ธุรกิจ ไทย - รัสเซีย
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 

เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
ธุรกิจ ไทย - รัสเซีย

'รัสเซีย พร้อมบาร์เตอร์เทรด ทุกอย่างกับไทย'
ภาวะเศรษฐกิจรัสเซีย ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ในวันนี้ไม่ใช่รัสเซียอย่างที่เคยเห็นในอดีต ตลอดระยะ 7 ปีที่ผ่านมารัสเซียประสบความสำเร็จในปฏิรูปและฟื้นฟูเศรษฐกิจ จนสามารถเติบโตได้ในอัตราเฉลี่ย 7% ต่อปี และคาดว่าจะขยายตัวในระดับนี้ไปจนถึงปี 2551

ปัจจุบันรัสเซีย ยังกลายเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ สร้างรายได้และปลดภาระหนี้ได้หมด จนต้องยอมรับกันว่า เศรษฐกิจรัสเซียอยู่ในสภาพ "แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ" และกำลังเป็นที่สนใจของทั่วโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง โดยเฉพาะ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ที่พยายามฟื้นสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ที่มีมานานกว่า 100 ปี เพื่อปูทางก้าวไปสู่การเป็น "หุ้นส่วนยุทธศาสตร์(Strategic Partnership)" ซึ่งจะก้าวหน้าไปได้มากแค่ไหน "ฐานเศรษฐกิจ" ได้สัมภาษณ์พิเศษ ฯพณฯ เยฟเกนี อัฟฟานาเซียฟ เอกอัครราชทูตรัสเซีย ประจำประเทศไทย มองถึงโอกาสและศักยภาพของสองประเทศที่จะพัฒนาไปด้วยกันในอนาคต

สัมพันธ์ทวิภาคี สู่ หุ้นส่วนยุทธศาสตร์

ผลจากการหารือทวิภาคีในช่วงปีนี้ ระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ครั้งเยือนรัสเซียเมื่อตุลาคมที่ผ่านมา การหารือกันอีกครั้งช่วงการประชุมเอเปค ที่เมืองปูซาน เกาหลีใต้ เมื่อพฤศจิกายนนี้ ผู้นำทั้งสองได้เห็นชอบในหลักการที่รัสเซียและไทย จะทำ ข้อตกลง Visa Free เพื่อรองรับการท่องเที่ยว และธุรกิจระหว่างกัน และจะมีการลงนามร่วมกันในช่วงการประชุมทวิภาคี ที่กัวลาลัมเปอร์นี้ ที่แยกจากการประชุม ASEAN-RUSSIA Summit หลังจากนั้นจะเสนอให้สภาพิจารณาอนุมัติ และมีผลบังคับใช้ปี 2549

อีกเรื่อง คือ ทั้งสองผู้นำจะหารือและตั้งเป้าหมายร่วมกันใน "แผนปฏิบัติการร่วมไทย-รัสเซีย (Plan of Action)" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า "Roadmap" ซึ่งจะครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุน วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และอื่นๆ โดยคณะกรรมาธิการจัดทำโรดแมปของรัสเซียจะเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทยในเดือนมกราคม 2549 ที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นจะนำมาหารือกันใน Joint Russia-Thailand Commission ก่อนที่จะนำไปให้นายกทักษิณ และปธน. ปูตินอนุมัติ คาดว่า จะลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมนี้ได้ในปี 2549 เช่นกัน

ผลักดันการค้า-ลงทุนสองฝ่าย

การประชุมทวิภาคีครั้งนี้ ยังมีการหารือด้านการค้าในทุกเรื่อง จากตัวเลขในปี 2548 พบว่าการค้าสองฝ่ายก้าวหน้าไปมาก มูลค่าการค้ารวมปีนี้คาดว่า จะถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากศักยภาพการค้าสองฝ่ายเชื่อว่าจะเพิ่มพูนการค้าระหว่างกันได้อีกมาก เช่น การค้าแบบแลกเปลี่ยน( Barter Trade) ด้านพลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความร่วมมือด้านอวกาศ รวมถึงการลงทุนอื่นๆ ซึ่งจะผลักดันให้การค้าพุ่งสูงยิ่งขึ้น และฐานทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายจะแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วย

