| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
รัสเซีย เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 | สาเหตุที่รัสเซียจำต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง: ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้ง ที่สองระหว่างปี ค.ศ.๑๙๓๕ - ๑๙๔๐ ฮิตเล่อร์ ขึ้นครองอำนาจอย่างเต็มตัวในเยอรมันและเริ่ม ทำสงครามแผ่อิทธิพลเหนือประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เริ่มด้วยการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย ระดม กำลังพลและอาวุธเพื่อทำสงครามใหญ่ เข้ายึดไรซ์แลนด์ในปี ค.ศ.๑๙๓๖ พร้อมทั้งจัดตั้งแกน โรม-เบอร์ลิน ( Rome-Berlin Axis) ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างเยอรมันและฟาสซิสต์ อิตาลีภายใต้การนำของมุโสลินี เพื่อการทำมหาสงครามในเวลาต่อมา นอกจากนี้ฮิตเล่อร์ยัง รวมออสเตรียเข้ากับเยอรมันในปี ค.ศ.๑๙๓๘ พร้อมทั้งเข้าโจมตียึดแคว้นซูเดเตนของประ เทศเชคโกสโลวะเกียเพื่อนบ้านของรัสเซียภายหลังผนวกออสเตรียได้เพียง ๗ เดือน
ส่วนรัสเซียภายใต้การนำของสตาลินได้เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ จากลิตวินอฟมาเป็นโมโลตอฟ ( Molotov) ส่งผลให้นโยบายการต่างประเทศของโซเวียตรัส เซียเข้มงวดมากกว่าเดิม เมื่อเยอรมันเริ่มรุกรานประเทศรอบข้าง รัสเซียได้จับตามองด้วย ความไม่สบายใจ อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ยังไม่เลวร้ายมากนักเพราะ รัสเซียและเยอรมันได้ตกลงทำสัญญาในการไม่รุกรานซึ่งกันและกันและร่วมมือกันทางพาณิชย์ ที่เรียกว่า กติกาสัญญานาซี-โซเวียต หรืออีกชื่อหนึ่งคือความลงมือร่วมกัน ระหว่างริบบินทรอป - โมโลตอฟ ( Molotov-Ribbentrop Pact) ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๓๙ ณ. กรุงมอส โก
ริบบินทรอป คือ รัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ายเยอรมัน ผู้ลงนามในสัญญาร่วมกับโม โลตอฟ ภายหลังนาซีเยอรมันแพ้สงคราม ริปบินทรอป ถูกพิพากษาประหารชีวิตด้วยข้อหา อาชญากรสงครามในปี ค.ศ.๑๙๔๕
หลังจากเซ็นสัญญากับรัสเซียเพียง ๗ วัน ในวันที่ ๑ กันยายน ค.ศ.๑๙๓๙ เยอรมัน จุดชนวนสงครามโลก ด้วยการโจมตีโปแลนด์ เพื่อนบ้านของรัสเซีย แบบสายฟ้าแลบ แต่ถึง กระนั้น ด้วยคำสัญญาที่ฮิตเล่อร์ให้ไว้ทำให้สตาลินเบาใจว่ารัสเซียจะไม่ถูกเยอรมันรุกรานต่อ จากโปแลนด์ พร้อมกันนี้รัสเซียยังถือโอกาสบุกโปแลนด์ตะวันออก ในอีก ๑๗ วันต่อมา โดย อ้าง ว่าเป็นการป้องกันพรมแดนของตนเอง ตามสัญญาในการไม่รุกรานซึ่งกัน ( Molotov-Ribbentrop Pact) ที่ทำไว้กับเยอรมัน
แต่แล้วในปลายปี ค.ศ.๑๙๔๐ สถานการณ์ผลิกผันเมื่อโมโลตอฟ เยือนกรุงเบอร์ ลิน ฮิตเล่อร์ชักชวนรัสเซียเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ สตาลินเรียกร้องผลประโยชน์ที่รัสเซีย จะได้รับหากชนะสงครามประกอบด้วยดินแดนต่าง ๆ มากมายทำให้ฮิตเล่อร์ระแวงและไม่ไว้ ใจ รัสเซียอีกต่อไป ผลก็คือ กองทัพเยอรมันบุกโจมตีรัสเซียผ่านพรมแดนโรมาเนีย โปแลนด์ และฟินแลนด์ โดยไม่แจ้งเตือนล่วงหน้า ในยุทธการบาบารอสซ่า ( Barbarossa Operation) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๑ โดยหวังจะใช้ประโยชน์จาก ดินแดนรัสเซียเป็นแหล่งผลิต อาหารและใช้แรงงานชาวรัสเซียแบบทาส
