ถล่มเกาะอังกฤษไม่ได้ บ่ายหน้าสู่รัสเซีย
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 



















เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
ถล่มเกาะอังกฤษไม่ได้ บ่ายหน้าสู่รัสเซีย
โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนี ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศสและประเทศส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพแห่งชาติ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีมีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังคงเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งบนเกาะบริเตนและในการรบทางทะเลอย่างกว้างขวาง
ใน ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้รับชัยชนะในพื้นที่คาบสมุทรบอลข่านและเกาะครีต รวมทั้งได้ส่งทหารไปช่วยอิตาลีในทวีปแอฟริกา ตลอดจนส่งทหารรุกรานสหภาพโซเวียต ซึ่งนับว่าเป็นเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลังทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาสโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และส่งทหารรุกรานหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังจากความพ่ายแพ้ในญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ และหลังจากความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะทวีปยุโรปในอียิปต์และที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การรุกรานอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและรุกรานเยอรมนีและพันธมิตร

สงครามในทวีปยุโรปยุติลงหลังการยึดครองเบอร์ลินโดยกองทัพโซเวียต และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังคงปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการรุกรานแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945


จอมพลแฮร์มาน เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน ไม่มีประสบการณ์ในการควบคุมกำลังทางอากาศขนาดใหญ่ เขาเคยเป็นเสืออากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็จริง แต่การเป็นนักบิน กับการเป็นผู้บัญชาการกองทัพนั้น ต่างกันอย่างสิ้นเชิง การที่เขาเปลี่ยนเป้าหมายในการโจมตีทางอากาศไปเรื่อยๆ แทนที่จะโจมตีเมืองใดเมืองหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โจมตีลิเวอร์พูลวันหนึ่ง แล้วไปโจมตีเมืองปอร์ตสมัธในวันต่อมา แล้วก็เปลี่ยนไปโคเวนตรี้อีกวันหนึ่ง วิธีนี้ เท่ากับให้เวลากับเมืองเหล่านั้นในการฟื้นตัว เท่าๆกับให้เวลาในการเรียกขวัญและกำลังใจ ของชาวเมืองกลับมา

ประการที่สอง คือ นักบินอังกฤษสู้ในผืนดินตัวเอง เมื่อถูกยิงตก ก็จะได้รับการช่วยเหลือแล้วกลับขึ้นบินใหม่ ส่วนนักบินเยอรมัน รบไกลบ้าน มีขีดจำกัดทั้งด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และความชำนาญในภูมิประเทศ เมื่อถูกยิงหากไม่เสียชีวิตหรือ บาดเจ็บก็จะถูกจับเป็นเชลย บางส่วนที่เครื่องบินตกในช่องแคบอังกฤษ ถ้าโชคดีก็จะได้รับการช่วยเหลือจากเรือของเยอรมัน แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย

ประการสุดท้ายคือ การใช้ระบบเรดาห์เตือนภัยของอังกฤษ ซึ่งสามารถทำให้อังกฤษรู้ว่า เครื่องบินของเยอรมันกำลังมุ่งไปทางทิศใด มีจำนวนมากน้อยเพียงใด ระบบเรดาห์นี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอังกฤษในการรบเป็นอย่างมาก


เดิมสหภาพโซเวียตพยายามเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อพยายามจำกัดวงเยอรมนี แต่ทั้งสองชาติปฏิเสธ ด้วยแคลงใจในเจตนาและความสามารถของสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตเกรงว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสไม่ปรารถนาจะให้ความร่วมมือทางทหารแก่ตน และวิตกว่าอาจเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับสหภาพโซเวียต โดยฝ่ายสัมพันธมิตรอาจเอนเอียงเข้ากับฮิตเลอร์ ทำให้สหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างนาซี-โซเวียต ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงลับระหว่างทั้งสองที่จะแบ่งกันครอบครองยุโรปตะวันออก โดยยกโปแลนด์ตะวันตกและลิทัวเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของเยอรมนี และยกโปแลนด์ตะวันออก ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวียและแคว้นเบสซาราเบียของโรมาเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งคำถามถึงการมีเอกราชของโปแลนด์ต่อไปด้วย

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เยอรมนีรวมไปถึงกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในทวีปยุโรปและฟินแลนด์ ได้รุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ซึ่งเป็นการโจมตีที่เหนือความคาดหมาย โดยมีเป้าหมายคือการยึดครองรัฐบอลติก มอสโก และยูเครน และกำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้ใกล้กับแนวเอ-เอ เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นแนวที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบแคสเปียนกับทะเลขาว ส่วนวัตถุประสงค์ของฮิตเลอร์ คือ การทำลายอำนาจทางการทหารของสหภาพโซเวียต การกวาดล้างระบอบคอมมิวนิสต์ และสร้าง "พื้นที่อยู่อาศัย" โดยการใช้กำลังแย่งชิงดินแดนมาจากชนพื้นเมืองเดิม และเป็นการรับประกันการสร้างหนทางซึ่งนำไปสู่การยึดครองทรัพยากรที่จำเป็นต่อทำลายคู่แข่งของเยอรมนีที่ยังเหลืออยู่

