 3 แสน USD)

1.3 ความร่วมมือทางวิชาการ
คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และวิชาการจากจอร์เจีย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานของจอร์เจียได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือในด้านนี้ในสาขาต่างๆ กับไทย ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ ได้เดินทางไปเยือนและเจรจาความร่วมมือดังกล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2536 แต่หลังจากนั้น ก็ไม่มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันแต่อย่างใด

2. ความตกลงที่สำคัญกับประเทศไทย
ปัจจุบันไทยและจอร์เจียมีความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณา 5 ฉบับ ได้แก่
1. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Agreement for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with respect to Taxes on Income) ฝ่ายจอร์เจียได้เสนอร่างให้กับฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2540

สถานะล่าสุด: ขณะนี้ฝ่ายไทยได้เสนอร่างความตกลงต้นแบบของไทยให้ฝ่ายจอร์เจียแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายจอร์เจีย

2 ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement on the Promotion and Protection of Investments) ฝ่ายจอร์เจียได้เสนอร่างให้กับฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2539 สถานะล่าสุด: ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอกำหนดวันเจรจาต่อไป

3 ความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ฝ่ายจอร์เจียได้เสนอร่างให้กับฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2539 สถานะล่าสุด: ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายไทย 4 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางเรือ (Agreement on Maritime Transport)

ฝ่ายจอร์เจียได้เสนอร่างให้กับฝ่ายไทย เมื่อปี 2539 สถานะล่าสุด: ฝ่ายจอร์เจียเคยแจ้งความประสงค์จะส่งคณะมาเจรจาความตกลง ฯ เมื่อปลายปี 2540 แต่ในที่สุดเปลี่ยนเป็นคณะเพื่อเจรจาความตกลงว่าดัวยการขนส่งทางอากาศแทน จึงยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกี่ยวกับความตกลง ฯ นี้
5 ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ (Air Transport Agreement) ฝ่ายจอร์เจียได้เสนอร่างให้กับฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2540 สถานะล่าสุด: ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายจอร์เจีย

3. การเยือนที่สำคัญ นับแต่สถาปนาความสัมพันธ์ ยังไม่มีการเยือนระหว่างกันที่สำคัญ เว้นแต่การเดินทางไปยื่นพระราชสาส์นของเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก และการเยือนจอร์เจียของนายสวนิต คงสิริ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 3-5 มิถุนายน ค.ศ. 1999




แหล่งมรดกโลกของจอร์เจีย

Historical Monuments of Mtskheta (อาคารประวัติศาสตร์แห่งมิทชเคทา)
โบสถ์โบราณของมิทชเคทา (Mtskheta) ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของจอร์เจีย เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของสถาปัตยกรรมทางศาสนายุคกลางในภูมิภาคคอเคซัส(Caucasus) อาคารเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและศิลปะระดับสูงของอาณาจักรโบราณแห่งนี้



Upper Svaneti (แคว้นสวาเนติบน)
แคว้นสวาเนติบน ในคอเคซัส (Caucasus) ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ได้เพราะอยู่อย่างโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน เป็นตัวอย่างที่พิเศษของทิวทัศน์ขุนเขาซึ่งประกอบด้วยหมู่บ้านแบบยุคกลางและบ้านหอคอย ในหมู่บ้านชาจาชี (Chazhashi) ยังคงมีบ้านเหล่านี้มากกว่า ๒๐๐ หลัง ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่ป้องกันภัยจากผู้รุกราน



Bagrati Cathedral and Gelati Monastery (อาสนวิหารบากราติและอารามเกลาติ)
อาสนวิหารบากราติ ตั้งชื่อตามพระเจ้าบากราตที่ 3 (Bagrat III) กษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงรวมจอร์เจีย ก่อสร้างขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ (กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖) ถึงแม้จะถูกทำลายไปบางส่วนโดยพวกเติร์ก (Turks) ใน คริสต์ศักราช ๑๖๙๑ (พุทธศักราช ๒๒๓๔) ซากปรักหักพังของโบสถ์ก็ยังปรากฏอยู่ที่ใจกลางเมืองคูไทสิ (Kutaisi) อารามเกลาติ ซึ่งอาคารหลักสร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒-๑๗ (พุทธศตวรรษที่ ๑๗- ๒๒) เป็นกลุ่มอาคารที่ยังคงรักษาสภาพไว้ได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยโมเสคและจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม อาสนวิหารและอารามนี้เป็นตัวแทนความรุ่งเรืองของสถาปัตยกรรมยุคกลางในจอร์เจีย
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
16-10-2011 Views : 10736
หมวด 12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช : 12 หัวข้อ   
    16-10-2011
  • จอร์เจีย (Georgia)
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.145.173.112 = UNITED STATES    Saturday 27th April 2024  IP : 3.145.173.112   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com