พลิกฟื้นคืนชีพ คดีดัง "อเล็กเซย์" โอรสซาร์รัสเซีย "รอดชีวิต" จากการถูกปลงพระ
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 







เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
พลิกฟื้นคืนชีพ คดีดัง "อเล็กเซย์" โอรสซาร์รัสเซีย "รอดชีวิต" จากการถูกปลงพระ

         *พงศาวดารรัสเซียถูกปลุกขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อครอบครัวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ลุกขึ้นมาร้องขอความเป็นธรรมเรื่องบรรพชนของตน และยืนยันด้วยเหตุผลทางนิติวิทยาศาสตร์ว่า มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของรัสเซีย มิได้สิ้นพระชนม์เพราะการสังหารหมู่ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่เพิ่งจะเสียชีวิตเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง

        ราชวงศ์โรมานอฟที่ยิ่งใหญ่ล้นฟ้าของจักรวรรดิรัสเซีย พบจุดจบอย่างกะทันหันในเช้ามืดวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ เมื่อสมาชิกในพระราชวงศ์ถูกสังหารหมู่โดยตำรวจลับเชกา (Cheka) มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ (บางแห่งเรียกอเล็กซิส แต่ในที่นี้จะเรียกตามหนังสือที่ใช้อ้างอิงว่า Tsarevich Alexei-ผู้เขียน) โอรสวัยรุ่น พระชันษาเพียง ๑๔ ปีของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และพระนาง (ซารีนา) อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา ผู้เป็นรัชทายาทของราชบัลลังก์รัสเซีย ทรงรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิดชนิดเฉียดตาย

        ก่อนหน้านี้ ดวงพระชาตาของเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ ส่งเสริมให้พระองค์ได้เสวยราชย์ แต่ก็เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น แล้วดวงพระชาตาก็พลิกผันให้ต้องประสบเคราะห์กรรมโดยถูกปลงพระชนม์พร้อมกับพระราชบิดา แต่เพราะดวงยังไม่ถึงฆาต องค์มกุฎราชกุมารจึงยังไม่สิ้นใจในทันที ทว่า ระหว่างการขนย้ายพระศพทั้งหมดไปทำลายทิ้ง ร่างของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์กลับสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย พร้อมๆ กับการสิ้นสุดของราชวงศ์โรมานอฟที่สืบทอดติดต่อกันมานาน ๓๐๐ ปี

        องค์รัชทายาททรงเติบโตขึ้นภายใต้ชื่อใหม่ว่าวาสิลี ฟิลาตอฟ (Vasily Filatov) และใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาต่อมาในบทช่างทำรองเท้าและครูสอนภูมิศาสตร์ในที่สุด ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวเหลือเชื่อของมกุฎราชกุมารองค์นั้นที่พงศาวดารรัสเซียไม่อยากรับรู้ โปรดอ่านต่อไป

ความเดิม และกำเนิด

มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์

        ซาเรวิตซ์ นิโคลาส เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. ๑๘๙๔ ในปีเดียวกันก็ได้ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเยอรมัน พระนามเดิมว่าเจ้าหญิงอลิกซ์ (Princess Alix Von Hesse-Darmstadt) ผู้เป็นพระธิดาของเจ้าหญิงอลิซ (Princess Alice Maud Mary) ซึ่งเป็นพระธิดาองค์ที่ ๒ ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria) อีกทีหนึ่ง เจ้าหญิงอลิกซ์ได้รับสถาปนาเป็นซารีนา อเล็กซานดรา ฟีโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย (Czarina Alexandra Feodorovna) พระนางไม่ใช่คน "ป๊อปปูล่าร์" ในราชสำนักรัสเซีย โดยเฉพาะทรงขัดแย้งและเข้ากันไม่ได้กับสมเด็จพระพันปีหลวงอยู่เสมอ พระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงย้ายที่ประทับจากกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปประทับ ณ พระราชวังลิเดียที่ซาร์สโกเอเซโล (Tsarskoe Selo) ตั้งอยู่นอกเมืองหลวงประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งมีส่วนทำให้รัชกาลใหม่ตัดขาดความสัมพันธ์กับราชสำนักอยู่เสมอ ความโดดเดี่ยวนี้ทำให้ซารีนาทรงใกล้ชิดกับพระเจ้าซาร์มากขึ้น แต่จะกลับเป็นเป้าหมายของการซุบซิบนินทาและความอิจฉาริษยาจากแวดวงชั้นสูงในเมืองหลวงตลอดเวลา