ถึงแม้ว่าฝ่ายกองทัพแดงจะมีการเตรียมการป้องกันทางยุทธศาสตร์ไว้แล้วก็ตาม แต่ปฏิบัติการบาร์บารอสซาได้บีบบังคับให้กองบัญชาการทหารสูงสุดของโซเวียตต้องหันมาปรับใช้แผนป้องกันทางยุทธศาสตร์แทน ระหว่างช่วงฤดูร้อน กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะมาตลอด สามารถยึดครองดินแดนอันกว้างใหญ่ และสร้างความเสียหายทั้งทางด้านทรัพยากรและกำลังพลให้แก่สหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ทว่าในช่วงกลางเดือนสิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมนีตัดสินใจที่จะพักการรบของหมู่กองทัพกลางเอาไว้ หลังจากที่กำลังพลมีจำนวนลดลง และแบ่งกลุ่มแพนเซอร์ที่สองไปสมทบกับกองทัพที่กำลังมุ่งหน้าไปยังตอนกลางของยูเครนและเลนินกราด ยุทธการเคียฟประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ส่งผลทำให้กองทัพโซเวียตถูกทำลายไปถึงถึงสี่กองทัพ และทำให้การมุ่งหน้าต่อไปยังคาบสมุทรไครเมียและเขตอุตสาหกรรมพัฒนาแล้วในยูเครนตะวันออกเป็นไปได้

ในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพกว่าสามในสี่ของฝ่ายอักษะ และกองทัพอากาศส่วนใหญ่ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากฝรั่งเศสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังแนวรบด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรได้รีบทำการพิจารณายุทธศาสตร์หลักใหม่ทันที ในเดือนกรกฎาคม สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตก็ได้รวมตัวกันจัดตั้งพันธมิตรทางทหารเพื่อต่อต้านเยอรมนี ทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันรุกรานอิหร่านเพื่อรักษาฉนวนเปอร์เซียและแหล่งน้ำมันในอิหร่าน

ในเดือนสิงหาคม สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันตั้งกฎบัตรแอตแลนติก ต้นเดือนตุลาคม หลังจากที่กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะในยูเครนและแถบทะเลบอลติก โดยมีเพียงเลนินกราดและซาเวสโตปอลทื่ยังคงรบต้านทานอยู่เท่านั้น ยุทธการมอสโกก็ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่ หลังจากผ่านการรบอย่างหนักเป็นเวลาสองเดือน กองทัพฝ่ายอักษะเกือบจะถึงชานกรุงมอสโกแล้ว กองทัพของฝ่ายอักษะที่อ่อนเปลี้ย ทำให้การบุกนั้นต้องหยุดชะงักไป และถึงแม้ว่าเยอรมนีจะได้ดินแดนมาจำนวนมหาศาล แต่ว่าประสบความล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ สองนครที่สำคัญของโซเวียตยังไม่แตก ขีดความสามารถของกองทัพแดงในการต้านทานการบุกของฝ่ายอักษะยังคงไม่ถูกทำลาย และศักยภาพทางทหารยังคงเหลืออยู่มาก หลังจากนี้ ระยะบลิทซครีกในทวีปยุโรปจึงได้ยุติลงอย่างสมบูรณ์


กองทัพอเมริกันยังคงมุ่งหน้าเข้าสู่ญี่ปุ่น สามารถยึดเกาะอิโวะจิมะได้ในเดือนมีนาคม และเกาะโอกินาวาในเดือนมิถุนายน ในขณะที่เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ของญี่ป่น และเรือดำน้ำอเมริกันก็เข้าปิดล้อมเกาะญี่ปุ่น ตัดขาดการนำเข้าจากภายนอก

วันที่ 11 กรกฎาคม เหล่าผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าประชุมกันที่เมืองพอตสดัม ประเทศเยอรมนี ได้ข้อสรุปว่าที่ประชุมให้การรับรองเกี่ยวกับข้อตกลงต่าง ๆ กับเยอรมนีก่อนหน้านี้ และย้ำถึงความจำเป็นของญี่ปุ่นที่จะต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวที่ว่า "อีกทางเลือกหนึ่งของญี่ปุ่นก็คือหายนะเหลือแสน" ("the alternative for Japan is prompt and utter destruction") ภายหลังจากการประชุมนี้ สหราชอาณาจักรได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1945 และคลีเมนต์ แอตลีย์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรแทน วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีคนเดิม
เมื่อญี่ปุ่นได้ปฏิเสธข้อเสนอที่พอตสดัม สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูกบนแผ่นดินญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ ในตอนต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงระหว่างการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูก ด้านสหภาพโซเวียตก็ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และโจมตีแมนจูเรียของญี่ปุ่น ตามข้อตกลงยอลตา ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นได้เซ็นสัญญาในตราสารยอมจำนนอย่างเป็นทางการ และเป็นจุดจบของสงครามด้วยเช่นกัน


