เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Yekaterinburg)
หมวด เนื้อหาทั้งหมด
มอสโก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
โปรแกรมทัวร์
ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
วลาดิเมียร์
ซูซดาล
ซากอร์ส
แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
เวลาและอุณหภูมิโลก
ของฝากจารัสเซีย
หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
ที่สุดของรัสเซีย
บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
รวมภาพ ในแต่ละทริป
คุยกับ เว็บมาสเตอร์
16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
Webcam
การเดินทางสู่กรุงมอสโก
ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
ไปรัสเซียต้องระวัง
ภาษารัสเซีย ???????
Golden Ring Cities
Russian Clips
ราชตระกูล จักรพงษ์
Russian TV
เอกอัครราชทูต
การก่อการร้ายในรัสเซีย
ไซบีเรีย
รัสเซีย : สงครามต่างๆ
พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
มรดกโลกของ รัสเซีย
มาเฟียรัสเซีย
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
คิง ไกเซอร์ ซาร์
เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
อวกาศกับรัสเซีย
12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
วอดก้ารัสเซีย
เขตปกครองของรัสเซีย
เพชรรัสเซีย
เสด็จเยือนรัสเซีย
คาเวียร์
เครื่องดนตรีรัสเซีย
น้ำดื่ม (วาดะ)
ศิลปินรัสเซีย
Trans-siberian railway
ze
8
ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด :
ไซบีเรีย
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Yekaterinburg)
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก / Yekaterinburg (Екатеринбу́рг)
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก มีประชากรประมาณ 1.5 ล้านคน เป็นเมืองที่สำคัญที่สุดในเขตอูรัล และเป็นเมืองอันดับ 3 ของประเทศรัสเซีย (เมืองใหญ่ๆ ของรัสเซียมักอ้างแบบนี้) แต่ไม่ปรากฏในแผนที่ท่องเที่ยว จนในปี 1990 ที่นี่ยังเป็นเมืองใหญ่เมืองแรกของรัสเซียฝั่งเอเซีย ถ้าขับรถไปทางตะวันตกตามทางหลวง 40 กิโลเมตร จะพบสัญญลักษณ์ระบุพรมแดน ยุโรป-เอเซีย สูง 4 เมตร
ตัวเมืองแผ่ไปตามลำแม่น้ำอีเซต ล้อมด้วยป่าไทก้า ฤดูหนาวที่นี่ยาวนาน 5 เดือน (พย.-เมย.) อุณหภูมิอาจลดต่ำถึง -40 องศาเซ็นเซียส ฤดูร้อนนานไม่เกิน 2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซ๊นเซียส
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก ก็เหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ ในเขตอูรัลที่ล้วนเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรม มีโรงหลอมเหล้กแห่งแรกเกิดขึ้นในปี 1723 หลังก่อตั้งเมือง 5 ปี ตามด้วยธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ที่หวังผลกำไรจากสินแร่มั่งคั่ง เมื่อต้นศตวรรษที่ 19 มีประชากรเพียง 10,000 คน ในปี 1917 เพิ่มเป็น 4 เท่า และเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามทำให้อุตสาหกรรมเฟื่องฟู เมืองนึ้จึงกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญที่สุดของโซเวียตอยู่อีกหลายปี ด้วยรากฐานอุตสากรรมที่เข้มแข็ง ที่นี่จึงเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองนอกฝั่งยุโรปที่เอาตัวรอดได้ ในยุคปฎิรูปตลาดเสรี
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก เป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีเยลต์ซิน
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก มีชื่อเสียงในฐานะบ้านเกิดของประธานาธิบดี โบริส เยลต์ซิล ประธานาธิบดีคนแรกของสหพันธรัฐรัสเซีย และนายนิโคไล รีชโคฟ นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลกอร์บาซอฟ เยลต์ซิล เิกิดในครอบครัวที่ฐานะยากจน ที่หมู่บ้านบุตกา ห่างจากเอกาเตรินเบิร์ก ราว 150 กิโลเมตร เขาใช้ชีวิตวัยเยาว์ที่เมืองนี้ เมื่อจบจากสถาบันโพลีเทคนิคอูรัล ( ปัจจุบัน คือ อูรัลส์ สเตต เทคนิคัล ยูนิเวอร์ซิตี้ ) ก็ทำงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง และไต่เต้าสร้างผลงานในพักคอมมิวนิสต์
