สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 




















เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : เสด็จเยือนรัสเซีย
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ มีพระนามจารึกตามพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ นริศราชมหามกุฎวงศ์จุฬาลงกรณนรินทร์ สยามพิชิตินวรางกูร สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์อรรควรรัตน์ ขัตติยราชกุมาร” ประสูติในพระบรมมหาราชวัง ณ วันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๙ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๐ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) เป็นต้นราชสกุล “จักรพงษ์”


สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ ทรงประสูติพระราชโอรสและพระราชธิดา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รวม ๙ พระองค์ ดังนี้
๑. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตร นริศราชกุมารี เป็นองค์ที่ ๒๒ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชกาลที่ ๕ พระชันษา ๑๐ ปี ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระเทพนารีรัตน์ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๕๘
๒. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโต สุชาตคุณสังกาศวิมลรัตน์ ทฤฆชนมสวัสดิขัตติยราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๒๙ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวารวดี เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๑ เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงศึกษาวิชาพลเรือนในมหาวิทยาลัยออกสเฟิดและวิชาทหารบกในโรงเรียนแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการได้เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ ตำแหน่งจเรทัพบก และทรงบัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา
๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายตรีเพ็ชรรุตม์ธำรงนริศรวงศ์เทวราช วโรภโตชาตพิสุทธิ์ รัตนบุรุษย์จุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพวโรรส อดุลยยศวิสุทธิ์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๓๖ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชกาลที่ ๕ พระชันษา ๗ ปี
๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
๕. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิริราชกกุธภัณฑ์ สรรพวิสุทธิมหุดิ์มงคล เอนกนภดลดารารัตน์สมันตบริพัตรวโรภาส อดิศรราชจุฬาลงกรณ์บดินทร เทพวโรรส วิสุทธิสมมตวโรภโตปักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครวรราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๕๓ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๐ พระชันษา ๓ ปี
๖. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง เป็นองค์ที่ ๕๖ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
๗. สมเด็จเจ้าฟ้าชายอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฏฐวิสุทธิลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ปฐมปริวัตรรัตนโกสินทรศก ศตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตรบรมนาถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษ์วิสุทธิกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๖๒ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เสด็จทรงไปศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการทหารบกในรัชกาลที่ ๖ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล เลื่อนเป็นนายพลเรือเอก ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ เสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เมื่อเสด็จทิวงคตแล้ว พระชนมายุ ๓๕ พรรษา
๘. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธวิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๗๒ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์ อินทราชัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดช์ ประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ ๖ เป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๓๒ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล “จุฑาธุช”
๙. สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ชเนศรมหาราชาธิราช จุฬาลงกรณนาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามกุฎราชพงศ์บริพัตร บรมขัตติยมหารัชฎาภิษิญจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมาการ สถาวรวรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร เป็นองค์ที่ ๗๖ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๑ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖

ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้เสด็จไปศึกษาวิชาทหารบกในประเทศอังกฤษเสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ ๖ เป็นนายพันโทราชองครักษ์ ตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม เป็นนายพันเอกปลัดกรมเสนาธิการทหารบก แล้วเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงเลื่อนพระอิศริยยศเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗



เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงสละราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่ประเทศอังกฤษ เสด็จสวรรคตที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ พระชนม์พรรษา ๔๘ พรรษา

สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาหนังสือไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) และขุนบำนาญวรวัฒน์ (สิงโต) ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่โรงเรียนราชกุมาร ที่ตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ครูสอนภาษาอังกฤษคือ นายวุลสเลย์ ลูวีส และนายเยคอล พิลด์เยมส์

เมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้ ๙ พรรษา ได้ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดา และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชมารดา ได้ทรงพระราชดำเนินไปส่งลงเรือโดยสารของฝรั่งเศส ชื่อสฆาเลียน ที่สิงคโปร์ โดยมีจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จไปส่งถึงทวีปยุโรปด้วย



เมื่อถึงทวีปยุโรปแล้ว พระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในประเทศอังกฤษก่อน ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสทวีปยุโรปครั้งแรก ก็ได้เสด็จไปเยี่ยมสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ แห่งกรุงรุสเซีย ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์ (สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร เคยเสด็จมาเยือนประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓)

ขณะนั้นพระสหายของพระองค์ก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งประเทศรุสเซียแล้ว สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสฯ จึงได้ทรงชักชวนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ส่งพระราชโอรสไปศึกษาที่ประเทศรุสเซีย ซึ่งพระองค์ยินดีที่จะอุปการะเสมือนพระญาติวงศ์แห่งพระราชวงศ์โรมานอฟด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้น ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชบิดา จึงมีพระราชกระแสร์รับสั่งให้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษอยู่แล้ว ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของสมเด็จประเจ้าซาร์นิโคลัสแห่งกรุงรุสเซียต่อไป



สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษภูวนารถ หรือ “ทูลกระหม่อมเล็ก” พระองค์นี้ พระองค์เป็นคนไทยคนแรก และเป็นพระราชโอรสองค์เดียวของพระมหากษัตริย์ไทย ที่ได้ทรงศึกษาวิชาการทหาร ณ ประเทศรุสเซีย! ในการไปศึกษาของพระองค์ในประเทศรุสเซียคราวนั้น ก็ได้มี นายพุ่ม สาคร (นักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์) ซึ่งเป็นผู้ที่สอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้เป็นครั้งแรก โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นายพุ่มฯ เข้ารับการศึกษาร่วมกับพระราชโอรสด้วย ทั้งนี้ก็ด้วยพระบรมราโชบายของสมเด็จพระชนกนารถเพื่อต้องการให้พระราชโอรสได้มีคู่แข่ง ก่อให้เกิดขัติยะมานะพยายามเล่าเรียนอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น ส่วนการศึกษาของพระองค์ฯ และนายพุ่มฯ นั้น สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งกรุงรุสเซียได้รับสั่งให้นายพลตรี เคาน์ต เค็ลแลร์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก และนายร้อยเอกวัลเดมาร์ฆรูลอฟฟ์ นายทหารม้ารักษาพระองค์ เป็นผู้ดูแลแทนพระองค์อย่างกวดขัน



ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พระองค์ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมเมืองไทยเป็นครั้งแรก ดังบันทึกรับสั่งของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงประทานหม่อมราชวงศ์สุมนชาติสวัสดิกุล เรื่องสนามหลวงไว้ดังนี้ว่า “งานใหญ่ๆ ที่สนุกสนานมากซึ่งจัดที่ท้องสนามหลวงในรัชกาลที่ ๕ ยังมีอีก ๒ งาน คือการดัดแปลงท้องสนามหลวงให้เป็นบ้านเมืองและเป็นป่า เพื่อเล่นโขนกลางแปลงต้อนรับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประเทศยุโรปครั้งแรกเมื่อ ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) กับงานสงครามบุปผชาติ แต่งแฟนซี และตกแต่งจักรยานสองล้อด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ และขี่ม้าขว้างปากันด้วยกระดาษลูกปาและกระดาษสายรุ้ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้จัดรับเสด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถที่ทรงศึกษาวิชาทหารอยู่ ณ ประเทศรุสเซีย เสด็จกลับประเทศชั่วคราวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒”



ภายหลังจากที่พระองค์ฯ ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อยังประเทศรุสเซียในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ปรากฏว่าในปลายปีพระองค์ทรงสอบได้ที่ ๓ ส่วนนายพุ่มฯ สอบได้เป็นที่ ๒ ยิ่งกว่านั้นผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยฯ ปรากฏว่าพระองค์ทรงสอบไล่ได้ที่ ๑ นายพุ่มฯ สอบได้เป็นที่ ๒ ยิ่งกว่านั้นผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กในราชสำนักกรุงรุสเซีย ทรงทำคะแนนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงเรียน ดังนั้นพระนามของพระองค์จึงได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นศิลาอ่อนของโรงเรียนในเวลาต่อมา ทั้งพระองค์ฯ และนายพุ่มฯ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารม้าประจำกรมทหารม้าฮุสซาร์ ของสมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งกรุงรุสเซียในปีนั้นเอง



เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับมาเยี่ยมเมืองไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พร้อมกันนั้นพระองค์ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอก และในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงของประเทศรุสเซียอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับนายพุ่มฯ พระสหายจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษา ปรากฏว่า พระองค์ฯ ทรงสอบได้เป็นที่ ๑ อีก และสมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสฯ ก็ได้พระราชทานยศให้เป็นนายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรุสเซีย ในเวลาต่อมาอีกด้วย

และในระหว่างที่พระองค์ทรงศึกษาอยู่นั้นเอง พระองค์ได้ทรงพบกับ น.ส. คัทริน เดนิสะกี้ ธิดาของอีวาน สเตปาโนวิช เดนิสะกี้ อดีตอธิบดีศาลมณฑลลุกซ์ และมารดาในตระกูลคิชเนียคอป ซึ่งขณะนั้นได้พำนักอยู่กับครอบครัวนายทหารชั้นผู้ใหญ่แห่งกรมทหารม้าฮุสซาร์ ทั้งพระองค์และ น.ส. คัทรินฯ ได้ทรงพบกันเสมอในการชุมนุมสังสรรค์กับบรรดานายทหารในกรมทหารม้าที่พระองค์ทรงสังกัดอยู่ และในที่สุดพระองค์ก็ได้ทรงสมรสที่เมืองคอนสตานติโนเปิล โดยที่ไม่ได้ทรงกราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบแต่ประการใด กับได้ทรงพาหม่อมคัทรินฯ กลับเมืองไทยในปีเดียวกันนั้นเอง ในชั้นแรกทรงให้หม่อมคัทรินฯ พักอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นการชั่วคราวก่อน ส่วนพระองค์ฯ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ แต่พระองค์เดียว โดยเสด็จประทับอยู่ที่วังปารุสกวัน



ครั้นต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันเอก และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ในไม่นานก็มีข่าวลือมายังกรุงเทพฯ ว่ามีมาดามเดอพิษณุโลกอยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อสมเด็จพระราชบิดาทรงทราบเรื่องนี้ พระองค์ทรงทูลว่า “อาจเป็นไปได้” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนารถทรงกริ้วเป็นที่สุด โดยที่พระโอรสพระองค์นี้ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของสมเด็จพระราชบิดา และพระราชมารดาเป็นอย่างยิ่ง

กลับทรงไปมีพระชายาเป็นชาวต่างชาติ ย่อมเป็นที่แสลงพระราชหฤทัย อันเนื่องด้วยพระราชประเพณีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อข่าวเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว พระองค์ฯ ก็จัดให้หม่อมคัทรินฯ เดินทางมายังกรุงเทพฯ แต่จะอย่างไรก็ตาม พระองค์ก็คงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเข้มแข็ง ไม่มีอะไรบกพร่องเสียหาย ทรงถือว่าในเรื่องราชการก็เป็นเรื่องของราชการ เรื่องส่วนพระองค์ก็เป็นเรื่องส่วนพระองค์ และพระองค์ก็ทรงก้าวหน้าในหน้าที่ราชการขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้ว่าในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก อีกตำแหน่งหนึ่ง พระภารกิจของพระองค์มีมากมายที่ต้องทรงปฏิบัติราชการทั้งกลางวันและกลางคืน ล้วนน่าเหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก

ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ยังทรงแบ่งเวลาสำหรับแต่งและแปลตำราวิชาการทหารสำหรับทำการสอบนักเรียนนายร้อย ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง กับทั้งได้ทรงจัดระเบียบแบบแผนโรงเรียนนายร้อยขึ้นใหม่ โดยให้มีนักเรียนนายร้อยชั้นปฐม และนักเรียนนายร้อยชั้นมัธยมขึ้น เป็นต้น ครั้นในปลายปีพ.ศ. ๒๔๕๐ นั้นเอง หม่อมคัทรินพระชายาของพระองค์ได้ประสูติโอรสเป็นชายพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (ประสูติเมื่อวันที่ ๒๘ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อขณะประสูติพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓)

พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ พระองค์นี้ได้นำความปลาบปลื้มปีติยินดีให้กับสมเด็จพระบรมราชินีนารถยิ่งนัก ดังจะเห็นได้จากข้อเขียนของนางอมร ดรุณรักษ์ อ.สุนทรเวช (อุทุมพร วีระไวทยะ) ข้าหลวงในสมเด็จฯ ในหนังสือพระราชชีวประวัติส่วนพระองค์ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมชนกชนนีพันปีหลวง ดังนี้