เอกอัครราชทูตรัสเซีย เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบันรัสเซียจะเกิดดุลการค้าไทย แต่รัสเซียก็ต้องการหาซื้อสินค้าไทยเพิ่ม ซึ่งเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะทำข้อตกลง "บาร์เตอร์เทรด" โดยไทยซื้อสินค้าจากรัสเซีย และรัสเซียแลกเป็นสินค้าไทยตอบแทนไป ซึ่งในช่วงนายกฯทักษิณเยือนรัสเซียเมื่อ ต.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงแนวทางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน โดยไทยอาจนำสินค้าไก่ไปแลกกับเครื่องบินรัสเซีย เพื่อช่วยขยายฐานการส่งออกสินค้าไทยไปรัสเซีย

" รัสเซียพร้อมที่จะทำบาร์เตอร์เทรดกับไทย และคิดว่าเป็นแนวทางที่มีประโยชน์และเป็นไปได้ อีกทั้งผู้นำทั้งสองฝ่ายได้คุยกันมาหลายครั้งแล้ว คาดว่าน่าจะมีผลสรุปออกมาในเร็วๆนี้ "

นอกจากนี้รัฐบาลทั้งสองฝ่ายยังทำข้อตกลง ที่จะ ปรับปรุง เงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ที่มีระหว่างกันใหม่ โดยเฉพาะกฎหมายด้านการค้าเพื่อแก้ไขและลงนามกฎหมายใหม่ รวมถึงกฎหมายเรื่องภาษี เช่น การลดภาษี และยกเลิกภาษีที่ไม่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจ การลงทุน และการค้า โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2549

สำหรับด้านการลงทุน ที่ผ่านมามีบริษัทไทยให้ความสนใจเข้าไปลงทุนโครงการในรัสเซียหลายแห่ง โดยบริษัทไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ เช่น โครงการสร้างพื้นที่อุตสาหกรามในมอสโคว์ สัมปทานเหมืองถ่านหิน และโครงการน้ำมันและก๊าซที่ซาคาริน การตั้งศูนย์ธุรกิจไทย-รัสเซีย รวมไปถึงโครงการแหล่งเก็บสำรองน้ำมันในไทย ซึ่งในช่วงการประชุมเอเปคที่เมืองปูซาน ได้มีการลงนาม ข้อตกลงยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่าง ปตท. กับ OAO Gazprom และ Vnesheconombak ที่ชี้ให้เห็นว่าบริษัทใหญ่ของรัสเซียก็สนใจร่วมมือกับไทยเช่นกัน

นอกจากนี้รัสเซียยังสนใจและพร้อมเข้าร่วมในโครงการก่อสร้างส่วนขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของกทม. ซึ่งเรื่องนี้มีบริษัทเอกชนของรัสเซีย ต้องการเรียนรู้รายละเอียดของโครงการเพิ่ม เมื่อไทยมีแผนที่เป็นรูปธรรมออกมา เชื่อว่ารัสเซียจะนำเสนอโครงการที่ดีเข้าไปแข่งขันได้

"ในฐานะเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศไทย มั่นใจว่า สหพันธรัฐรัสเซียมองไทยเป็นประเทศสำคัญอันดับแรก และต้องการพัฒนาสัมพันธ์สองฝ่ายในทุกๆด้าน แต่ที่รัสเซียเข้ามาลงทุนในไทยน้อย ปัญหาหนึ่ง คือ สองฝ่ายยังขาดความรู้ในเรื่องโอกาสทางการลงทุน งานสำคัญตอนนี้ คือการให้ความรู้เกี่ยวกับโอกาสของแต่ละประเทศ รวมถึงเพิ่มความร่วมมือ และการหารือรในระดับผู้นำ"