        ซารีนา อเล็กซานดรา มีพระราชธิดากับพระเจ้าซาร์ ๔ องค์ คือ แกรนด์ดัชเชสออลกา (Grand Dutchess Olga) แกรนด์ดัชเชสตาเตียนา (Tatiana) แกรนด์ดัชเชสมารี (Marie) และแกรนด์ดัชเชสอนาสตาเซีย (Anastasia) แต่ตามกฎมณเฑียรบาลนั้น พระราชธิดาไม่มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์ ทั้งพระเจ้าซาร์และซารีนาจึงทรงกังวลพระทัยเกี่ยวกับปัญหาการไม่มีรัชทายาท ซารีนาทรงใช้เวลาส่วนใหญ่สวดมนต์อ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า ขอให้กำเนิดพระราชโอรส ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ พระนางก็ประสูติพระราชโอรสสมปรารถนา แต่หลังจากประสูติได้ ๖ สัปดาห์ เจ้าชายอเล็กเซย์มีพระอาการโลหิตไหลไม่หยุดถึง ๓ วัน ด้วยโรคฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โรคดังกล่าวเป็นพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทั้งพระเจ้าซาร์และพระมเหสีทรงปิดข่าวเรื่องโรคร้ายประจำตัวเจ้าชายอเล็กเซย์เป็นความลับ โรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทำให้พระเจ้าซาร์และพระมเหสีใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และมีส่วนทำให้พระเจ้าซาร์ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะน้อยลง ทั้งซารีนาก็มีพระอากัปกิริยาเคร่งเครียดเย็นชา จนทำให้เกิดข่าวลือร้ายๆ ต่างๆ ที่ทำให้ราชวงศ์มัวหมองลง และเร่งให้พสกนิกรพากันเกลียดชังพระนางมากขึ้นด้วย(๑)

        การประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ จะเป็นช่องทางที่ชักนำชายคนหนึ่งมาสู่ราชสำนักรัสเซีย บุคคลผู้นี้มีชื่อว่าเกรกอรี่ รัสปูติน เขาเป็นนักบวชจากไซบีเรีย มีประวัติที่กักขฬะและคลั่งไคล้ในกามราคะ แต่ความสามารถพิเศษของรัสปูตินในเรื่องการสะกดจิตทำให้มีผู้แนะนำราชสำนักว่า เขาอาจรักษาอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ได้ รัสปูตินก้าวเข้ามาในชีวิตของพระราชวงศ์ และได้สร้างความประหลาดใจให้ทุกคนเห็น จนอาการประชวรของเจ้าชายอเล็กเซย์ทุเลาลงและมีสุขภาพดีขึ้น ซารีนาทรงมอบบำเหน็จความชอบทุกอย่างที่รัสปูตินต้องการโดยเฉพาะสิทธิพิเศษในราชสำนัก ผลร้ายที่ตามมาคือ อิทธิพลของซารีนาต่อพระเจ้าซาร์พลอยทำให้องค์เหนือหัวตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสปูตินไปด้วย

        พระเจ้าซาร์และซารีนาทรงเชื่อว่ารัสปูตินเป็นคนของพระเจ้าที่สามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอำนาจวิเศษในการรักษาโรคร้ายของเจ้าชายอเล็กเซย์ ทั้ง ๒ พระองค์จึงทรงปฏิเสธที่จะรับฟังการตักเตือนเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของรัสปูตินในราชสำนัก ซารีนาทรงปกป้องรัสปูตินทุกเรื่อง และทรงขอให้พระเจ้าซาร์ลงโทษหรือปลดข้าราชการที่ต่อต้านรัสปูตินออกจากตำแหน่ง รัสปูตินมีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนักเมื่อพระเจ้าซาร์เสด็จไปบัญชาการรบที่ชายแดนในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซารีนาโปรดให้รัสปูตินรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินแทนพระนาง ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับสภาดูมา (Duma) และนำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ ข่าวลือที่แพร่กระจายทั่วประเทศว่ารัสปูตินเป็นชู้รักของซารีนาและข่มขืนพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ทำให้เกียรติภูมิของราชวงศ์มัวหมองอย่างมาก จนสมาชิกสภาดูมาเริ่มรณรงค์ต่อต้านราชวงศ์อย่างเปิดเผย การโจมตีของสภาดูมาอย่างรุนแรงมีส่วนให้เจ้าชายเฟลิกซ์ ยุสซูปอฟ (Felix Youssoupov) และพระญาติวางแผนสังหารรัสปูตินในเวลาต่อมา(๑)