“…ในบรรดาพระประยูรญาติราชนิกูลทั้งหลายทั้งปวงนั้น ผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาโปรดปรานและเอาเป็นพระราชภาระอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษอย่างยิ่งคือ หม่อมเจ้าจุลจักรพงษ์ โอรสองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ซึ่งหม่อมคัทรินพระชายา (ชาวรุสเซีย) เป็นพระมารดา อันเป็นพระราชนัดดาสืบสายโลหิตพระองค์แรกและสมเด็จทรงเป็นพระอัยยิกาโดยตรง มีพระนามเรียกกันสั้น ๆ ว่าท่านพระองค์หนู... การที่ทรงเอามาเป็นธุระมากเป็นพิเศษโดยเฉพาะแก่ท่านพระองค์หนูนั้นย่อมทราบกันดีว่าเนื่องมาแต่ทรงพระเมตตาที่มิได้ทรงได้รับพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าดังที่ควรจะเป็น จึงใคร่จะพระราชทานความรักใคร่อบอุ่นและพระเกียรติในฐานะหลานหลวง ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ทรงจัดพระราชทานให้เป็นพิเศษเทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแทบทุกประการ ด้วยทรงห่วงใยว่าหม่อมคัทรินพระชนนีของท่านพระองค์หนูนั้นเป็นเชื้อชาติชาวประเทศยุโรป ย่อมจะไม่สามารถอบรมฝึกฝนจริตมารยาทของพระโอรสให้เข้ากับระเบียบแบบแผนเจ้านายตามพระราชประเพณีไทยได้ดีถึงขนาด ปรากฏว่าได้พระราชทานให้ท่านพระองค์หนูมีห้องสำหรับทรงพักผ่อนเป็นที่เล่นสรงเสวยและแต่งพระองค์ทรงเครื่อง เว้นแต่เวลาบรรทมจึงจะเข้าไปบรรทมข้างพระที่ร่วมในพระวิสูตรเดียวกับสมเด็จย่า และทุกๆ วันในเวลาที่สมเด็จบรรทมหลับ ท่านพระองค์หนูจะไปเฝ้าทูลกระหม่อมพระบิดาและหม่อมมารดาเป็นประจำมิได้ขาด ...สำหรับหม่อมคัทรินนั้น ปรากฏว่าได้พยายามปฏิบัติตัวให้เข้าระเบียบอย่างขนบธรรมเนียมไทยจนเต็มความสามารถ เพื่อให้เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย คือนุ่งผ้าโจงกระเบน สะพายแพรห่มและรับประทานหมาก ทุกครั้งในเมื่อมาเฝ้าที่พระตำหนักพญาไท เมื่อทรงพบปะเจ้านายพระบรมวงศ์ ก็ปรากฏว่าท่านสามารถวางตนได้เหมาะสม มารยาทก็ทำได้แนบเนียนสวยงามและถูกต้องเกือบเท่าคนไทย ไม่ว่าการหมอบคลานหรือถ้อยคำเพ็ดทูลก็คล่องแคล่วละเมียดละไมอย่างยิ่ง จนเป็นคะแนนเรียกร้องความเห็นใจจากเจ้านายฝ่ายในได้เป็นอันมาก เป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระพันปีหลวงให้ทรงพระเมตตาเพิ่มขึ้น และได้มีพระราชเสาวนีย์ห้ามข้าหลวงพนักงานมหาดเล็กกรมวังทั้งหลายในราชสำนักไม่ให้เอ่ยนามว่า “หม่อมคัทริน” แต่ให้เปลี่ยนสรรพนามเรียกเสียใหม่ว่า “คุณที่วัง” แทนสรรพนามเดิม”



ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนพระยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกปรานารถจากนายพันเอกเป็นนายพลตรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2542 พระองค์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้รั้งน่าที่เสนาธิการทหารบก และในเดือนมกราคมปีเดียวกันนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระองค์เป็นเสนาธิการทหารบก อันเป็นตำแหน่งสำคัญในการรบทั้งในยามปกติและในยามสงคราม กับรั้งตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกอีกตำแหน่งหนึ่ง และในปีนั้นเองพระองค์ฯ ได้ทรงร่างระเบียบแบบแผนของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ตามแผนการศึกษาสมัยใหม่ขึ้นได้เป็นแบบฉบับต่อเนื่องให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาจนกระทั้งถึงปัจจุบันนี้ ตลอดจนการก่อสร้างค่ายทหารที่จังหวัดปราจีนบุรี คือ “ค่ายจักรพงษ์” กับการกำกับการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสภากาชาดไทย (ทรงรับงานต่อจากจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) ทรงสร้างความเจริญให้แก่สภากาชาดไทย โดยทรงหวังว่าจะได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลประชาชนผู้เจ็บไข้ต่อไป



ครั้งถึงวันที่ 23 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนารถได้เสด็จสวรรคตอันเป็นความวิปโยคอย่างใหญ่หลวงต่อพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ และต่อปวงชนชาวไทยทั้งชาติยิ่งนัก เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารพระเชษฐาของพระองค์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แล้ว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนพระยศสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ เป็นนายพลโท

รุ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2454 นั้นเองได้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือข่าวการเตรียมการก่อการกบฏของ “คณะ ร.ศ. 130” พระองค์ทรงได้ข่าวและสืบสวนมานานแล้ว โดยฝ่ายกบฏได้กำหนดจะใช้กำลังทหารในพระนครบางส่วนเข้าทำการยึดอำนาจในวันที่ 1 เมษายน อันเป็นวันขึ้นศกใหม่ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) คือวันถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนั้นล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระองค์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นพระองค์จึงได้วางแผนและทำการจับกุมในตอนเช้าตรู่ของวันพุธที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 ครั้นเมื่อจับกุมผู้ร่วมก่อการจนเป็นที่เรียบร้อย จึงเสด็จไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ประทับแรมอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นการจับกุมกบฏในปีนั้นแล้ว เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ก็ได้เสด็จไปกรุงลอนดอนเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการราชาภิเษกพระเจ้ายอร์ชที่ 5 พระเจ้าแผ่นดินกรุงอังกฤษ และในระหว่างประทับอยู่ในยุโรปอันเป็นหน้าที่ราชการส่วนหนึ่งของพระองค์ก็คือการเชิญเจ้านายพระราชวงษ์ของเจ้าต่างประเทศในยุโรปเสด็จมาในงานสมโภชน์พระบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2454 อาทิ เช่น สมเด็จพระเจ้ายอร์ชที่ 5 แห่งกรุงอังกฤษ สมเด็จพระเจ้ากรุงรุสเซีย สมเด็จพระเจ้ากรุงสวีเดน และ พระเจ้ากรุงเดนมาร์ก เป็นต้น ครั้นวันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2454 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ก็ได้ทรงรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เลื่อนพระอิสริยยศจากกรมขุนฯ เป็นกรมหลวงฯ ดังประกาศแต่งตั้งดังนี้