เหตุที่ฮิตเล่อร์ไม่ไว้ใจรัสเซียอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะผู้นำหนวดจิ๋มซึ่งไม่เคย ญาติดีกับใครผู้นี้หวาดระแวงจงชังโซเวียตรัสเซียอยู่ตลอดเวลาฮิตเล่อร์เคยประกาศว่าเยอรมัน แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพราะโดนหักหลัง และผู้ทรยศแทงข้างหลังเยอรมันนั้นมีชนชาติยิว และคอมมิวนิสต์รวมอยู่ด้วย ส่วนสาเหตุที่สตาลินเรียกร้องส่วนแบ่งจากฮิตเล่อร์มากมายทั้ง ๆ ที่ในช่วงนั้นชาติยุโรปต่างๆ ต่างพากันสงบเสงี่ยมเจียมตนเอาใจท่านหนวดจิ๋มไม่ให้เกิด อารมณ์เสียขึ้นมาแล้วจะพาลพาโลบุกประเทศตนเอาดื้อ ๆ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็น เพราะรัสเซียนั้น ทนงตนว่าเป็นชาติมหาอำนาจมาก่อน จึงต้องการสื่อให้เยอรมันเห็นว่ากองทัพ แดงนั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าเยอรมัน ทั้งในด้านแสนยานุภาพทางทหารและยุทธวิธี การรบหากประสบชัยชนะก็ควรได้รับรางวัลชิ้นโตแต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับตรงกับข้ามผู้นำหนวดจิ๋ม จึงพาลพาโลบุกโจมตีรัสเซียชนิดให้ไม่ทันตั้งตัว เช่นเดียวกับที่โปแลนด์ประสบมาก่อน หน้านี้
โมโลตอฟถึงกับอุทานออกมาเมื่อทราบข่าวการบุกของเยอรมันว่า... " เราสมควร จะได้รับสิ่งนี้เป็นการตอบแทนหรือ ???!!! "โครงสร้างกำลังรบของกองทัพเรือรัสเซียในช่วง สงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อโซเวียตรัสเซียประกาศสงครามกับฝ่ายอักษะ และเข้าสู่สงครามโลก ครั้งที่สองในปี ค.ศ.๑๙๔๑ ในช่วงต้น สงคราม กองเรือดำน้ำอยู่ในสภาพพร้อมรบอย่างสูงอัน เป็น ผลมาจากการพัฒนากองทัพขนานใหญ่ก่อนหน้า ดังที่กล่าวมาแล้ว รัสเซียมีเรือดำน้ำ ประ จำการ ๒๑๒ ลำ ซึ่งล้วนทันสมัยในทางรูปลักษณ์การออกแบบและกำลังพลประจำเรือซึ่งได้รับ การฝึกฝนมาอย่างดีทั้งในด้านการรบและความอดทน ส่งผลให้กองเรือดำน้ำรัสเซียเป็นกำลังรบหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับ ศัตรู ข้อมูลจากหนังสือนาวิกศาสตร์ของกองทัพเรือ ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๙ ซึ่งเป็น เวลาที่กำลังเกิดการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่สอง มีบทความวิเคราะห์สถานการณ์การรบและ กำลังทางเรือของฝ่ายอักษะและสัมพันธมิตร ที่น่าสนใจหลายบทความ เช่น กำลังทางเรือของ นาซีเยอรมัน-อิตาลี การรบใต้มหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกา เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสด ในยุคนั้น หนึ่งในข้อมูลการรบที่น่าสนใจ คือบทความวิเคราะห์สถานการณ์การรบทางเรือของ รัสเซีย ชื่อบทความ " ทัพเรือสตาลินถูกปิดอ่าวอยู่ในทะเลบอลติก " โดย นาวาโท สงวน อิศรางกูร ณ อยุธยา หนังสือนาวิกศาสตร์ เล่ม ๑ ปีที่ ๒๕ ซึ่งช่วงที่บทความนี้ลงตีพิมพ์เป็นช่วง ที่สงครามกำลังดำเนินอยู่ยังไม่ยุติ
การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น หากได้ค้นคว้าจากบันทึกที่อยู่ร่วมยุคสมัยกับเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์นั้น หรือบันทึกย้อนหลังเมื่อผ่านช่วงเหตุการณ์นั้นมาไม่นานนัก และเป็นแหล่งข้อ มูลที่น่าเชื่อถือก็จะทำให้ข้อมูลที่ได้รับถูกต้องแม่นยำท่าน นาวาโท สงวน อิศรางกูร ณ อยุธยา ระบุว่า กองทัพเรือรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มี ๓ ทัพเรือ ซึ่งปฏิบัติงานอย่างอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้
๑. ทัพเรือทะเลบอลติก มีฐานทัพเรืออยู่ที่ครอนสตัด ซึ่งในขณะนั้นทางออกทะเล บอลติกผ่านช่องเบลทูแคตเตแกต และสกาเกอรูแรค ถูกกองกำลังนาซีเยอรมัน ปิดล้อมอยู่ โดยนาซีเยอรมันวางทุ่นระเบิด และใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด ปิดกั้นการออกทะเลของกองเรือ รัสเซีย ผู้บัญชาการทัพเรือทะเลบอลติก คือ พลเรือโท ทริบูทส์ มีเรือในบังคับบัญชา คือ เรือ สงครามมาราทซึ่งมีชื่อเสียงเคยเข้าร่วมพิธีสวนสนามทางเรือที่สปิตเฮด เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด แห่งอังกฤษทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ.๑๙๓๗
พลเรือโท ทริบูทส์ นับเป็นผู้บัญชาการทัพเรือโซเวียตรัสเซียที่มีอายุน้อยที่สุดใน ขณะนั้น คือ มีอายุเพียง ๔๑ ปี
นอกจากนี้ ทัพเรือบอลติกยังมีเรือสำคัญประจำการอีกหลายลำ เช่น เรือสงคราม ออคเทียบรสคายา - รีโวรูเทีย เรือมาคซินโกรคี และเรือลาดตระเวนหนัก ชั้นคิรอฟ อีกหลายลำ
๒. ทัพเรือในทะเลดำ มีฐานทัพเรืออยู่ที่โสบัสโตพอล ผู้บัญชาการทัพเรือทะเล บอลติกคือ พลเรือโท ออคเทียบรสคีย มีเรือในบังคับบัญชา คือ เรือ สงครามพาริสคายา - คอม มูนา เรือลาดตระเวน ๑ หรือ ๒ ลำ เรือคราสนี - คาฟคาซ ติดปืน ๗.๑ นิ้ว นอกจากนี้ยังมีเรือ พิฆาตตอร์ปิโด เรือดำน้ำ ประจำการด้วย
การรบฝั่งทะเลดำ ประสบความสำเร็จพอสมควร ในช่วงนั้น โดยเรือตอร์ปิโดและ เรือลาดตระเวนของรัสเซีย ได้ระดมยิง เมืองคอนสแตนซา ประเทศโรมาเนียซึ่งเป็นเมืองคลัง น้ำมันสำคัญ ภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมัน ได้เป็นผลสำเร็จ
๓. ทัพเรือในตะวันออกไกล มีฐานทัพเรืออยู่ที่ วลาติวอสตอคหน้าที่หลักของทัพ เรือ นี้ คือ สกัดกั้นการบุกของญี่ปุ่นทางตะวันออก เรือที่ประจำการที่นี่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เรือดำน้ำ ซึ่งมีจำนวนถึง ๓๐ ลำ เรือตอร์ปิโดยนต์อีก ๕๐ ลำ และเรือรักษาฝั่ง
นอกจากนี้รัสเซียยังมีกองเรือเล็กอีกสองกอง กองเรือแรกประจำการในทะเลแคส เปียน ประกอบด้วยเรือเบาขนาดย่อมจำนวนมาก กองเรือที่สองอยู่ในทะเลขาว มีเรือพิฆาต ตอร์ปิโด เรือดำน้ำ เรือปืนและเรือรักษาฝั่งจำนวนไม่มาก ประจำการอยู่ปัญหาของกองทัพเรือ รัสเซียที่ นาวาโท สงวน วิเคราะห์ไว้ คือการที่ทัพเรือรัสเซียแต่ละทัพทำงานแยกเป็นอิสระจาก กัน ไม่สามารถส่งกำลังสนับสนุนกันได้ เหมือนทัพเรือมหาอำนาจอื่น ๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของทะเลแต่ละด้านที่เดินทางไปถึงกันได้ยากลำบาก เช่นทาง ออกทะเลบอลติกใกล้เยอรมันถูกปิดอ่าวได้ง่าย ทางฝั่งทะเลแคสเปียน ติดประเทศตุรกีซึ่งเป็น รัฐกลาง ไม่ยินยอมให้เรือของรัสเซียผ่านทางช่องแคบบอสฟอรัสและดาร์คาเนลส์ ส่วนเส้นทาง เดินเรือทางเหนือจากทะเลขาว ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ก็ต้องผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งเส้น ทางเดินเรือถูกปิดกั้นด้วยก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ดังนั้น หากกองทัพหนึ่งเกิดการเสียเปรียบในการรบหรือถูกรุกราน จึงยากที่กำลัง จากส่วนอื่นจะเดินทางไปช่วยเหลือได้ทัน นอกจากนี้ทัพเรือทะเลบอลติกและทะเลดำ มีข้อด้อย จากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่อาจถูกปิดอ่าวได้ง่าย อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้เปรียบตรงที่มีเรือ ตอร์ปิโดและเรือดำน้ำประจำการเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรือเหล่านี้ออกปฏิบัติการขัดขวางเส้นทาง คมนาคมทางทะเลของนาซีเยอรมันได้ผลดี นอกจากนี้เรือพิฆาตตอร์ปิโด เรือเบาขนาดเล็ก และเรือดำน้ำยังมีช่องทางเล็ดลอดจากการปิดอ่าวของนาซีเยอรมันในทะเลบอลติก โดยหลบ เข้าทางคลองสตาลิน ซึ่งติดต่อก้นอ่าวฟินแลนด์กับทะเลขาว
ยุทธวิธีที่กองทัพเรือรัสเซียนิยมใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง อีกอย่างหนึ่งคือ การ วางทุ่นระเบิด รัสเซียเป็นประเทศที่ชอบดำเนินสงครามทางเรือด้วยทุ่นระเบิดก่อนทำอย่างอื่น และมีเรือรบที่สามารถใช้วางทุ่นระเบิดได้จำนวนมาก ซึ่งประกอบด้วย เรือพิฆาตตอร์ปิโด เรือ ลาดตระเวนและเรือดำน้ำโดยสรุปกำลังทางเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในขณะนั้นประกอบด้วย เรือรบหลายประเภท ดังนี้
๑. เรือบรรทุกอากาศยาน จำนวน ๑ ลำ และกำลังสร้างเพิ่มเติมอีก ๒ ลำ
๒. เรือสงคราม จำนวน ๓ ลำ มีอายุมากพอสมควรคือ สร้างตั้งแต่ช่วงสงครามโลก ครั้งที่หนึ่ง ปี ค.ศ. ๑๙๑๔ - ๑๙๑๘ แต่ก็ได้มีการปรับปรุงใหม่ เมื่อปีค.ศ.๑๙๒๖- ๑๙๒๘ โดย ติดปืนขนาด ๑๒ นิ้ว จำนวน ๑๒ กระบอก แต่ขนาดเรือเล็กมากเมื่อเทียบกับเรือสงครามของ ฝ่ายอักษะคือมีระวางขับน้ำเพียง ๒๓ , ๐๐๐ ตัน ในเวลานั้นรัสเซียจึงทำการต่อเรือ สงครามติด ปืนขนาด ๑๖ นิ้ว ระวางขับน้ำ ๓๕ , ๐๐๐ ตัน เพิ่มอีก ๓ ลำ
๓. เรือลาดตระเวน ติดปืนขนาด ๗.๑ นิ้ว จำนวน ๕ ลำ และติดปืนขนาด ๕.๑ นิ้ว จำนวน ๒ ลำ รวม ๗ ลำ ทุกลำมีความเร็วเรือสูงและมีอาวุธดี นอกจากนี้กำลังมีการต่อเรือ ลาด ตระเวน ติดปืนขนาด ๗.๑ นิ้ว เพิ่มเติมอีก ๒ ลำ
๔. เรือพิฆาตตอร์ปิโด มีจำนวนประมาณ ๗๐ ลำ โดย ๕๐ ลำในนั้น เป็นเรือทัน สมัย ความเร็วเรือสูงถึง ๓๕ - ๓๙ นอต เรือพิฆาตตอร์ปิโดเกือบทั้งหมดถูกออกแบบให้ สามารถวางทุ่นระเบิดได้ด้วย สามารถบรรทุกทุ่นระเบิดได้ประมาณ ๕๐ - ๘๐ ลูกต่อลำใช้ ปฏิบัติการสงครามทุ่นระเบิด ขัดขวางการลำเลียงยุทโธปกรณ์ของนาซีเยอรมันในทะเลบอลติก
๕. เรือตอร์ปิโดเดินทะเลลึก จำนวน ๓๐ ลำ