"อเล็กเซย์" เสวยราชย์เป็น

พระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒

        เมื่อเกิดการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๗ เพื่อต่อต้านสงครามและการขาดแคลนอาหาร พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงมีคำสั่งให้ใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มผู้เดินขบวนอย่างเด็ดขาด และให้ประกาศปิดสมัยประชุมสภาดูมา ซึ่งกำลังแก้ไขสถานการณ์ นับแต่นั้นสภาเริ่มแสดงปฏิกิริยาเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ เหตุการณ์รุนแรงขึ้น เมื่อสภาดูมามีมติให้ประกาศการสิ้นสุดอำนาจของรัฐบาลพระเจ้าซาร์ในวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๑๗ และแต่งตั้งผู้แทนไปทูลให้พระเจ้าซาร์ทรงสละราชสมบัติ ความตึงเครียดผลักดันให้พระเจ้าซาร์ทรงยินยอมสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสคืออเล็กเซย์ ในวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๑๗ และในบ่ายวันเดียวกันก็มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการเสด็จขึ้นครองราชย์ของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ เป็นพระเจ้าซาร์อเล็กเซย์ที่ ๒ มีพระนามเต็มว่า "His Imperial Majesty Tsar Alexei II, Emperor and Autocrat of all the Russias" แต่ในช่วงเย็น พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยและทรงแก้ไขคำสั่ง โดยทรงประกาศมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชาคือแกรนด์ดุ๊กไมเคิล อเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Michael Alexandrovich) แทน แต่แกรนด์ดุ๊กไมเคิลกลับทรงปฏิเสธราชบัลลังก์ การปฏิเสธครั้งนี้ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟถึงกาลอวสาน(๑)

        หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม ๑๙๑๗ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ ซึ่งมีพระชันษา ๑๓ ปี พร้อมทั้งพระราชบิดา พระราชมารดา และพระราชธิดาทั้ง ๔ องค์ของพระเจ้าซาร์ ถูกนำไปควบคุมไว้ ณ บ้านอิมปาตีฟ (Impativ House) เมืองเอกาเตรินเบิร์ก (Ekaterinburg) ในไซบีเรีย ณ ที่นั้นตำรวจเชกา (หน่วยตำรวจลับมีหน้าที่สอดส่อง และควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนโซเวียต เป็นหน่วยงานสำคัญแห่งอำนาจบริหารของพรรคบอลเชวิก-ผู้เขียน) จำนวน ๑๒ นาย ได้รับคำสั่งให้ปลงพระชนม์ราชวงศ์โรมานอฟและผู้ติดตามรวมทั้งสิ้น ๑๑ คน มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ไม่ได้สิ้นพระชนม์โดยทันที เพราะก่อนที่จะถูกระดมยิงนั้น ทรงอยู่ในอ้อมพระพาหาของพระราชบิดา และพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ทรงล้มทับพระองค์ไว้ หลังจากนั้นพระศพของมกุฎราชกุมารและพระราชวงศ์ถูกนำไปทำลายและฝังไว้ที่บริเวณเหมืองร้างในป่าคอปเตียกี (Koptyaki) นอกเมืองเอกาเตรินเบิร์กประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวที่ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ เผยแพร่โดยหน่วยงานภาครัฐ(๑)


หลักฐานใหม่

ฉีกหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย

        ๒๔ ตุลาคม ๑๙๘๘ ที่เมืองอาสตราคาน (Astrakhan) ครูสอนวิชาภูมิศาสตร์ประจำหมู่บ้านชื่อวาสิลี ฟิลาตอฟ ได้ถึงแก่กรรมลงอย่างสงบ แต่ก่อนการจากไปอย่างไม่มีวันกลับ เขาได้เปิดเผยตัวเองต่อหน้าลูกเมียว่าที่แท้เขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ที่สูญหายไปในคืนวันสังหาร วาสิลียืนยันว่าเขาเป็นคนๆ เดียวกับอเล็กเซย์ โรมานอฟ (Alexei Romanov) โอรสองค์เดียวของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ และภายหลังที่ราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์ เขากลับได้รับการช่วยเหลือจากตำรวจ ๒ นาย ที่ทนดูความอำมหิตไม่ไหว

        แน่นอนคำสารภาพของวาสิลีขัดแย้งกับประวัติศาสตร์รัสเซียอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ถึงกระนั้น คำชี้แจงของหน่วยสังหารก็ยังขัดแย้งกันเองในรายละเอียด แต่ที่สำคัญที่สุดและจำต้องปกปิดไว้ คือรายละเอียดของผู้ตายในวันนั้นจำต้องปิดเป็นความลับสุดยอด ทำให้ข้อเท็จจริงถูกปิดบังไว้ต่อไปสำหรับประชาชน นอกจากเหตุผลด้านความมั่นคงแล้ว มันยังมีผลต่อความปลอดภัยและการดำเนินชีวิตของตำรวจกลุ่มดังกล่าวอีกด้วย หมายความว่าตำรวจกลุ่มปฏิบัติการจะต้องเก็บข้อมูลต่างๆ เป็นความลับไปจนตลอดชีวิต(๒)

