| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : ไซบีเรีย
ซากช้างแมมมอธ ที่สมบูรณ์ที่สุด | นักวิทยาศาสตร์รัสเซียระบุว่า ซากลูกช้างแมมมอธที่พบเมื่อเดือนพฤษภาคม ถือว่าเป็นซากช้างสายพันธุ์นี้ที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบกันมา
นักวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า ซากลูกช้างแมมมอธเพศเมียวัย 6 เดือน ที่ตายเมื่อประมาณ 1 หมื่นปีก่อน และเพิ่งถูกค้นพบเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในรัสเซีย อาจจะเป็นซากช้างแมมมอธที่ถูกธรรมชาติเก็บรักษาไว้อย่างดีที่สุด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลกในปัจจุบัน
ซากช้างแมมมอธตัวนี้ ถูกขุดขึ้นมาจากพื้นดินที่จับตัวเป็นน้ำแข็งตลอดปีใกล้กับแม่น้ำยูริเบ ในเขตปกครองตนเอง ยามาล - เนเน็ต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรีย หลังจากที่นายยูริ คูดี ซึ่งประกอบอาชีพเป็นคนเลี้ยงกวางเป็นคนไปพบมันเข้า
ซากช้างตัวนี้อยู่ในสภาพดีเสียจน งวงและตาของมันยังอยู่ในสภาพที่เหมือนเดิม ขณะที่ตามลำตัวก็ยังคงมีขนอยู่บ้าง
ช้างตัวนี้สูง 130 เซ็นติเมตร และหนัก 50 กิโลกรัม คาดว่าอายุของมันน่าจะอยู่ช่วงสุดท้ายของยุคน้ำแข็ง ซึ่งเป็นช่วงที่ช้างแมมมอธสาบสูญไปจากโลก
นายอเล็กเซย์ ทิคอนนอฟ รองผู้อำนวยการสถาบันสัตววิทยา บัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์รัสเซีย บอกว่า ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาซากแมมมอธ อาจจะมีคุณค่ามากสำหรับการศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา และเมื่อตอนนี้สภาพอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง เราก็ควรวิจัยกันโดยอาศัยพื้นฐานความรู้ที่ได้รับมาจากแมมมอธ
สำหรับซากแมมมอธตัวนี้ จะถูกส่งไปญี่ปุ่นเพื่อทำการศึกษาโดยละเอียดต่อไป
โครงการคืนชีพ ช้างแมมมอธ
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ที่โตเกียว 17 ม.ค. 2554 - นักวิจัยชาวญี่ปุ่นจะเริ่มโครงการฟื้นคืนชีพช้างแมมมอธ ซึ่งสูญพันธุ์ไปนานแล้ว ด้วยเทคโนโลยีการโคลนนิ่ง โดยจะเริ่มโครงการในปีนี้และใช้เวลา 5 ปี จึงจะมีช้างแมมมอธตัวแรกปรากฏตัวบนโลกอีกครั้ง
ทีมนักวิจัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญแมมมอธจากรัสเซีย และผู้เชี่ยวชาญช้างจากสหรัฐ เข้าร่วมโครงการ ซึ่งล่าสุดได้ใช้เทคนิคการสกัดดีเอ็นเอออกจากเซลล์แช่แข็ง แม้โครงการนี้ได้ยกเลิกไปแล้วครั้งหนึ่งเพราะนิวเคลียร์ในเซลล์ผิวหนังและ กล้ามเนื้อของแมมมอธได้รับความเสียหายจากผลึกน้ำแข็ง แต่ความหวังกลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อ เทรุฮิโกะ วากายามะ นักวิจัยจากศูนย์พัฒนาด้านชีววิทยาริเค็น ประสบความสำเร็จในการ “โคลน” หนูจากเซลล์ที่แช่แข็งไว้นานถึง 16 ปี ทีมของ อิราทานิ จึงนำเทคนิคของ วากายามะ มาปรับปรุง จนได้วิธีการดึงนิวเคลียสจากไข่ช้างแมมมอธ โดยที่เซลล์ไม่ถูกทำลาย
“หากเราโคลนเอ็มบริโอได้สำเร็จ ก่อนที่จะใส่มันเข้าไปในมดลูกของช้างปกติ เราคงต้องหารือกันก่อนว่า จะขยายพันธุ์ช้างแมมมอธต่อไปอย่างไร และจะเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือไม่” อิราทานิ กล่าว
“หลังจากที่ลูกช้างเกิดมา เราจะต้องศึกษาเรื่องยีนและระบบนิเวศที่มันอาศัยอยู่ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่พวกมันสูญพันธุ์ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ”
หนังสือพิมพ์โยมิอูริรายงานว่า นักวิจัยจะเริ่มโครงการฟื้นคืนชีพช้างแมมมอธ โดยจะนำเนื้อเยื่อมาจากซากของแมมมอธที่รักษาไว้ในห้องวิจัยของรัสเซีย นายอากิระ อิริตานิ หัวหน้าคณะนักวิจัยและศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยเกียวโต กล่าวว่า ได้เตรียมการโครงการนี้แล้ว ทั้งนี้ ตามโครงการจะนำนิวเคลียสที่ได้จากเซลล์ของแมมมอธใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ของช้าง ซึ่งนำนิวเคลียสออกแล้ว เพื่อสร้างตัวอ่อนที่ประกอบด้วยยีนของช้างแมมมอธ
ตัวอ่อนดังกล่าวจะถูกฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่ช้างฮ่ะ ด้วยความหวังว่าในที่สุดแม่ช้างจะให้กำเนิดลูกแมมมอธ ซึ่งนักวิจัยตั้งเป้าหมายว่าจะประสบความสำเร็จภายใน 5-6 ปี
สำหรับ ช้างแมมมอธ (Mammuthus armeniacus)" นั้นได้อาศัยอยู่บนโลกมาตั้งแต่ 4.8 ล้านปีก่อน และสูญพันธุ์ไปเมื่อ 13,000-60,000 ปีที่แล้ว ช้างแมมมอธเคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาเหนือและยูเรเซีย แต่ละตัว มีน้ำหนักราว 6-8 ตัน แต่ถ้าเป็นตัวผู้ตัวใหญ่ๆ อาจหนักถึง 12 ตัน เลยทีเดียว ซากช้างแมมมอธร้อยละ 80 ถูกขุดพบในสาธารณรัฐซาฮาทางตะวันออกของไซบีเรีย โดยซากที่มีสภาพดีที่สุดยังคงหลงเหลือเส้นขนและอวัยวะภายในอยู่ครบทั้งหมด |
|