เยลต์ซิล มีภาพลักษณ์เป็นผู้นำทีเด็ดขาดและได้รับความนิยมสูง ด้วยแรงหนุนจากกอรืบาซอฟ เยลต์ซิลถูกเรียกตัวไปเมืองหลวงเพื่อรับตำแหน่งผู้นำพรรค สาขามอสโก ซึ่งก็คือ ตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง เขาใช้ตำแหน่งนี้เป็นฐานอำนาจปฎิรุปจักรวรรดิโซเวียต โดยไม่รู้ตัวว่า จะได้อยู่มอสดกต่อไปในฐานะประธานาธิบดีแห่งรัสเซียใหม่
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก : วาระสุดท้ายของซาร์
Shooting of the Romanov family
ในตำราประวัติศาสตร์ เอกาเตรินเบิร์กโด่งดังไม่ใช่เพราะเป็นเมืองอุตสาหกรรม แต่เพราะเป็นสถานที่ปลงพระชนต์ซาร์นิโคลัสที่ 2 หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์บอลเชวิค (พรรคเสียงข้างมาก) ปฏิวัติยึดอำนาจในปี 1917 ได้นำพระเจ้าซาร์ พระชายา พระโอรสพระธิดา ไปคุมขังตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง ก่อนย้ายไปเมืองเอกาเตรินเบิร์ก ในเดือนมิถุนายน ปี 1917 โดยคุมขังไว้ภายในบ้านอิฐซึ่งเคยเป็นของนักธุรกิจท้องถิ่นนาม อีปาเตียฟ (คนจึงเรียกบ้านนี้ว่า บ้านอีปาเตียฟ ซึงก็เข้าใจตรงกันว่า เป็นบ้านที่สังหารพระเจ้าซาร์นั่นเอง)
วาระสุดท้ายของทุกพระองค์เป็นอย่างไรนั้น เป็นความลับดำมืดในยุคโซเวียต แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าต้องได้รับกาทารุณจากทหารยามแน่นอน ในเดือนกรกฎาคม พรรคบอลเซวิค(นำโดยเลนิน) หวั่นเกรงว่า กองกำลังต่อด้านบอลเซวิค ที่กำลังรุกคืบใกล้เมืองเข้ามา อาจช่วยเหลือชิงตัวซาร์กลับไป จึงตัดสิีนใจ กำจัดพระองค์ทิ้งให้สิ้นเรื่อง
คณะก่อการนำตัวซาร์ พระชายา พระโอรส พระธิดา นายแพทย์ประจำพระองค์และข้าราชบริพาร ลงไปห้องใต้ดิน แล้วทรงบอกว่าพระองค์กำลังจะตาย นักประวัติศาสตร์วิลเลี่ยล เฮนรี่ แซมเบอร์แลน เล่าว่า " ซาร์ทรงไม่เข้าพระทัย ตรัสถามว่า... อะไรนะ!!! " เพียงเท่านั้น ยูโลสกี้ ก็ชักปืนยิงพระองค์ล้มลง เป็นสัญญาณเริ่มต้นการสังหารหมู่ ยามคนอื่นๆ ชักปืนออกมารัวกระสุนใส่ ร่างพระชายา พระโอรสและพระธิดา พระศพและศพทั้งหมดถูกทิ้งไว้ในหลุมตื้นๆ ในป่าแถวนั้น กระทั่งปี 1998 จะมีการตั้งทีมงานทั้งจากในและนอกปรเทศทำการขุดค้น วิจัยและค้นคว้า หาหลักฐานต่างๆ โดยรัฐบาลของประธานาธิบดี โบริส เยลต์ซิน (ท่านเป็นคนเมืองเอกาเตรินเบิร์ก) ก่อนนำพระอัฐิกลับมายังนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เก็บไว้ภายในป้อมปีเตอร์แอนด์ปอล ริมฝั่งแม่น้ำเนวา และจัดงานยิ่งใหญ่อย่างสมพระเกียรติของซาร์แห่งรัสเซีย
ช่วงการปฏิวัติยึดอำนาจ รัสเซียแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
1. ฝ่ายรัสเซียขาว (นิยมระบบซาร์ นำโดยทหารผู้จงรักภักดี ต่อพระองค์)
2. รัสเซียแดง (ล้มล้างระบบซาร์ นำโดยเลนิน)
ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณบ้านอีปาเตียฟ (Ipatiev House) ถุกสร้างเป็นโบสถ์ "Church on the Blood : โบสถ์อนุสรณ์บนโลหิตของผู็ศักดิ์สิทธิ์ " สถาปนาขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2003 ในวาระครบรอบ 85 ปี หลังเหตุการณ์สังหาร สร้างเพื่อเป็นถาวรสถาน ให้ทุกคนได้รำลึกเหตุการณ์ในครั้งนั้น และจัดให้เป็นสถานท่องเที่ยวของเมืองเอกาเตรินเบิร์กที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง
มีเรื่องเล่าว่า ในช่วงหลายทศวรรษ หลังการปฏิวัติ บ้านอีปาเตียฟ กลายเป็นสิ่งรำลึกถึงอดีต จนรัฐบาลคอมมิวนิสต์วิตกว่าบ้านอีปาเตียฟ จะกลายเป็นสถานที่รวมใจ จึงออกคำสั่งในปี 1977 ให้ โบริส เยลต์ซิล จัดการรื้อถอนบ้าน สองสามวันหลังจากนั้น มีรถขุด ยกขบวนมากลางดึก รุงเช้าบ้านทั้งบ้านก็อันตรธานหายไป....