        แถลงการณ์ของรัฐบาลรัสเซียภายหลังการค้นพบโครงกระดูกของผู้เสียชีวิตที่ป่าคอปเตียกี ในเดือนธันวาคม ๑๙๙๑ ยืนยันต่อชาวโลกว่า โครงกระดูกของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ และของเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอยจากหลุมศพที่ถูกฝังรวมกันอยู่ ประชาชนในโลกเสรีงุนงงต่อไป เมื่อสำนักงานเขตกลาง ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ออกใบมรณบัตร ๒ ใบต่างหากในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ระบุว่า มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์และเจ้าหญิงอนาสตาเซียได้เสียชีวิตแล้ว ทว่า เพราะขาดหลักฐานโครงกระดูกของทั้ง ๒ พระองค์ย่อมทำให้คดีไม่อาจปิดสำนวนได้ โดยเฉพาะใบมรณบัตร จึงกลายเป็นโมฆะในกระบวนการยุติธรรม(๒)



ความคับขันของวันวิปโยค

        ในระหว่างที่ราชวงศ์โรมานอฟโดนอุ้มไปนั้น ข่าวการปลงพระชนม์แกรนด์ดุ๊กไมเคิล พระอนุชาของพระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๑๙๑๘ แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ชะตากรรมของพระราชวงศ์ที่เหลือ ซึ่งบัดนี้ถูกคุมขังไว้ในเขตไซบีเรีย รัฐบาลเฉพาะกาลในมอสโกจึงสอบถามไปยังสภาโซเวียตประจำแคว้นอูรัล (Ural) เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระเจ้าซาร์และครอบครัว แต่รายงานต่างๆ ก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือ ต่อมาเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้นำรัฐบาลปฏิวัติ ก็ยิ่งทำให้การพิจารณาคดีและบทลงโทษของราชวงศ์โรมานอฟยืดเยื้อออกไปอีก ขณะนั้นมีข่าวว่าพวกรัสเซียขาวกำลังใกล้เข้ามาและคาดกันว่า เมืองเอกาเตรินเบิร์กอาจจะแตกในไม่ช้า วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงส่งโทรเลขด่วนมายังรัฐบาลเฉพาะกาลให้รู้ว่ากลุ่มของตนไม่สามารถรอคำพิพากษาจากส่วนกลางต่อไปอีกได้ โชคร้ายสายโทรเลขถูกตัดขาดเสียอีก ทำให้ฝ่ายปฏิวัติขาดการติดต่อจนได้ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๑๙๑๘ สภาโซเวียตแห่งอูรัลจึงตัดสินใจจัดการบางอย่างกับครอบครัวของพระเจ้าซาร์ ซึ่งตกอยู่ในมือของพวกตนตามลำพัง โดยจะไม่รอคำสั่งจากมอสโกอีกต่อไป

          สภาโซเวียตแห่งอูรัลจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นเพื่อพิพากษาความผิดของราชวงศ์โรมานอฟ ในข้อหากบฏและสร้างความล่มสลายให้แก่ประเทศชาติ ผ่านคำตัดสินให้ประหารชีวิตพระราชวงศ์ที่เหลือ(๒)



นาทีสังหาร

และข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์

         ต่อไปนี้เป็นคำให้การของนายยาคอฟ ยูรอฟสกี (Yakov Yurofsky) หัวหน้าเชกา ซึ่งบันทึกไว้ในปี ค.ศ. ๑๙๓๔ เกี่ยวกับคืนวันสังหารว่า "ข้าพเจ้าปลุกนักโทษของเรา หมอบอตกิน (Botkin) แพทย์ประจำพระองค์ซึ่งพักอยู่ในห้องข้างๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น ข้าพเจ้าแจ้งว่าต้องปลุกทุกคนขึ้น เพราะกำลังมีเหตุไม่สงบในเมือง พวกนักโทษใช้เวลาแต่งตัวนานมากเกือบจะ ๔๐ นาที หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงนำพวกเขาไปยังห้องที่เตรียมไว้ใต้ตัวตึก โดยบอกว่าจะนำไปถ่ายภาพหมู่เป็นหลักฐานว่าทุกคนยังปลอดภัยดี และทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าเตือนหมอบอตกินไม่ให้นักโทษนำอะไรออกมา พวกเขากลับนำสัมภาระบางอย่างติดตัวไปด้วย เช่น หมอน กระเป๋าสตางค์ และที่ข้าพเจ้าจำได้มีสุนัขเล็กๆ ตัวหนึ่งด้วย หลายอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