“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ เป็นพระราชโสทรานุชาธิบดี อันมีพระชนมพรรษารองพระชนม์พรรษาแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทรงเสน่หามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์อยู่ด้วยกันจนกระทั่งกาลบัดนี้ มีพระราชอัธยาศัยน้ำพระทัยตรงกันแทบทุกประการไป ทั้งในเมื่อออกไปศึกษาศิลปวิทยาในประเทศยุโรปก็ประจวบกับสมัยนั้นได้เสด็จประพาสในที่ต่าง ๆ ด้วยกันอยู่เนือง ๆ จึงทรงทราบได้แน่ชัดว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ได้มีพระอุตสาหะวิริยภาพมากเพียงใดในการศึกษาทุกประการ ได้ทรงจำได้รวดเร็วและละเอียดละออทั้งได้ทรงศึกษาโดยเต็มพระทัยมิใช่เป็นไปแต่โดยเสียมิได้ และขณะที่ทรงเสด็จไปศึกษาอยู่ ณ สถานใดก็มีผู้นิยมรักใคร่ในพระองค์ ไม่เฉพาะแต่ในวิทยาการทั้งในราชสำนักและทั้งปวงก็เช่นเดียวกัน เช่นในราชสำนักรุงรุสเซีย เป็นต้น สมเด็จพระเจ้ากรุงรุสเซียและพระอัครมเหสีกับราชวงศ์ และขุนนางในประเทศนั้นต่าง ๆ และแสดงความไมตรีจิตเป็นอย่างดียิ่ง ได้ปรากฏตลอดมานับว่าได้ทรงทำประโยชน์ให้แก่ราชวงศ์และบ้านเมืองได้ประการหนึ่ง ครั้นเมื่อทรงศึกษาแล้วได้เสด็จกลับคืนสู่พระนครก็ได้ทรงรับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระราชบิดาในตำแน่งหน้าที่สำคัญในทหารบก นับแต่เริ่มต้นแต่ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วย ดำริวางแผนงานต่าง ๆให้เป็นระเบียบ และเมื่อได้ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบกและกรมยุทธศึกษาแล้ว ก็ได้ทรงพระอุตสาหะจัดวางระเบียบการศึกษาฝ่ายทหารบก ให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าเก่าเป็นอันมาก นับว่าได้ทรงทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในทหารบก ครั้นตำแหน่งเสนาธิการทหารบกว่างลงก็ได้ทรงรับตำแหน่งเสนาธิการทหารบกเพิ่มขึ้นอีก ได้ทรงมีอุตสาหะในหน้าที่ราชการอันนี้เป็นอย่างดียิ่ง ราชการดำเนินไปสู่ทางเจริญโดยรวดเร็ว ด้วยพระดำริการโดยสุขุมและรอบคอบ ทรงมุ่งประโยชน์ยาว จึงเป็นที่พอพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนัก มาในรัชกาลที่ 6 เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภากองทัพบกขึ้นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ก็ได้ทรงรับตำแหน่งเลขานุการแห่งสภานั้น นับว่าเป็นการเพิ่มหน้าที่ราชการสำคัญขึ้นอีกส่วนหนึ่ง



ครั้นเมื่อกำหนดมีงานราชาภิเษกพระเจ้ายอร์ชที่ 5 แห่งกรุงอังกฤษ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ เสด็จออกไปช่วยงานนี้ต่างพระองค์ ทั้งได้ไปเยี่ยมราชสำนักต่างประเทศอีกหลายแห่ง และได้ทรงมอบให้ตรวจงานต่าง ๆ อีกหลายแห่ง อันจะเป็นประโยชน์ให้บังเกิดมีแก่ราชการของประเทศไทย กรมขุนพิษณุโลกประชานารถได้เสด็จไปโดยเรียบร้อย นับว่าเหมือนหนึ่งได้ทรงนำเกียรติยศไปประกาศให้ปรากฏแก่นานาประเทศ

นอกจากนี้ในส่วนราชการในพระองค์ก็ทรงอาศัยกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ทรงเอ่ยดำริและจะสนองพระเดชพระคุณให้สำเร็จเรียบร้อยไปแล้วเป็นเอนกประการ เพราะอาศัยความจงรักภักดี และพระอุตสาหะวิริยภาพแห่งกรมขุนพิษณุโลกประชานารถ จึงนับว่าเป็นการสะดวกพระราชหฤทัยยิ่งนักสมควรที่จะทรงพระกรุงสถาปนาเพิ่มพูนพระอิสริยยศให้ใหญ่ขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวง มีพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ นริศราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณ์นริจทร์สยามพิชิตินวรางกูลสมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตนขัตตยราชกุมาร กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถสิงหนาม ได้ทรงศักดินา 50,000 ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมในบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ จงเจริญพระชนมายุ วรรณะ พละ ปฏิญาณ คุณสารสมบัติสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบูลศุภผล สากลเกียรติยศอิสริยศักดิ์มโหฬารทุกประการ” และในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเองก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนพระยศจากนายพลโทเป็นนายพลเอก



ในปี พ.ศ. 2457 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญของโลกคือ อาชดยุค ฟรานซิส เฟอร์ดินาล องค์รัชทายาทและพระชายาแห่งเอาสเตรีย ถูกชาวเซอร์เบีย เชื้อสายบอสเนียลอบปลงพรชนม์ที่เมืองซารเยโว ในประเทศเซอร์เบีย (ยูโกสลาเวีย) เมื่อวันที่ 28 เดือนมิถุนายน จนกลายเป็นชนวนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น โดยมีประเทศเยอรมัน เอาสเตรีย ฮุงการี่ และกลุ่มประเทศอื่นในยุโรปภาคกลางฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรคือประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เบลเยี่ยม รัสเซีย อิตาลี่ และประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มสัมพันธมิตรฝ่ายหนึ่งได้ทำการสู้รบกันอย่างรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย มาตั้งแต่วันที่ 24 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 แล้ว ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นการณ์ไกล เพราะทรงศึกษาสังเกตุการณ์เคลื่อนไหนของคู่ศึกสงครามอย่างใกล้ชิด และทรงทราบถึงการทารุณโหดร้ายต่าง ๆ ที่ประเทศเยอรมันกระทำต่อมนุษยชาติไม่ได้ จึงได้ทรงประท้วง และในที่สุดพระองค์ก็ได้ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับประเทศเยอรมัน เมื่อวันที่ 22 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2460 และได้เตรียมการส่งทหารอาสาไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรปด้านตะวันตก ดังนั้นหน้าที่ราชการของพระองค์ในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ซึ่งต้องกระทำการสงครามร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น การจัดกำลังทหารอาสาที่จะไปราชการสงครามยังทวีปยุโรป พระองค์ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปเป็นตามที่พระองค์ทรงวางแผนการไว้เป็นอย่างดียิ่งตลอดจนการจับกุมและยึดทรัพย์สินเชลยศึกในพระนครก็เป็นไปโดยเรียบร้อย ส่วนกำลังทหารที่ส่งออกไปทำราชการสงครามในคราวนั้นได้จัดกังเป็น 2 กอง คือกองบินทหารบก, กองรถยนต์ทหารบก กับหน่วยแพทย์อีก 1 หน่วย กำลังพลทั้งสิ้นมีจำนวน 2,287 นายและในเดือนธันวาคมปีนั้นเอง ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเป็นจอมพลแต่แทนที่พระองค์จะทรงดีพระทัยเช่นบุคคลทั้งหลายกลับปรากฏว่าไม่สู้จะเต็มพระทัยเลย เพราะพระองค์ทรงเห็นไปอีกทัศนะหนึ่งว่า ยศอันสูงสุดนั้นได้รับโดยมิได้ออกไปทำการรบ ณ สมรภูมิใดเลย จะเป็นการง่ายเกินไปสำหรับการจะเป็นจอมพล และก่อนที่กองทหารอาสาจะเดินทางไปในงานพระราชสงครามทั้งนั้นจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบกได้ประทานโอวาทแก่ทหาร ดังนี้



“ทหารทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ท่านทั้งหลายจะต้องจากพระนครไปราชการสงครามนอกพระราชอาณาจักรชั้นต้นเราจงมาดำริพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งว่าที่ทั้งหลายจะไปครั้งนี้สำหรับประโยชน์และความมุ่งหมายอย่างไร การสงครามซึ่งเป็นอยู่ในยุโรปขณะนี้ต้องนับว่าไกลจากบ้านเรา และกระบบกระเทือนถึงเราไม่มากนัก เหตุไฉนเล่ารัฐบาลสยามจึงคิดส่งท่านทั้งหลายออกไปรบกับเข้าด้วย คือส่งไปต่างบ้านต่างเมืองให้ทนระกำลำบาก และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตทำเช่นนั้นควรแล้วหรือ...

ทหารทั้งหลาย ความที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้ก็แจ่มแจ้งพอแล้วไม่ใช่หรือ เห็นได้ว่าการที่ท่านทั้งหลายจักต้องทนระกำลำบากออกไปราชการสงครามครั้งนี้ กระทำสำหรับป้องกันประเทศสยามโดยแท้...

ฉะนั้นท่านจึ้งต้องถือว่าได้มีเกียรติยศกระทำการอย่างสำคัญยิ่งสำหรับชาติบ้านเกิดเมื่อมารดา ทั้งเป็นการฉลองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราอย่างดีที่สุดหาที่เปรียบปรานมิได้

ข้าพเจ้าขอเตือนท่านทั้งหลายว่า ธรรมดาการไปสงครามจะให้อยู่กินกันสุขสบายอย่างอยู่กับบ้านนั้นไม่ได้เป็นอันขาด ถึงแม้ว่าผู้บังคับบัญชาท่านจักได้พยายามจัดการทุกอย่างให้ท่านได้รับความผาสุกมากก็ดี ความลำบากคงต้องมีอยู่นั้นเอง จะทำสงครามปราศจากความยากลำบากยากแค้นนั้นไม่ได้ เริ่มต้นขณะลงเรือไปคงต้องเบียดเสียดเยียดยัดกันขัดกินขัดนอนมาก ทั้งยังต้องถูกคลื่นลม ขอท่านทั้งหลายจงกัดฟันทนและระลึกอยู่เสมอว่า เราเป็นชายชาติทหาร เป็นไทย ไทยเราในปางก่อนเคยสามารถทนระกำลำบากมาแล้วมากมายยิ่งนัก ในสมัยนี้จะไม่แพ้ ไม่ยอมเลวกว่าปู่ทวดของเราคงทนความลำบากได้อย่างลูกผู้ชายเหมือนกัน



ท่านทั้งหลายจงนึกถึงพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราซึ่งพระราชทานไว้เมื่อวันทูลลา ท่านทั้งหลายจะเป็นผู้นำเกียรติคุณของชาติไทยไปแผ่ให้ประจักษ์แก่สายตาโลกในท่ามกลางสมรภูมิในประเทศฝรั่งเศสขณะนี้มีทหารทุกชาติทุกภาษาประชุมอยู่พร้อมกัน ท่านจะนึกถึงแต่ตัวท่านเองเป็นคน ๆ ไม่ได้เป็นอันขาด จงอย่าได้ลืมเลยว่า เกียรติยศแห่งชาติไทยอยู่ในกำมือของท่าน ท่านประพฤติเลวทรามให้เขาเห็นเขาจะไม่ติตัวท่านหามิได้ เขาจะติชาติไทยเราทั้งชาติทีเดียว ความอันนี้สำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดหมด ท่านทั้งหลายจงอย่าลืมเสีย จงนึกถึงลมหายใจเข้าออกแล้วพยายามรักษาเกียตริยศของชาติไทยไว้ กระทำให้คนทั้งหลายสรรเสริญว่าไทยเรามีนิสัยดีงาม สมควรได้รับความยกย่องเสมอเหมือนกับชาติใหญ่ทั้งปวง

สำหรับญาติที่รักของท่านทั้งหลายซึ่งอยู่ข้างหลังของท่านจงอย่าวิตก ข้าพเจ้ารับรองว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานราชานุเคราะห์เต็มที่เท่าที่สมควรจักพระราชทานได้ ข้าพเจ้าเองจักเป็นผู้เอาใส่ใจในเรื่องนี้อยู่เสมอด้วยความเต็มใจ ขอแต่ให้ท่านทำหน้าที่ของท่านให้ดีเถิด เจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ที่กลังจักไม่ปล่อยให้ท่านต้องเสียใจเลย

ท่านทั้งหลายจงไปดีเถิด ข้าพเจ้าไม่มีคำอันใดจักนำมาแสดงแก่ท่านให้สมกับที่ใจของข้าพเจ้าอยากให้พรแก่ท่าน ขอให้เชื่อเถิดว่าข้าพเจ้ารักท่านทั้งหลายดุจน้องและลูกหลานทุกคน อยากให้ท่านได้รับความสุขความเจริญทุกอย่าง ท่านทำดีข้าพเจ้าก็ดีใจ คนใดทำชั่วข้าพเจ้าก็ตรอมใจ ขอจงพยายามประพฤติตนให้ข้าพเจ้าได้รับแต่ความยินดีเถิด และข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ให้คุ้มครองรักษาท่านทั้งหลายให้ปราศจากอันตราย ให้ได้กลับมาเห็นหน้ากันอีกจงทุกคน วันที่เราได้พบกันเมื่อเสร็จราชการนั่นแหละจะเห็นวันที่ข้าพเจ้าดีใจที่สุดและสบายใจที่สุดในชีวิตนี้