มุ่งนโยบายสร้างสัมพันธ์เอเชียแปซิฟิก

และ การที่รัสเซียเข้าร่วมประชุม ASEAN Summit ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่กัวลาลัมเปอร์นี้ ถือว่ามีความสำคัญมาก ทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค ที่สะท้อนให้เห็นว่า รัสเซีย ต้องการสร้างสัมพันธ์ในระดับผู้นำกับอาเซียน และเข้ารวมเป็นสมาชิกใน East Asia Community ด้วย ในขณะที่การประชุม ASEAN-Russia เป็นเครื่องแสดงนัยให้เห็นเช่นเดียวกันว่า รัสเซียให้ความสำคัญกับอาเซียนซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของเอเชียแปซิฟิก ที่รัสเซียต้องการสานสัมพันธ์ให้แข็งแกร่ง เพื่อขยายไปถึงระดับภูมิภาค และคาดว่าจะมีการลงนามข้อตกลงระหว่างรัสเซีย-อาเซียน ที่ครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอื่นๆ ที่อาจขยายไปถึงเรื่อง FTA

"รัสเซียต้องการเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง และมีส่วนร่วมในการพัฒนาความก้าวหน้าของเอเชียแปซิฟิก เพราะอาณาเขต 2/3 ของประเทศอยู่ในเอเชีย มีชายแดนติดกับ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี รวมถึงสหรัฐอเมริกา นโยบายของรัสเซียจึงมอง 2 แนวทาง เหมือนกับสัญลักษณ์ประเทศ ที่เป็นรูปนกอินทรีสองหัว หัวหนึ่งหันไปทางตะวันตก อีกหัวหนึ่งหันไปทางตะวันออก เป้าหมายของรัสเซียจึงที่ต้องการมีสัมพันธ์แข็งแกร่งกับสหรัฐ ยุโรป เท่าๆกับเอเชียแปซิฟิก"

โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่รัสเซียมีจำนวนมาก เช่น แหล่งทรัพยากรน้ำมันและก๊าซที่ไซบีเรีย และซาคาลิน จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับทุกประเทศในเอเชียแปซิฟิก ขณะนี้อินเดียได้เข้าไปลงทุนที่ซาคาลิน 1,000 ล้านดอลลาร์แล้ว และหวังว่าบริษัทไทยจะสนใจเข้าไปลงทุนด้วย และอาจขยายไปถึงความร่วมมือในแผนปฏิบัติการร่วม เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านอวกาศ ซึ่งสองฝ่ายได้เจรจาทำข้อตกลงพิเศษ ที่จะทำการสำรวจอวกาศ รวมทั้งเรื่อง Strategic Hub หรือแหล่งสำรองน้ำมันของรัสเซียในไทย

ทั้งนี้การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ถือ เป็นหนึ่งในทิศทางหลักของนโยบายรัฐ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเมื่อ สิงหาคม 2546 รัสเซียได้ประกาศนโยบาย "ยุทธศาสตร์ด้านพลังงานถึงปี 2563"ที่ครอบคลุมหลากหลายทิศทาง อาทิ การพัฒนาตลาดพลังงานในประเทศ และระดับภูมิภาค การเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ และทำให้รัสเซียมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่นานาประเทศ โดยมีตลาดส่งออกหลัก คือ ยุโรป และคาดการณ์ ว่า การส่งออกพลังงานสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นจาก ปัจจุบัน 3% เป็น 30% ในปี 2563

ก้าวสู่ "ระบบการค้าโลก"

ในขณะเดียวกัน รัสเซียได้ใช้ความพยายามนานกว่า 10 ปี ขอเข้าเป็น สมาชิกองค์การการค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) เพื่อผนวกเศรษฐกิจรัสเซียเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างเต็มตัว โดยเชื่อว่า การเข้าเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอ จะสร้างความได้เปรียบ และนำกลไกของดับบลิวทีโอมาเป็นเกราะป้องกัน และสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น รัสเซียยังเชื่ออีกว่า มาตรการสู่ความเป็นผู้นำ ด้วยการสร้างบรรยากาศทางธุรกิจ ลดอุปสรรคทางการค้า กำลังนำเศรษฐกิจรัสเซียไปสู่การขยายตัวที่ท้าทาย

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
ประจำวันที่ 15 - 17 ธันวาคม 2548

   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
22-02-2006 Views : 10013
หมวด ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย : 40 หัวข้อ   
    22-02-2006
  • ธุรกิจ ไทย - รัสเซีย
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















18.116.36.192 = UNITED STATES    Wednesday 24th April 2024  IP : 18.116.36.192   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com