ขณะที่สหภาพโซเวียตก็เข้ายึดครองหมู่เกาะซาฮาลินและหมู่เกาะคูริล ส่วนเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้น ก็ถูกแบ่งแยกและถูกยึดครองโดยสองขั้วอำนาจ จากความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งพันธมิตรนาโต้ และทางสหภาพโซเวียตก็ได้ก่อตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้น ทั้งสององค์การทางทหารนี้อาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น


ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa)
เป็นปฏิบัติการที่กองทัพนาซีใช้ในการรุกรานสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ซึ่งหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลงนามยอมแพ้ต่อกองทัพนาซีครบ 1 ปีพอดี โดยปฏิบัติการนี้กองทัพฝ่ายอักษะใช้กำลังทหารประมาณ 5,600,000 คน ส่วนสหภาพโซเวียตมีกำลังทหารในการป้องกันในช่วงนั้นประมาณ 2,900,000 คน

ปฏิบัติการครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 สาย คือ
สายที่ 1 มุ่งตรงไปยังเมืองเลนินกราดเพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงอาวุธและยังทำให้สหภาพโซเวียตถูกตัดขาดจากโลกภายนอก
สายที่ 2 ยึดเมืองทางตอนกลางแล้วมุ่งตรงไปยังกรุงมอสโก
และส่วนที่ 3 มุ่งตรงไปยังเมืองเคียฟ (เมืองหลวงของยูเครนในปัจจุบัน) แล้วมุ่งตรงไปยังลุ่มแม่น้ำวอลกาเพื่อยึดเมืองสตาลินกราด

ซึ่งในตอนต้นของปฏิบัติการนี้ทางกองทัพฝ่ายอักษะเกือบประสบความสำเร็จในการยึดครองสหภาพโซเวียต เนื่องจากอยู่ห่างจากนครหลวงมอสโกเพียง 40 ไมล์เท่านั้นและกองทัพแดงของโซเวียตในช่วงต้นๆ ต้องเสียทหารไปกว่า 5 ล้านคน

ส่วนที่เมืองสตาลินกราดนั้นกองทัพฝ่ายอักษะไม่สามารถที่จะตีแตกได้เพราะการป้องกันอันเข้มแข็งของกองทัพแดง ซึ่งในเมืองนี้จะเป็นจุดชี้ชะตาแห่งชัยชนะระหว่างกองทัพแดงและกองทัพนาซี แต่ในที่สุดกองทัพแดงก็สามารถกำชัยชนะมาได้ในที่สุด ในปฏิบัติการนี้นั้นแม้ว่าสหภาพโซเวียตจะมีชัยชนะเหนือกองทัพฝ่ายอักษะ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการสังเวยชีวิตของประชากรและกำลังทหารกว่า 27 ล้านคน และอาวุธอีกหลายล้านตัน จนกระทั่งกองทัพแดงตีโต้ตอบกลับจนทำให้ฝ่ายอักษะแพ้สงครามในที่สุด และสาเหตุนี้เองที่ทำให้เป็นการเปิดโอกาสให้สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศแถบยุโรปกลางและบอลข่านได้อย่างง่ายดาย


โดยสรุป ระหว่างเดือนกรกฏาคมถึงเดือนตุลาคมจากการโจมตีทางอากาศของเยอรมันเหนือเกาะอังกฤษ อังกฤษ เสียเครื่องบินไป 915 เครื่อง จากรายงานของเยอรมันเอง เยอรมันสูญเสียเครื่องบินทั้งหมด 1,733 เครื่อง แต่ตัวเลขฝ่ายอังกฤษระบุว่า อังกฤษสามารถทำลายเครื่องบินข้าศึกได้ทั้งหมดถึง 2,698 เครื่อง

นักบินอังกฤษสามารถปกป้องประเทศชาติของเขาเอาไว้ได้ ในยุทธการเหนือเกาะอังกฤษ หรือ "เดอะ แบตเทิ้ล ออฟ บริเดน" เมื่อ ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483)

นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้แถลงต่อรัฐสภาว่า "ไม่เคยปรากฏในการต่อสู้ระหว่างมนุษยชาติครั้งใดเลย ที่คนจำนวนมากจะเป็นหนี้บุญคุณของคนเพียงไม่กี่คน เช่นในยุทธการครั้งนี้"


การเข้าครอบครองอังกฤษไม่ได้ ทำให้ฮิตเลอร์ พุ่งเป้าโจมตีสหภาพโซเวียตทันที........ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา จึงได้อุบัติขึ้น ณ บัดนั้น สหภาพโซเวียตยืนหยัดต่อสู้เพื่อแผ่นดินแม่ไว้ได้สำเร็จ แต่ต้องแลกมาด้วยการสังเวยชีวิตของประชากรและกำลังทหารกว่า 27 ล้านคน !!!!
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
05-12-2011 Views : 4870
หมวด รัสเซีย : สงครามต่างๆ : 39 หัวข้อ   
    05-12-2011
  • ถล่มเกาะอังกฤษไม่ได้ บ่ายหน้าสู่รัสเซีย
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.143.244.83 = UNITED STATES    Friday 19th April 2024  IP : 3.143.244.83   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com