       เมื่อลงไปถึงห้องด้านล่าง ข้าพเจ้าแนะนำให้พวกเขายืนเรียงแถวชิดกำแพง ในขณะนั้นคาดว่าทุกคนยังไม่รู้ถึงภัยที่กำลังจะมาถึงตัว อเล็กซานดราตรัสว่า "ขอเก้าอี้หน่อยได้ไหม" ซาร์นิโคลาสยังทรงอุ้มอเล็กเซย์อยู่ที่สะเอว ข้าพเจ้าสั่งให้นำเก้าอี้เข้ามา ๒ ตัว สำหรับอเล็กซานดราและอเล็กเซย์ คนที่เหลือรวมทั้งหมอบอตกิน พ่อครัว นางสนม ยืนอยู่ด้านหลัง เมื่อทุกอย่างเข้าที่ข้าพเจ้าจึงสั่งให้ตำรวจเข้ามา ทันใดนั้นซาร์นิโคลาสก็ปรี่เข้าขวางหน้าพระโอรส ข้าพเจ้าประกาศก้องว่า มีคนทั้งในและนอกประเทศพยายามที่จะลักพาตัวราชวงศ์โรมานอฟ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้สภาโซเวียตลงมติให้ประหารชีวิตพวกท่านเสีย ซาร์ทรงทำหน้าตื่น และทรงอุทานว่า "อะไรกัน?" แล้วหันพระพักตร์ไปหาอเล็กเซย์ ในนาทีนั้น ข้าพเจ้าก็ลั่นไกที่พระองค์ในระยะเกือบเผาขน โดยที่พระองค์ไม่มีเวลาแม้แต่จะหันพระพักตร์มาเอาคำตอบจากข้าพเจ้า"(๒)

        สภาพห้องใต้ดินขนาด ๒๒๐ ลูกบาศก์ฟุตในเวลานั้น เต็มไปด้วยความสับสน เนื่องจากแออัดอยู่ด้วยคนเกือบ ๓๐ ชีวิต และเสียงปืนดังหูดับตับไหม้พร้อมๆ กันของเพชฌฆาต ๑๒ นาย ผู้กราดกระสุนกว่า ๕๐ นัด ห้องสังหารเล็กเกินไปกว่าที่จะคาดคะเนว่าใครยิงใคร หมอกควันปืนหนาทึบตลบอบอวลไปทั่ว พร้อมกับเสียงกรีดร้องจนฟังไม่ได้ศัพท์

        รายละเอียดทางวิทยาศาสตร์เผยว่า หมอกควันจากปืนกว่า ๑๐ กระบอก ทำให้ห้องเล็กๆ ที่มีหลอดไฟติดสว่างอยู่ดวงเดียว บดบังวิสัยทัศน์ของร่างผู้เคราะห์ร้ายจนหมดสิ้น แถมการที่อากาศมีน้อยก็ทำให้หายใจลำบาก แม้แต่ตำรวจเองก็แทบจะทนไม่ไหว ตำรวจ ๓-๔ คน ถึงกับผละออกมาเพราะขาดอากาศหายใจ ๒ คนทำท่าจะสำรอก จากการพิสูจน์รอยกระสุนบนกำแพง ทำให้เชื่อได้ว่า วิถีกระสุนส่วนใหญ่ยิงออกไปในแนวต่ำ บริเวณท่อนล่างของลำตัวคน เพราะสามารถมองเห็นได้มากกว่าท่อนบนซึ่งกลบอยู่ด้วยควันปืน และปืนส่วนใหญ่เล็งไปที่เป้าซึ่งเคลื่อนไหวเท่านั้น

        ความฉุกละหุกและรีบร้อนทำให้สภาพศพไม่ได้รับการชันสูตรแต่อย่างใด ร่างทั้งหมดถูกลากออกไปยังรถบรรทุกที่จอดติดเครื่องรออยู่ และถูกจับโยนขึ้นไปอย่างไม่ปรานีปราศรัย โดยต้องการทำเวลาไม่ให้เกิดผิดสังเกตบนท้องถนนอันเป็นที่สาธารณะ

        แนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้เชื่อต่อไปอีกว่า ควันปืนที่กลบอยู่ทั่วห้องทำให้ยากต่อการมองเป้า ตลอดจนจำนวนผู้เคราะห์ร้ายที่เบียดเสียดกันอยู่ และเครื่องกีดขวางที่หลายคนถือหรือสวมติดตัวอยู่ เช่น หมอนและอัญมณีจำนวนมากที่พรางไว้ใต้เสื้อผ้า มีส่วนทำให้กระสุนพลาดเป้าและบาดแผลไม่ฉกรรจ์นัก บางคนอาจหมดสติไปในตอนแรกเพราะตกใจสุดขีด เหตุผลนี้ทำให้เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ที่ "บางคน" อาจจะยังไม่เสียชีวิตทันที รายงานของนายยูรอฟสกีเองก็ยังสับสน ที่ว่าเมื่อร่างทั้งหมดกองอยู่บนรถแล้ว ร่างของผู้หนึ่ง (ไม่แน่ชัดว่าใคร-ผู้เขียน) ทำท่าเหมือนกับเงยศีรษะขึ้น