ก่อนที่ออกเดินทางไปลงเรือ ขอชักชวนท่านทั้งหลายให้เปล่งเสียงถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นหัวหน้าแห่งชาติไทย และจอมทัพของเรา ขอความเจริญจงมีแก่ประเทศสยาม แก่ชาวไทย ไชโย!”
ในการเดินทางไปราชการสงคราม ณ ทวีปยุโรปในครั้งนั้น ทัพสัมพันธมิตรได้ส่งเรือชื่อ “เอมไปร์” มารับทหารไทยที่เกาะสีชัง ทางกองทัพเรือก็ได้ขัดเรือกล้าทะเล และเรือศรีสมุทร ลำเลียงส่งทหารไทยไปขึ้นเรือ “เอมไปร์” โดยมีจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ได้เสด็จโดยเรือรบหลวงสุครีพไปส่งถึงเกาะสีชัง

เรือ “เอมไปร์” ได้ออกจากเกาะสีชังเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461 มุ่งตรงไปแวะตามเมืองท่าต่าง ๆ เช่นเมืองสิงคโปร์ เมืองโคลัมโบ เมืองปอร์ตเตส ขึ้นบกที่เมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นต่างแยกย้ายกันไปฝึกการใช้อาวุธต่าง ๆ ก่อนสู่แนวรบ ส่วนกองบินทหารบกก็ได้แยกไปฝึกบินที่โรงเรียนการบินในประเทศฝรั่งเศสต่อไป ทหารไทยที่เข้าร่วมรบกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรใจครั้งนั้น ได้เข้าสนามรบเป็นหน่วยหนุนลำเลียงพล อาวุธยุทโธกรณ์และเครื่องสัมภาระทั้งปวงให้กับทหารในแนวหน้า เป็นผลทำให้ทหารไทยชำนาญในการรบร่วมกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้เป็นอย่างดี

สรุปได้ว่าในงานพระราชสงครามร่วมรบกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในทวีปยุโรปคราวนั้น ทำให้บรรดาทหารนานาชาติเกือบทั่วโลกที่อยู่ในกรุงปารีสฯ ได้รู้จักชาติไทย และทหารไทยดีขึ้น ทหารไทยถึงตัวจะเล็กแต่ก็มีความอดทนกล้าหาญในการรบไม่แพ้ประเทศอื่นใดในโลกเช่นกัน

ครั้นถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เยอรมันตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามยอมทำสัญญาสงบศึกและยินยอมถอนกำลังทหารออกจากดินแดนที่ฝ่ายตนยึดครองไว้นั้นทั้งหมด ทหารไทยเข้าไปยึดครองดินแดนประเทศเยอรมันร่วมกับทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ในวันวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เมื่อสงครามสงบลงแล้วกองทหารอาสาได้รับเกียรติยศไปสวนสนามอวดธงไตรรงค์ร่วมกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ และกรุงบรัสเซลล์ประเทศเบลเยี่ยม หลังจากนั้นกองทหารอาสาก็ได้เดินทางกลับสู่มาตุภูมิ โดย เรือ “มิเตา” โดยออกจากเมืองมาร์เซย์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ถึงเกาะสีชังเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมเวลาเดินทางจากฝรั่งเศสถึงประเทศไทยในครั้งนั้นใช้เวลาถึง 30 วัน จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก ได้เสด็จไปรับกองทหารที่เกาะสีชังด้วยพระองค์เอง โดยมีนายพลเรือโทพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ได้ทรงอำนวยการลำเลียงทหารและเครื่องบิน เครื่องใช้ในการบินมาด้วยเป็นจำนวนมาก

จากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศสงครามและจัดส่งกำลังทหารอาสาไปราชการสงครามร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 จนได้รับชัยชนะในครั้งนั้น เป็นผลทำให้ประเทศชาติของเราได้มีอธิปไตยในทางศาลและมีอธิปไตยในการจัดเก็บภาษีศุลกากรได้อย่างสมบูรณ์กล่าวคือประการแรกสามารถแก้ไขสัญญาที่กระทำไง้เดิมแบต่างชาติโดยเฉพาะการยกเลิกอำนาจศาลกงศุล ให้คนในบังคับต่างชาติเมื่อเป็นคดีความต้องขึ้นศาลไทยเท่านั้น ประการที่สอง สามารถกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรได้โดยเสรียกเลิก “ภาษีร้อยชักสาม” ซึ่งแต่เดิมต่างชาติได้ทำสัญญาผูกมัดในการเรียกเก็บสินค้ากับต่างชาติเกินกว่า “ร้อยละสาม” ไม่ได้ ทำให้ประเทศชาติของเราต้องเสียเปรียบประเทศมหาอำนาจในยุโรปที่เข้ามาขยายอิทธิพลในทวีปเอเซียมาโดยตลอด

ชีวิตในส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ในชั้นหลังได้ประสบกับการผันผวนเป็นที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากที่หม่อมคัทรินพระชายาของพระองค์ได้เสด็จไปพักผ่อนที่ประเทศคานาดา ในปี พ.ศ. 2461 นั้นแล้ว รุ่งขึ้นในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ก็ได้ทรงหย่าขาดจากกันขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสมีพระชันษาได้ 12 ปี ได้อยู่กับพระบิดา และในเวลาต่อมาพระองค์ก็ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจะทำการสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสพระธิดาในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ต่อสมเด็จพระราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบชัด พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรับพระบรมราชานุญาต จึงทรงร่วมชีวิตกันเองโดยมิได้มีพิธีสมรส และทรงทราบดีถึงพระราชประเพณีที่ล่วงละเมิด รวมทั้งระเบียบข้อบังคับของราชการ จึงได้ทรงลาออกจากราชการทหารด้วยความเด็ดเดี่ยว เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับใบลาแล้ว ก็มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออก และยังทรงขอแก้ไขข้อบังคับทหารข้อนั้นเป็นการผ่อนปรน แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ก็ทรงยืนยันกราบถวายบังคมทูลลาออกเช่นเดิม และในปีนั้นเองสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถพระบรมราชนนี(พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462

ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นงานถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในต้นปี พ.ศ. 2463 แล้วพระองค์จึงขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอลาพักผ่อน ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระองค์ทรงแต่งตั้งให้นายพลตรีพระยาภักดีภูธร เจ้ากรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบกแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463 การพักผ่อนของพระองค์ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงพาหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสพระชายา, พระโอรสคือพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ และนายพันเอกพระยาสุรเสนา ปลัดกรมเสนาธิการหารบกตามเสด็จไปด้วย แต่ขณะที่เสด็จไปทางเรือไปตามแนวฝั่งทะเลตะวันตก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 5463 ได้เพียงวันเดียว ก็มีพระอาการประชวรไข้ไปตลอดทาง กลายเป็นพระปับผาสะเป็นพิษ (เป็นโรคปอดบวม) ขณะที่เรือถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนฯ พระอาการกำเริบหนักขึ้น แพทย์หลวงที่ส่งไปจากกรุงเทพฯ ได้ตรวจดูพระอาการไม่สามารถช่วยชีวิตพระองค์ไว้ได้ ครั้งถึงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 พระองค์จึงเสด็จทิวงคตตามพระราชประวัติของพระองค์ในหนังสือ “ประวัติกองทหารอาสาฯ” ได้เขียนรายงานการเสด็จไปพักผ่อน, รายงานการประชวรของพระองค์, การเสด็จทิวงคต และการเชิญพระศพกลับเมืองไทยไว้โดยละเอียด(เรียงพิมพ์ตามต้นฉบับอักษรเดิม) ดังนี้

“พระองค์ตกลงพระไทยว่าจะเสด็จประพาศทะเลทางฝั่งตะวันตก ดังนั้นเมื่อเวลา 15 นาฬิการเศษ วันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2463 พระองค์ได้เสด็จไปลงเรือกาดองของบริษัทบอเนียวกำปนีที่ท่าน่าห้างบอเนียวกำปนีพร้อมด้วยพระชายาและพระโอรสเพื่อไปประพาศตามพระประสงค์ มีเจ้านายบางพระองค์ข้าราชการฝ่ายทหารบกเป็นอันมาก และข้าราชการพลเรือนที่ทรงคุ้นเคยด้วยบางคนได้ไปส่งเสด็จ ในขณะเมื่อเสด็จจะลงเรือนั้นฝนตกอากาศชื้นมาก

พอพระองค์จากไปได้วันหนึ่ง (ถึงวันที่ ๕) ก็ประชวรไข้ไปตลอดทาง จนถึงวันที่ 8 ถึงสิงคโปร์พระอาการประชวรยิ่งกำเริบหนักขึ้น กลายเป็นพระปับผาสะเป็นพิษได้เสด็จไปประทับอยู่ที่บ้านพระอนุกูลสยามกิจ (ตันบูเลียด)

ครั้นความทราบใต้ฝ่าละออกธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพันโทรสมเด็นพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา นายพันเอกพระศักดาพลรักษ์รีบออกไปสิงคโปร์โดยรพไฟพิเศษ เพื่อจัดการรักษาพยาบาลร่วมมือกันกับนายแพทย์ในเมืองสิงคโปร์ ซึ่งได้ถวายพระโอสถประคับประคองเต็มความสามารถอยู่แล้ว พระอาการมีแต่ทรงกับซุดตลอดมา ถึงวันที่ 13 มิถุนายน พุทธศักราช 2463 เวลา 13 นาฬิกา 50 นาที พระอาการกำเริบหนักเหลือกำลังที่พระองค์จะทนทานได้เสด็จทิวงคตในเวลานั้น

เมื่อข่าวเสด็จทิวงคตทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระอาลัยและเศร้าโคกเป็นอย่างยิ่ง ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มหาเสวกเอกเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกระทรวงวัง กับราชองครักษ์ และเจ้ากรมปลัดกรมพระตำหรวจหลวง พร้อมด้วยเจ้าพนักงานภูษามาลา เชิญเครื่องทรงพระศพทั้งพระโกษฐ์ออกไปรับพระศพ เพื่อเชิญมาสู่กรุงเทพพระมหานคร

พระศพนั้นเมื่อได้สรงแล้วได้เชิญลงบรรจุหีบตามธรรมเนียมของชาวต่างประเทศ ณ เมืองสิงคโปร์ไว้ชั่วคราว วันที่ 15 มิถุนายน ผู้รักษาเมืองสิงคโปร์ ได้เชิญพระศพจากบ้านพระอนุกูลสยามกิจไปประดิษฐานไว้ในที่ของรัฐบาล และได้จัดทหารอังกฤษเฝ้าประจำพระศพเป็นพระเกียรติยศ ข้าราชการและคหะบดีอังกฤษได้พากันนำพวงมาลาไปน้อมเกล้าฯ ถวายที่พระศพ

วันที่ 16 มิถุนายน รัฐบาลอังกฤษที่เมืองสิงคโปร์ได้จัดกระบวนแก่พระศพตามพระเกียรติยศทหาร มีทหารอังกฤษเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนรถปืนใหญ่ คลุมด้วยธงไตรรงค์ มีทหารกองเกียรติยศพร้อมด้วยแตรวงเดินเป็นกระบวนนำพระศพ เวลา 7 นาฬิกา 14 นาที ได้เคลื่อนกระบวนจากที่ทำการรัฐบาล สองข้างทางที่เดินกระบวนมีทหารรายตลอดจนถึงสถานีที่ถนนแตงค์ นายพันโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายสยามและอังกฤษ ทรงพระดำเนินและเดินตามพระศพ

ในขณะที่ขบวนแห่พระศพเคลื่อนต่อไปป้อมแคนนิงได้ยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติยศนาทีละ 1 นัด จนครบเท่าจำนวนพระชนม์พรรษา รวม 37 นัด พอกระบวนแห่พระศพถึงสถานี ทหารอังกฤษได้เชิญพระศพขึ้นประดิษฐานในรถไฟของรัฐบาลสยาม ซึ่งได้จัดไปรับพระศพ เสร็จแล้วรถไฟได้เคลื่อนจากสถานีแคนนิง เวลา 8 นาฬิกา ทหารอังกฤษกองเกียรติยศกระทำการเคารพ ผู้รักษาเมืองสิงคโปร์, ผู้บัญชาการทหาร เจ้าพนักงานในราชการอังกฤษและกงสุลต่างประเทศที่มาส่งพระศพถวายคำนับพร้อมกัน เมื่อรถไฟเชิญพระศพถึงเมื่อยะโฉ มีพระยาแขกและเจ้าพนักงานในราชการเมืองนั้นพร้อมด้วยทหารกองเกียรติยศมาเคารพพระศพที่สถานี

วันที่ 17 มิถุนายน เวลา 5 นาฬิกา ถึงสงขลา นายพลโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนลพบุรีราเมศวร์ อุปราชมณฑลปักษ์ใต้ กับข้าราชการในมณฑลนั้น พร้อมด้วยเสือป่ากองเกียรติยศมากระทำการเคารพพระศพที่สถานี และเจ้าพนักงานได้ถวายเครื่องบรรจุกรรมทรงพระศพตามพระเกียรติยศ เชิญลงประดิษฐานในพระโกษฐ์ เสด็จแล้วแรมคืนอยู่ที่สงขลา