๖. เรือดำน้ำ มีเป็นจำนวนมากถึง ๑๗๐ ลำในขณะนั้น
๗. เรือระเบิดน้ำแข็ง จำนวน ๒๕ ลำ เรือเหล่านี้เป็นเรือใหญ่และมีอำนาจมาก เพราะติดปืนเรือด้วย จึงสามารถทำการรบได้ด้วย ครึ่งหนึ่งเป็นเรือสร้างใหม่ มีความทันสมัย เรือระเบิดน้ำแข็งของกองทัพเรือ ที่ติดปืนเรือ อาจเข้าข่ายเป็นเรือลาดตระเวนรักษาฝั่งได้ด้วย เรือประเภทนี้เป็นกำลังสำคัญของทัพเรือบอลติกและทะเลดำใช้ระเบิดน้ำแข็งที่ปกคลุมปิดเส้น ทางเดินเรือในทะเลช่วงฤดูหนาว
๘. เรือวางทุ่นระเบิดและกวาดทุ่นระเบิด
๙. เรือรักษาฝั่ง แบบทันสมัย
นอกจากนี้ ในช่วงสงคราม กองทัพเรือรัสเซียยังดำเนินการต่อเรือพิฆาตตอร์ปิโด เรือดำน้ำ และเรือเบา เพิ่มอีกเป็นจำนวนมากชื่อเรียกประเภทเรือรบในข้อความข้างต้น เป็น ชื่อที่ใช้ในช่วง ๕๐ - ๖๐ ปีก่อน บางคำนั้น หลายท่านที่สนใจในเรื่องเรือรบอาจจะไม่คุ้นชื่อ เช่น เรือระเบิดน้ำแข็ง ปัจจุบันเรียกว่า เรือตัดน้ำแข็งโดย กำหนดชื่อเรือนี้ ในภาษาอังกฤษว่า ice breaker อักษรย่อ AGB เป็นเรือที่ออกแบบพิเศษให้หัวเรือมีรูปทรงเหมือนช้อน มีใบจักรอยู่ ในโกร่ง ใช้เครื่องจักรกำลังสูง เพื่อให้ทำงานในทะเลที่หนาวจัดจนกลายเป็นน้ำแข็งได้ ส่วน เรือตอร์ปิโด ( Torpedo boat) ปัจจุบันไม่มีใช้แล้ว โดยพัฒนามาเป็นเรือพิฆาต ซึ่งทรงอาน ุภาพกว่าเรือตอร์ปิโดต้นแบบมากมาย ส่วนเรือประจัญบาน ( Battle ship)ซึ่งจัดเป็นราชาแห่ง ยุทธนาวีสำคัญ ๆ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้หมดบทบาทไปตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเช่น กัน เรือประจัญบานลำสุดท้ายของโลก คือ เรือรบชั้นไอโอว่า ของสหรัฐอเมริกาได้ปลดระวาง ไปในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐ จนหมดสิ้น โดยนวัตรกรรมทางเรือใหม่ที่ก้าวเข้ามาแทนที่คือเรือ รบพลังงานนิวเคลียร์และอาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ ซึ่งมีความเร็วและอานุภาพการทำลายสูงกว่า ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง
ขนบธรรมเนียมประเพณีใหม่ในหมู่นักเรือดำน้ำรัสเซีย ในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่สอง ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่เรือดำน้ำรัสเซีย ออกปฏิบัติการโจมตีเหล่าศัตรูด้วย การรัวกระสุนปืนเรือ วางทุ่นระเบิด หรือยิงตอร์ปิโดเข้าใส่เรือศัตรู ความสำเร็จของพวกเขาวัด ได้จาก จำนวนเรือฝ่ายศัตรูที่ระเบิดลุกไหม้ไปทั่วท้องน้ำ และบนบก ริมฝั่งทะเลนั่นเอง... ลูก เรือที่รอคอยความสำเร็จของเพื่อน กำลังเตรียมการปรุงอาหารเย็นต้อนรับ ซึ่งประกอบด้วย Zazharennykh หรือเนื้อลูกหมูจำนวนมาก ใช่แล้วประเพณีทหารเรือใหม่กำลังถือกำเนิดขึ้น
นับเป็นการพลิกโฉมหน้าใหม่ในประวัติศาสตร์การทัพเรือรัสเซีย ที่กองเรือดำน้ำ ได้รับเกียรติ และความเชื่อถือจากนายทหารระดับสูงของกองทัพ นายพลเรือ Nikolai Gerasimovicha Kuznetsov ได้ประกาศให้มีการมอบเข็มเหน็บ ( badge) ประจำตำแหน่ง ผู้บังคับการเรือดำน้ำตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฏาคม ปี ค.ศ.๑๙๔๒ เป็นต้นไป