        รถบรรทุกเล็กยี่ห้อเฟียต (Fiat) ขับขี่โดยตำรวจชื่อลูคานอฟ (Lyukhanov) นั่งติดคนขับมีตำรวจ ๓ นาย คือ ยูรอฟสกี (Yurovsky) เอมากอฟ (Ermakov) และวากานอฟ (Vaganov) เป็นการยากที่จะคาดเดาว่า มีอะไรเกิดขึ้นด้านหลังรถท่ามกลางคืนเดือนมืดสนิท รถเคลื่อนย้ายร่างผู้เคราะห์ร้ายจากบ้านอิมปาติฟทันทีที่การสังหารยุติลง ประมาณเวลา ๒ ยามเศษ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๑๘ ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมงครึ่ง รถจึงมาถึงเหมืองร้างนอกเมืองที่กำหนดไว้ ที่นั่นตำรวจทั้ง ๓ คน นำร่างทั้งหมดวางลงบนเลื่อนเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังหลุมลึกใกล้ๆ นั้น จากนั้นจึงเปลื้องเสื้อผ้าของทุกคนออกเพื่อเผาทำลายหลักฐาน ณ จุดนั้น ตำรวจพบเครื่องเพชรจำนวนมากซุกซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้า โดยเฉพาะของซารีนาและพระราชธิดาทุกพระองค์ หลังจากนั้นตำรวจจึงโยนร่างผู้เสียชีวิตลงในหลุมมืดเมื่อใกล้สาง มีคำยืนยันจากยูรอฟสกีอีกว่า ร่างทั้งหมด ๑๑ ร่างของผู้เคราะห์ร้ายที่อยู่บนรถตอนแรก แต่มีเพียง ๙ ร่างที่ถูกโยนลงในหลุม หมายความว่ามีจำนวน ๒ ร่างที่อันตรธานหายไประหว่างการเดินทาง! หนึ่งในจำนวนร่างที่หายไปมีมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์(๒)



การหลบหนีความตาย

ของมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์

        หนังสือประวัติศาสตร์รัสเซียหลายเล่มบรรยายเป็นเสียงเดียวกันว่า ประชาชนในระยะนั้นเริ่มหูตาสว่างจากความเชื่ออย่างงมงายว่า พระเจ้าซาร์เป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า แต่สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นความพังพินาศของชาติ และการบริหารประเทศที่ผิดพลาดของพระเจ้าซาร์ โดยเฉพาะการที่พระเจ้าซาร์นำชาวรัสเซียนับล้านคนไปตายที่แนวหน้า

        กองกำลังเฉพาะกาลของรัฐบาลปฏิวัติ ซึ่งโดยมากเป็นลูกชาวนาจากชนบทที่ดูหมิ่นเหยียดหยามราชวงศ์ ครอบครัวของพระเจ้าซาร์จึงได้รับการปฏิบัติอย่างชิงชังในขณะถูกคุมขัง ล้วนเป็นคำให้การที่เย็นชาในสายตาของคนภายนอกทั่วไป แต่สำหรับคนวงในแล้ว เคยมีคนพบลำแสงแห่งความปรานีอยู่บ้าง ในด้านมืดของประวัติศาสตร์ วาสิลี ฟิลาตอฟ เล่าว่า ในจำนวนตำรวจเชกาที่รักษาการณ์อยู่ภายนอกบ้านอิมปาติฟ มีพี่น้อง ๒ คน สกุลสเตรโคติน (Strekotin) ชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander) และอันเดร (Andrei) ที่มักจะแสดงเมตตาจิตต่อครอบครัวของเขาอยู่เสมอ หลักฐานจากบันทึกของอันเดรที่เปิดเผยในปี ค.ศ. ๑๙๒๘ ยืนยันความเป็นมิตรของ ๒ พี่น้องต่อครอบครัวโรมานอฟ แม้มันจะเป็นเพียงแค่ความทรงจำ "ซาร์มักจะกอดรัดพระโอรสด้วยความเอ็นดู และมักจะอุ้มพระองค์ไปรอบๆ บ้าน หรือมิฉะนั้นก็จะวางอเล็กเซย์บนรถเข็นหญ้า เพื่อเข็นพระโอรสไปเก็บก้อนกรวดเล่นทุกวัน ฯลฯ ส่วนพระธิดาองค์โตที่ชื่อออลกานั้นเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัว และไม่ค่อยสุงสิงกับพระสุนิสาองค์อื่นๆ โดยจะใช้เวลาเล่นกับพระอนุชาองค์เล็กมากกว่า"

        จากบันทึกของยูรอฟสกี พี่น้องสเตรโคตินเป็นผู้รับคำสั่งให้ยกร่างผู้เคราะห์ร้ายขึ้นบนรถ ทำให้สันนิษฐานว่า เขาทั้งสองอาจจะสังเกตเห็นว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ทรงยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น

