| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : 16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
3. จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช Emperor Peter I (1672-1725) | จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
2 พฤษภาคม – 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1682 – ค.ศ. 1725
สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ พระเจ้าปีเตอร์มหาราช (ภาษารัสเซีย Пётр I Велики, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น
ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของรัสเซียม หาราช เมื่อซาร์ปีเตอร์มหาราชเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1725 นโยบายของพระองค์ก็ได้รับการสืบทอดต่อมา จนกระทั่งในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช (ค.ศ. 1762-1796) รัสเซียได้กลายเป็นหนึ่งของประเทศมหาอำนาจยุโรปทิ่ยิ่งใหญ่ และมีบทบาทสำคัญใประวัติศาสตร์ยุโรปจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างนั้น ในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้เสด็จประพาสยุโรปตะวันตกเป็นครั้งที่ 2 โดยทรงเยี่ยมเยียนดูความก้าวหน้าของศิลปวิทยาการในกรุงโคเปนเฮเกน (ประเทศเดนมาร์ก) กรุงอัมสเตอร์ดัม (ประเทศเนเธอร์แลนด์) กรุงเบอร์ลิน (ประเทศเยอรมนี) และกรุงปารีส (ประเทศฝรั่งเศส) ซึ่งพระองค์ทรงมีโอกาสเข้าเยี่ยมพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ขณะพำนักอยู่ในกรุงปารีส ซาร์ปีเตอร์ก็ทรงให้ความสนพระทัยเป็นพิเศษในความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยา ศาสตร์ต่างๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ ซาร์ปีเตอร์ยังทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศส
ดังนั้นเมื่อเสด็จนิวัติกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซาร์จึงทรงคิดจัดตั้งราช บัณฑิตยสภาหรือสถาบันวิทยาศาสตร์ขึ้น นอกจากนี้ยังทรงทำให้กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นศูนย์กลางของความเจริญและ วัฒนธรรมตะวันตก นครแห่งนี้ซึ่งสร้างขึ้นตามชื่อของนักบุญปีเตอร์ อัครสาวกของพระเยซูยังเป็นอนุสรณ์สถานและสัญลักษณ์ของซาร์ปีเตอร์มหาราชใน ความพยายามสร้างรัสเซียให้เป็นมหาอำนาจยุโรปและเจริญทัดเทียมอารยประเทศ ตะวันตก นับแต่นั้นเป็นต้นมา รัสเซียไม่สามารถที่จะหันหลังให้แก่ความเจริญ การแข่งขัน และความขัดแย้งของยุโรปได้อีกต่อไป
ส่วนกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเองก็ได้รับการพัฒนาและการขยายตัวในรัชสมัยของ องค์ประมุขต่อๆ มา มีการวางผังเมือง การสร้างพระราชวังและอาคารอย่างถาวรสวยงามเป็นระเบียบมากมายจนเสร็จสมบูรณ์ เป็น “มหานคร” ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรปในรัชสมัยของซารินาแคเธอรีนที่ 2 มหาราช และเป็น “อัญมณีประดับยอดพระมหามงกุฎ” ของราชวงศ์โรมานอฟจนกระทั่งรัสเซียประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบอัตตา ธิปไตยและสถาบันซาร์ ในปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)
พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) เวลาประมาณตีสี่ถึงตี่ห้า พระชันษาได้ 52 ปี ครองราชย์สมบัติได้ 42 ปี
เล็กๆ น้อยๆ
พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่1 ทรงครองราชย์ทั้งที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ (11 พรรษา) มีพระนางนาตาลีซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระเจ้าอเล็กซีส พระมารดาคอยช่วยเหลือปกป้องพระองค์จากเหล่าขุนนางที่มีอำนาจทั้งหลาย อีกทั้งพระองค์ยังทรงถูกพระพี่นางต่างพระมารดาปลุกปั่นให้ทหารปลงพระชนม์ชีพอีก (17 พรรษา) พระนางโซเฟียต้องการให้ซาร์อีวานผู้โง่เขลา ซึ่งเป็นพระอนุชาขึ้นครองราชแทน พระองค์และพระมารดาทรงหลบหนีออกจากเมืองในเวลาค่ำคืนและไปอาศัยอยู่ที่เมืองเล้กๆ หลบซ่อนอยู่ในกระท่อมไม้ซุงใกล้ทะเลสาป
กีฬาที่พระองค์ทรงโปรด คือ การเล่นรบและล้อมเมือง พระองค์ทรงชอบการต่อสู้ เตะ ต่อย ชอบความรุนแรง ร่างกายของพระองค์สูงใหญ่มาก สูงกว่า 2 เมตร พอพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์ทรงกลับมาครองประเทศอย่างเต็มตัว ทรงสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ โดยสร้างกองทัพบก กองทัพเรือ และรบชนะสวีเดนอีกต่างหากเพื่อหาท่าเรือติดต่อทางทะเล
การปกครองโดยทั่วไป พระองค์ให้พวกขุนนางแต่งตัวแบบยุโรป ไม่ไว้เครา คนใดไม่เชื่อฟังก็ให้ปรับปรุงแก้ไข หากไม่ปฏิบัติตามก็จะลงโทษอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เป็นที่โจษขานกัน คือ การเกณฑ์คนไปสร้างเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขุนนางถูกบังคับให้สร้างวัง ข้าทาส คนงานตายไปประมาณ 200,000 คน อีกเรื่อง คือ เจ้าชายอเล็กซิส ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท ทำอะไรต่อมิอะไรขัดต่อพระองค์ เช่น ถ้าเป็นกษัตริย์จะเผาเรือรบทิ้ง จะปล่อยเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กให้รกร้าง ประมาณว่าไม่ชอบการสงครามและไม่ชอบพระบิดา พระเจ้าปีเตอร์ทรงตักเตือนในทางที่ถุกที่ควรมานมนาน แต่ไร้ผล เลยจับขังคุกเพื่อดัดสันดาน แต่เจ้าชายอเล็กซิส กลับหนีไปเยอรมัน พระองค์ทรงกริ้วมาก และให้คนตามไปจับตัวมาให้ศาลสูงตัดสินลงโทษประหารชีวิต โดยการเฆี่ยนด้วยไม้ที่มีลูกตะกั่วติดปลาย ต่อหน้าพระองค์ ทรมานอยู่ 5 วัน มาสิ้นใจในวันที่ 6
ก่อนการสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงเสด็จไปแถบริมแม่น้ำ อากาศหนาวจัดมาก มีเรือโดยสารล่มลงกลางสายน้ำ พระองค์ไม่รอช้ากระโดดลงไปช่วยพระสกนิกรของพระองค์ ทรงช่วยให้ทุกคนปลอดภัยทั้งหมด แต่ทว่าวันรุ่งขึ้นพระองค์ทรงประชวรมาก แพทย์ลงความเห็นว่าพระองค์ปอดบวม พระอาการทรุดลงตามลำดับและพอถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268 (ค.ศ. 1725) พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต เป็นเพราะความมีน้ำพระทัยอันประเสริฐของพระองค์แท้ๆ |
|