ตามด้วยการประกาศมอบเข็มเหน็บพิเศษ ( special badge) ให้กับเจ้าหน้าที่ ของกองเรือดำน้ำทุกนาย โดยกระทรวงทหารเรือเป็นผู้มอบเข็มเหน็บเหล่านี้ถูกออกแบบใหม่ ทรงคุณค่าด้วยรูปลักษณ์ ที่งามสง่า เข็มเหน็บสำหรับผู้บังคับการเรือดำน้ำทำด้วยเงินประดับ ดาวทับทิมแดง ใช้ติดเหนือกระเป๋าเสื้อขวา ของเครื่องแบบทหารแบบทูนิก ( tunic) เมื่อเทียบ กับเหรียญตราต่าง ๆ ของเหล่าผู้บังคับการเรือดำน้ำนาซีเยอรมันแล้ว เข็มเหน็บประจำตำ แหน่งของโซเวียตรัสเซีย มีความโดดเด่นยิ่งกว่า (สองประเทศนี้ชอบเกทับ บรัฟแหลกใส่กัน - ผู้เขียน) เพราะเป็นเครื่อง หมาย แสดงความเป็นมืออาชีพที่แตกต่าง ความสามารถอย่างสูง สุดในการเดินเรือและการรบ ( highest military seamanship) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดง ถึง ความภาคภูมิใจที่ชาติมีให้ เป็นพิเศษต่อพวกเขาและความไว้ วางใจที่ประชาชนในชาติ มอบให้กับนักเรือดำน้ำเหล่านี้
นอกจากเหล่าเรือดำน้ำรัสเซียจะออกปฏิบัติการล่าทำลายเรือรบและเรือขนส่งของ
ศัตรูด้วยปืนเรือและตอร์ปิโด เรือเหล่านี้ยังวางทุ่นระเบิดขัดขวางเส้นทาง สัญจรในเขตน่านน้ำ ของศัตรูลาดตระเวนสอดแนม ( Reconnaissance) ขนส่งนักประดาน้ำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เรือดำน้ำโซเวียตรัสเซียออก ปฏิบัติการทางทหารได้สมบูรณ์ครบทุกด้านแม้ในสภาวะที่ยาก ลำบากลูกเรือดำน้ำได้แสดงออกถึงสปิริตของทหารกล้า ที่ยึดถือในหลักปฏิบัติ รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายยิ่งชีพของตนเอง ปิตุภูมิรัสเซียยกย่องสรรเสริญเหล่านักเรือดำน้ำผู้ เปี่ยมไปด้วยความสามารถในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นอย่างยิ่งเรือดำน้ำที่ร่วมรบในสงคราม จำนวน ๒๓ ลำ จากทั้งหมดได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ Red Banner นอกจากนี้ ๑๒ ลำในนั้น ได้รับตำแหน่ง Guard ซึ่งเป็นตำแหน่งเกียรติยศ มีความหมายเทียบเคียงตำแหน่ง " กอง กำลังรักษาพระองค์" ในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นจึงอาจแปลชื่อตำแหน่ง Guard นี้ในภาษาไทยได้ว่า "กองเรือดำน้ำพิทักษ์สหภาพโซเวียต "
เรือดำน้ำจำนวน ๔ ลำ จากกองเรือ Northern Fleet อันได้แก่ เรือ D3 ( ชั้น Decembrist) เรือ S56 ( ชั้น S) เรือ ๕ - ๔๐๒ (ไทป์ V) และ เรือ M171 ( ชั้น M) ถูกแต่ง ตั้งเป็น Guard พร้อมรับรางวัลเชิดชูเกียรติ Red Banner นักเรือดำน้ำกว่าพันนายได้รับการ สดุดีและประดับเครื่องยศอันทรงเกียรติของชาติ และยี่สิบนายที่แสดงความกล้าหาญ เสียสละ อย่างสูงสุดและมีความสามารถในการรบอย่างโดดเด่น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวีรบุรุษแห่งโซ เวียตรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ.๑๙๘๗ สี่สิบสองปีภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุติลง โดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหภาพโซเวียต มีการเปลี่ยนแปลง ชื่อเรียกตำแหน่งผู้บังคับการเรือดำน้ำจากเดิมเป็นคำใหม่ ที่สื่อถึงความสำคัญและเกียรติ ใน อาชีพมากยิ่งกว่าเดิม ซึ่งชื่อนี้มอบให้เฉพาะกับผู้บังคับการ เรือดำน้ำที่ร่วมรบในสงครามโลก ครั้งที่สอง และมีการมอบตำแหน่งพิเศษสำหรับผู้การเรือดำน้ำที่สามารถจมเรือฝ่ายศัตรูได้เป็น กรณีพิเศษแยกออกไป ในส่วนของเรือดำน้ำรัสเซียที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากวีรกรรมการ รบได้ถูกจัดทำเป็นอนุสาวรีย์ภายหลังสงครามสิ้นสุดหลายลำ
นอกจากนี้นักรบทางเรือที่แสดง ออกถึงความกล้าหาญเสียสละอย่างสูงสุดและมีความสามารถในการรบอย่างโดดเด่นจะได้รับการเชิดชูให้เป็นวีรบุรุษของชาติ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แม้รัสเซียจะมีบุญคุณเกื้อหนุนกันมากับสหรัฐ อเมริกาและ อังกฤษที่ได้ร่วมรบฝ่าฟันมาด้วยกันจนประสบชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะ แต่ด้วย ความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสตร์ไปทั่วโลกของรัสเซียทำให้เกิด สงครามเย็น ระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่ ปี ค.ศ.๑๙๔๕ เป็นต้น มา เริ่มจากการที่โซเวียตรัสเซียเข้ามาควบคุมการแบ่งเบอร์ลิน และเข้าควบคุมประเทศใน ยุโรปตะวันออก แทน นาซีเยอรมัน ตามมาด้วยการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสตร์ในจีน ก่อให้เกิด การปฏิวัติทางการเมืองของจีนไปสู่การปกครองในระบบคอมมิวนิสต์โดย เหมาเจ๋อตุง สงคราม เย็นสิ้นสุดลงในสมัยประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ เรือดำน้ำรัสเซียและอเมริกาในช่วงสงครามเย็น เกิดการแข่งขันกันในการสร้างอาวุธประจำเรือที่ร้ายแรง และมีบทบาทอย่างมากในการกดดัน และควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเมืองและการทหารของฝ่ายตรงข้ามซึ่งจะได้นำมากล่าวไว้ในบทความเรือดำน้ำรัสเซียในยุคสงครามเย็นต่อไป
เอกสารอ้างอิง
เว็บไซต์
History of Russian Navy : http://www.navy.ru
History of Russian Submarine : http://www.submarine.id.ru
Encyclopedia of Russian Submarine Fleet: http://www.deepstorm.ru
หนังสือ
Robert Kirchubel, Operation Barbarossa 1941 Book 1: Army Group South. United Kingdom : Osprey Publishing, 2003.
Robert Kirchubel, Operation Barbarossa 1941 Book 2: Army Group North. United Kingdom : Osprey Publishing, 2005.
Robert Forczyk, Moscow 1941: Hitley žs First Defeat . United Kingdom : Osprey Publishing, 2006.
ผุสดี จันทวิมล (รศ.) , ประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียต ( History of the Soviet Union ). พิมพ์ครั้งที่ ๒ , พระนคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง , ๒๕๔๖.
สงวน อิศรางกูร ณ. อยุธยา , นาย นาวาโท หนังสือนาวิกศาสตร์ เล่ม ๑ ปีที่ ๒๕. กองทัพเรือ
สุปราณี มุขวิชิต , ประวัติศาสตร์ศาสตร์ยุโรป เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒ , พระนคร : สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์ , ๒๕๔๐. |
|