        รายงานของยูรอฟสกีให้รายละเอียดปลีกย่อยระหว่างการเดินทางที่ดูผิวเผินไม่น่าสนใจในตอนแรก แต่ในภายหลังมันสามารถชี้เบาะแสช่องทางการหลบหนีของผู้รอดชีวิตได้ กล่าวคือ การที่หนทางไปเหมืองร้างเต็มไปด้วยหลุมบ่อขนาดใหญ่ เนื่องจากฝนตกหนักทำให้รถติดหล่ม ๒-๓ ครั้ง เป็นเหตุให้ตำรวจต้องจอดรถเพื่อขนย้ายสัมภาระคือร่างผู้เคราะห์ร้ายลง ช่วยให้น้ำหนักรถเบาขึ้น จะได้เข็นรถขึ้นจากหล่มได้ ในระหว่างการขนย้ายอย่างไม่เป็นทางการนี้เอง ที่ผู้บาดเจ็บสามารถเล็ดลอดออกไปได้ โดยที่ไม่มีใครสังเกต จึงสันนิษฐานว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์อาจเป็นผู้หนึ่งที่กลิ้งตัวเข้าไปซ่อนอยู่ข้างทาง และกระเสือกกระสนเอาตัวรอดไปจนถึงสถานีรถไฟชาร์ทาช (Shartash Station) เพื่อขอความช่วยเหลือ

        หลักการนี้ดูน่าเชื่อถือที่สุด ตรงกับรายละเอียดของวาสิลีซึ่งเขาเคยเปิดเผยมันกับครอบครัวของเขาในเดือนกันยายน ๑๙๘๔ ข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมอีกมีอยู่ว่า ระหว่างขนย้ายผู้เคราะห์ร้ายไปยังเหมืองร้าง มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ซึ่งหมดสติอยู่หลังรถพลันตื่นขึ้นจากเม็ดฝนที่โปรยลงบนใบหน้า ท่ามกลางร่างของพ่อแม่พี่น้องที่แน่นิ่งอยู่รอบข้าง เขาสลัดตัวออกจากรถบรรทุก แล้วคลานเข้าไปซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานเล็กๆ เมื่อท้องฟ้าสว่างขึ้นเขาก็คลานต่อไปตามทางรถไฟจนกระทั่งถึงสถานีรถไฟชาร์ทาช พี่น้องตระกูลสเตรโคตินซึ่งรับคำสั่งให้ออกติดตามผู้สูญหายพบเขาอีกครั้งที่นั่น จึงได้นำมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์หลบหนีและไปฝากไว้กับครอบครัวฟิลาตอฟ ที่พวกเขารู้จักในเมืองชาดริงค์ (Shadrinsk) ซึ่งอยู่ถัดออกไป "อเล็กเซย์ โรมานอฟ" ได้รับการเยียวยาจนมีอาการดีขึ้น และได้หลบซ่อนตัวอยู่ที่นั่นต่อมา หัวหน้าครอบครัวผู้มีนามว่าคเซโนฟอนต์ ฟิลาตอฟ (Ksenofont Filatov) เคยมีบุตรชายคนหนึ่งแต่ได้เสียชีวิตไปด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มกุฎราชกุมารอเล็กเซย์จึงได้สวมรอยเด็กคนนั้นอย่างปลอดภัย และได้รับการอุปการะโดยครอบครัวนี้เรื่อยมา(๒)



คำชี้แจงของผู้สันทัดกรณี

        รายละเอียด ๘๐% ที่ใช้ประกอบการเขียนเรื่องนี้รวบรวมขึ้นจากข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้จากหนังสือชื่อ The Escape of Alexei-Son of Tsar Nicholas II เขียนโดยนักค้นคว้าประวัติศาสตร์ชาวรัสเซีย ๓ ท่าน คือ วาดิม เปตรอฟ (Vadim Petrov) อีกอร์ ลีเซนโก (Igor Lysenko) และจอร์จี อีโกรอฟ (Georgy Egorov) โดยได้รับความร่วมมือจากบุตรชายคนโตของวาสิลี คือ โอเล็ก ฟิลาตอฟ (Oleg Filatov) อันเป็นการรวบรวมหลักฐานครั้งใหญ่ที่สุด ซึ่งพิสูจน์ได้ของครอบครัวฟิลาตอฟ เกี่ยวกับราชวงศ์โรมานอฟ และความเชื่อว่าหัวหน้าครอบครัวของพวกเขาคือมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ ผู้สาบสูญ(๒)