ออกจากสงขลา เวลา 9 นาฬิกา ถึงชุมพรเวลา 2 นาฬิกา 20 นาที แรมคืนที่ชุมพร

อากจากชุมพร เวลา 10 นาฬิกา ถึงวงก์พงเวลา 15 นาฬิกา 45 นาที หยุดพักที่นั่น 30 นาทีแล้วออก ถึงเพ็ชร์บุรี เวลา 19 นาฬิกา 15 นาที แรมคืนที่เพ็ชร์บุรี

ออกจากเพ็ชร์บุรี เวลา 8 นาฬิกา 42 นาที ถึงบางกอกน้อยเวลา 16 นาฬิกา

ในระยะทางซึ่งรถไฟเชิญพระศพผ่านที่ทำการจังหวัดในมณฑลใด สมุหเทศภิบาลกับข้าราชการในจังหวัดและมณฑลนั้น พร้อมทั้งกองเสือป่าได้มาถวายความเคารพพระศพที่รถไฟทุกจังหวัดมณฑล ในจังหวัดที่มีทหารประจำก็ได้มีกองเกียรติยศทหารมาถวายความเคารพด้วย

ในวันที่ 20 มิถุนายน ก่อนพระศพจะมาถึงสถานีบางกอกน้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดับเครื่องราชอิศริยาภรณ์ทรงสอดสายสพายเครื่องอิศริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ทรงไว้ทุกข์ที่ต้นพระกร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับสถานีบางกอกน้อยพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และราชทูต อีกทั้งข้าราชการผู้ใหญ่น้อยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทคอยรับพระศพ

พอกระบวนรถไฟเชิญพระศพมาถึง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชิญพระศพจากรถขึ้นพระเสลี่ยงแว่นฟ้า ภูษามาลาถวายอยู่งานพระกลด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้องด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระราชดำเนินตามพระศพซึ่งเชิญไปยังท่าน้ำน่าสถานีลงสู่บัลลังก์กันยาเรือพระที่นั่งประพัศรไชย

ในขณะนี้เรือรบหลวงได้ยิงปืนใหญ่ถวายเฉลิมพระเกียรติพระศพนาทีละ 1 นัดตลอดไป จนเท่าจำนวนพระชนม์พรรษารวม 37 นัด ฝีพายเคลื่อนเรือนพระที่นั่งเชิญพระศพมีเรือนำ 1 คู่ นำข้ามฟากขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเรือพระที่นั่งยนต์เสด็จพระราชดำเนินไปประทับคอยทอดพระเนตร์กระบวนเรือพระศพอยู่ที่พระตำหนักน้ำท่าวาสุกรี พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่ไปรับพระศพที่สถานีบางกอกน้อย ต่างลงเรือตามไปภายหลังพระศพ

เมื่อเรือประพัศรไชยเชิญพระศพเทียบที่สะพานน่าวัดราชาธิวาศแล้ว นายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชิญพระศพขึ้นบนพระเสลี่ยงแว่นฟ้า ภูษามาลาถวายอยู่งานพระกลดไปขึ้นทรงราชรถน้อยเทียมม้าสี่ ประกอบพระโกษฐ์ทองน้อยเสร็จ เดินกระบวนแห่พระศพพร้อมด้วยแตรสังข์กลองชะนะเครื่องอภิรุมชุมสายพระแสงหว่างเครื่อง มีนักเรียนนายร้อยเดินเป็นคู่แห่ 60 คู่ ภูษามาลาถวายอยู่งานพระกลดพร้อมทั้งบังสูริยพัดโบกและอินทร์พรหมเชิญจามร นายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 20 นาย เชิญเครื่องราชอิศริยยศ นายทหารผู้ใหญ่ผู้น้อยตามพระศพ เดินกระบวนไปตามถนนวัดราชาธิวาศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถยนต์พระที่นั่งแต่ท่าวาสุกรี ไปประทับคอยรับพระศพที่น่าวังปารุสกวัน เจ้าพนักงานเปลื้องพระโกษฐ์ประกอบออก นายทหารมหาดเล็กเชิญพระลองขึ้นพระเสลี่ยงแว่นผ้าเข้าสู่วังแล้วเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระแว่นฟ้า 2 ชั้น เหนือชั้นบัวกลุ่มมีฐานเขียงรองภายใต้เสวตรฉัตร 5 ชั้น ในห้องท้องพระโรงพระตำหนักปารุสกวันชั้นบน เจ้าพนักงานได้ประกอบพระโกษฐ์ทองน้อย และตั้งเครื่องประดับและเครื่องราชอิศริยยศพร้อมด้วยเครื่องสูงตามพระราชประเพณี

การเสด็จทิวงคตของจอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้นำความโศกเศร้าอาลัยต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและข้าราชการฝ่ายทหารอย่างสุดซึ้ง ดังปรากฏข้อความในคำนำหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถตอนหนึ่งว่า “....นอกจากเธอเป็นน้องที่ข้าพเจ้ารักมากที่สุด เธอยังได้เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยราชการอย่างดีที่สุดหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ โดยเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุมากกว่าเธอ ข้าพเจ้าจึงได้เคยหวังอยู่ว่าจะได้อาศัยกำลังของเธอต่อไปจนตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ฉะนั้นเมื่อเธอได้มาสิ้นชีวิตลงโดยด่วนในเมื่อมีอายุยังน้อย ข้าพเจ้าจะมีความเศร้าโศกอาลัยปานใด ขอท่านผู้ที่ได้เคยเสียพี่น้องและศุภมิตรผู้สนิทชิดใจจงตรองเองเถิด ข้าพเจ้ากล่าวโดยย่อ ๆ แต่เพียงว่าข้าพเจ้ารู้สึกตรงกับความที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงไว้ใน เตลงพ่ายว่า “ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นให้ไกลองค์”

เมื่อจอมพลสมเด็จพรเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเสด็จทิวงคตนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 38 พรรษาเท่านั้น กับได้สถาปนาพระอิศริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เมื่อเสด็จทิวงคตแล้ว พระราชทานเศวตฉัตร 5 ชั้น ประดับเหนือพระโกษฐ์ พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล “จักรพงษ์” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จมาพระราชทานเพลิงพระศพพระอนุชาฯ ของพระองค์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 24 เดือนกันยายน พ.ศ. 2463 พระอังคารของพระองค์ได้บรรจุไว้ที่พระอนุสาวรีย์เสาวภา ณ สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามตราบเท่าทุกวันนี้



   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
01-12-2011 Views : 40339
หมวด เสด็จเยือนรัสเซีย : 8 หัวข้อ   
    01-12-2011
  • สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.149.27.202 = UNITED STATES    Friday 26th April 2024  IP : 3.149.27.202   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com