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
22-05-2011
Views : 7849
หมวด
ไซบีเรีย : 19 หัวข้อ
07-01-2011
ไซบีเรีย Siberia
20-05-2011
สุนัข ไซบีเรียนฮัสกี้
22-05-2011
ทะเลสาบไบคาล
22-05-2011
เมืองอีร์คุตสต์ (Irkutsk)
22-05-2011
เมืองอูลัน-อูเด (Ulan Ude)
22-05-2011
เมืองโอมส์ (Omsk)
22-05-2011
เมืองโตมสค์ (Tomsk)
22-05-2011
เมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok)
22-05-2011
เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Yekaterinburg)
22-05-2011
เมืองนิชนี โนฟโกหรัด (Nizhny Novgorod)
22-05-2011
เมืองโนโวซีบีร์สค์ (Novosibirsk)
22-05-2011
เมืองกราสโนยาร์สค์ (Krasnoyarsk)
22-05-2011
เมืองเปียร์ม (Perm)
29-05-2011
ซากช้างแมมมอธ ที่สมบูรณ์ที่สุด
29-05-2011
สวนสัตว์เชียงใหม่ผุดอาณาจักรน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ-ขอหมีขาวรัสเซียมาจัดแสดง
29-05-2011
เมืองคาซาน (Kazan)
04-06-2011
หลุมเพชร Udachnaya Pipe
04-06-2011
หลุม Mirany Diamond Mine
04-06-2011
เหมืองใยหิน Asbest
๏ปฟ
เวลาท้องถิ่น
กรุงเทพฯ
มอสโก
ลอนดอน
โรม
ฮ่องกง
โตเกียว
ซิดนีย์
ฟิจิ
ฮาวาย
ซานฟรานซิสโก
นิวยอร์ค
3.236.100.210 = UNITED STATES Thursday 19th September 2024
ส่งหน้านี้ให้เพื่อน
น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
-
พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
-
ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
-
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
-
ราชวงค์โรมานอฟ
-
จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
-
กรุงมอสโก
-
นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
-
เมืองเขตโกล์เด้นริง
-
รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
-
เมืองวลาดิเมียร์
-
เมืองซากอร์ส
-
ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
-
สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
-
ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
-
แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
-
รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
-
จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
-
Trans-Siberian Railway
-
วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
-
ว้อดก้ารัสเซีย
-
เพชรรัสเซีย
-
รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
-
ดู RT TV online (eng)
-
ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
-
เชชเนีย
-
ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
-
สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
-
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
-
พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
-
สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
-
เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย
เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
อาร์เมเนีย (Armenia)
พศ. 2534
อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan)
พศ. 2536
เบลารุส (Belarus)
พศ. 2534
จอร์เจีย (Georgia)
พศ. 2536-2551
คาซัคสถาน (Kazakhstan)
พศ. 2534
คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan)
พศ. 2534
มอลโดวา (Moldova)
พศ. 2534
รัสเซีย (Russia)
พศ. 2534
ทาจิกิสถาน (Tajikistan)
พศ. 2534
เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan)
พศ. 2548
ยูเครน (Ukraine)
พศ. 2534
อุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
พศ. 2534
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com