        ผู้เขียนเรียบเรียงเหตุการณ์ขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสมกับการตีพิมพ์เป็นบทความที่สามารถจบในเรื่อง ในความเป็นจริงหนังสือที่ใช้อ้างอิงนี้ยังให้ข้อมูลอีกมากด้วยความหนาถึง ๒๔๐ หน้ากระดาษ A4 พรั่งพร้อมด้วยภาพถ่ายนับร้อยรูป ที่สนับสนุนหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ ผู้เขียนทึ่งในวิริยะอุตสาหะของนักค้นคว้ากลุ่มนี้ อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อพิสูจน์ว่าได้มีการค้นพบ "ทฤษฎีหนึ่ง" ที่อธิบายว่ามกุฎราชกุมารอเล็กเซย์มิได้สูญหายไปจากโลกนี้

        ความร้อนแรงของอุณหภูมิในระยะนั้น จนเป็นเหตุให้ครอบครัวฟิลาตอฟ "ของขึ้น" มีที่มาจากการที่รัฐบาลรัสเซียตัดสินใจให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสิ้นสุดของราชบัลลังก์รัสเซียระหว่างช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ประจวบกับการที่วาสิลี ฟิลาตอฟ ถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ. ๑๙๘๘ ทายาทของเขาจึงลุกขึ้นมาเปิดปากพูดเพื่อศักดิ์ศรีของบิดา และเพื่อมนุษยธรรมสำหรับราชวงศ์โรมานอฟ ตรงนี้คือจุดยืนที่น่ายกย่อง การค้นพบฐานข้อมูลใหม่นี้ เป็นบททดสอบของการแสดงอิสรภาพทางความคิด ในยุคที่โลกสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่เคยถูกปกปิดไว้ในมุมมืดของกาลเวลา

        สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือ "ผลสรุป" ทางนิติวิทยาศาสตร์ ภายหลังการทดสอบของผู้เชี่ยวชาญชาวฟินแลนด์และรัสเซีย โดยการตรวจดีเอ็นเอจากเลือดของบุตรและธิดาของวาสิลี ฟิลาตอฟ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๖ แสดงผลว่าพวกเขาเป็นผู้สืบสายโลหิตมาจากราชวงศ์โรมานอฟจริง แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นและเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง คือการที่ครอบครัวฟิลาตอฟร้องขอความเป็นธรรมไปยังศาลโลก ณ กรุงเฮกให้เข้าแทรกแซงในขั้นตอนการพิสูจน์ ในที่สุดรัฐบาลรัสเซียจึงอนุญาตในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ ให้มีการตรวจดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนอวัยวะของนายวาสิลี ฟิลาตอฟ ผู้วายชนม์ จากกระดูก เส้นผม ฟัน และเล็บ ตามระบบนิติเวชวิทยา รวมถึงการคำนวณส่วนประกอบของใบหน้า ตามอายุขัยในวัยต่างๆ ด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผลปรากฏว่า วาสิลี ฟิลาตอฟ คือบุคคลเดียวกันกับมกุฎราชกุมารอเล็กเซย์ โรมานอฟ(๒)

        ปริศนาที่เป็นเรื่องเล่าอย่างสม่ำเสมอในครอบครัวฟิลาตอฟ คือการที่วาสิลีเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ความสามารถพิเศษที่ติดตัวเขามาไม่สามารถปิดบังไว้ได้นาน เช่น ความจัดเจนในการพูดภาษาเยอรมัน กรีก ลโลวานิก ละติน อังกฤษ และฝรั่งเศส อย่างคล่องแคล่ว มีความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พงศาวดารรัสเซีย และการเมืองในยุโรปอย่างกว้างขวาง ดีกว่าคนรัสเซียชนบททั่วไป ตลอดจนความช่ำชองในการเล่นเปียโน และความรอบรู้เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคของสังคมชั้นสูง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้ใกล้ชิดเขาจนตลอดชีวิต เขารู้เรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร?



เอกสารประกอบการค้นคว้า

(๑) สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๑ อักษร A-B, ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ, ๒๕๔๒.

(๒) Petrov, Vadim. The Escape of Alexei-Son of Tsar Nicholas II. Harry N. Abrams, Inc., New York, 1998.

ข้อมูลจาก : หนังสือศิลปวัฒนธรรม วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 27 ฉบับที่ 05

ภาพที่ 6 เป็นภาพเปรียบเทียบ Vasily Filatov mid-1960s and Grand Duchess Olga Alexandrovna (sister of the Tsar) 1959

ภาพที่ 7 เป็นภาพเปรียบเทียบ Vasily Filatov 1939 and Tsarevich Alexei
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
13-08-2007 Views : 9230
หมวด ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก : 18 หัวข้อ   
    13-08-2007
  • พลิกฟื้นคืนชีพ คดีดัง "อเล็กเซย์" โอรสซาร์รัสเซีย "รอดชีวิต" จากการถูกปลงพระ
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















18.97.9.170 = UNITED STATES    Monday 09th December 2024  IP : 18.97.9.170   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com