การรบแห่งมุกเดน (ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น)
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 







เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
การรบแห่งมุกเดน (ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น)
หนึ่งในการรบทางบกครั้งใหญ่ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือการรบแห่งมุกเดน (อังกฤษ=Battle of Mukden ญี่ปุ่น=奉天会戦 อ่านว่า โฮเท็น ไคเซน/Hōten kaisen) เป็นการรบทางบกขนาดใหญ่ครั้งสุดท้าย ในสงครามรัสเซียญี่ปุ่น การรบเริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์จนสิ้นลงในวันที่ 10 มีนาคม ปี1905 ระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นกับรัสเซีย ใกล้กับมุกเดนในแมนจูเรีย ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่าเมืองเสิ่นหยาง (Shenyang) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเหลียวหนิง ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

กองกำลังของฝ่ายรัสเซียประกอบไปด้วยทหารเป็นจำนวนมากกว่า 276,000คน ภายใต้การนำของ นายพล อเล็กเซ นิโคเลวิช คูโรแพทคิน (Alexei Nikolajevich Kuropatkin) ส่วนกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีทหารจำนวนใกล้เคียงกันคือ 270,000คน ภายใต้การนำของ จอมพลองค์ชาย โอยาม่า อิวาโอ (Field-Marshal Prince Oyama Iwao)

หลังจากการรบที่เลี่ยวหยาง (Battle of Liaoyang) ซึ่งดำเนินเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม - 4 กันยายน ปี1904 ฝ่ายรัสเซียก็ได้ถอยข้ามแม่น้ำชา โฮ (Sha Ho) ทางตอนใต้ของมุกเดน และเร่งรีบระดมกำลังกัน ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ถึง 17 ตุลาคม ระหว่างการรบแห่งชาโฮ (Battle of Shaho) การโจมตีตอบโต้ของรัสเซียประสบกับความล้มเหลว แต่ก็สามารถหยุดการรุกคืบหน้า ของฝ่ายญี่ปุ่นไว้ได้ชั่วขณะหนึ่ง

การตีโต้ครั้งที่สองของฝ่ายรัสเซีย กระทำระหว่างการรบแห่งซาเตอะผู่ (Battle of Sandepu) ตั้งแต่วันที่ 25-29 มกราคม 1905 แต่ก็ประสบความล้มเหลวเข่นเดียวกัน หลังจากปอร์ตอาเธอร์ถูกตีแตกแล้ว นายพลโนกิ (General Nogi) จึงได้ส่งกองทัพที่ 3 (3rd Army) ขึ้นเหนือเพื่อสนับสนุน กองกำลังญี่ปุ่นที่ประจำแนวหน้าใกล้กับมุกเดน เพื่อเตรียมการบุกโจมตี

เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1905 กองทัพที่ 3 ของนายพลโนกิก็มาถึงแนวหน้ามุกเดน กองกำลังของญี่ปุ่นก็มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก เพิ่มแรงกดดันให้กับมุกเดนอย่างมาก การสูญเสียทหารจำนวนมาก,สภาพอากาศที่โหดร้าย และการที่กองเรือภาคพื้นบอลติคของรัสเซียกำลังเดินทางมา ล้วนแต่กดดันให้ โอยาม่าต้องเร่งทำลายกองทัพรัสเซียให้สิ้นซาก มากกว่าที่จะได้รับชัยชนะโดยปล่อยให้รัสเซียถอยเข้าไปในแมนจูเรีย

การวางแผน
แนวตั้งรับของฝ่ายรัสเซียทางตอนใต้ของมุกเดน มีความยาวกว่า 90ไมล์ (140กิโลเมตร) เป็นแนวลึกไม่มากนัก ตอนกลางมีกองหนุน ส่วนทางปีกขวาเป็นพื้นที่ราบ แนวตั้งรับป้องกันโดยกองทัพแมนจูเรี่ยนที่ 2 (Second Manchurian Army) ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล บารอน ฟอน เคาบาร์ (General Baron von Kaulbars) ผู้ซึ่งมารับตำแหน่งแทนนายพล ออสการ์ เฟอร์ดินานด์ คาซิมีร์โรวิช (General Oskar-Ferdinand Kazimirovich Grippenberg) ทางตอนกลางของแนว รางรถไฟและถนนป้องกันโดย กองทัพแมนจูเรี่ยนที่ 3 (Third Manchurian Army) นำโดยนายพลไบเดอร์ริงก์ (General Bildering) ส่วนเนินด้านปีกทางตะวันออก ป้องกันโดยกองทัพแมนจูเรี่ยนที่ 1 (First Manchurian Army) ภายใต้การนำของ นายพลนิโคไล ลิเนวิช (Nikolai Linevich) ปีกทางด้านนี้ยังได้รับกำลังสนับสนุนจากทหารม้า 2-3กอง ของนายพล เพา ฟอน เรนเนนคัฟ (Paul von Rennenkampf) นายพลคูโรแพทคินได้จัดวางกำลังของเขาอย่างดี สำหรับทำการตั้งรับโดยเฉพาะ โดยไม่มีการเปิดช่องว่างใดๆไว้เลย

ทางฝ่ายรุกคือญี่ปุ่นนั้น กองทัพที่1 (1st Army) ของนายพลคุโรกิ (General Kuroki) และกองทัพที่4 (4th Army) ของนายพลโนะสุ (General Nozu) จะมุ่งหน้าไปทางตะวันออกตามทางรถไฟ ส่วนกองทัพที่2 (2nd Army) ของนายพลโอกุ (General Oku) จะมุ่งหน้าไปทางตะวันตก โดยมีกองทัพที่สามของนายพลโนกิ เคลื่อนทัพตามหลังไปอย่างปิดบัง จนกว่าจะถึงสนามรบ ได้มีการจัดทัพใหม่เป็นกองทัพที่ 5 (5th Army) ของนายพล คาวามูระ คาเกอิ (General Kawamura Kageaki) เป็นทัพหลักตีปีกทางตะวันออกของรัสเซีย กองทัพที่5 เป็นกองกำลังที่แข็งแกร่ง ประกอบไปด้วยหทารกว่า 11กองพล จากปอร์ตอาเธอร์ และทหารกองหนุน

นายพลคูโรแพทคินเชื่อว่าการโจมตีหลักของญี่ปุ่น จะกระทำจากภูเขาทางด้านตะวันออก เพราะจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการโจมตี ซึ่งการปรากฏตัวของทหารญี่ปุ่นที่เคยประจำในกองทัพที่3 แห่งกองพลที่11 ช่วยสนับสนุนความเชื่อของเขา

จอมพลโอยาม่าวางแผนไว้ว่า จะใช้5กองทัพทำการล้อมกรอบมุกเดน เพื่อตัดเส้นทางที่อาจจะทำให้ทหารรัสเซียหลบหนีไปได้ เขาได้กำชับในคำสั่งที่ให้หลีกเลี่ยงการต่อสู้ในเมืองมุกเดน ตลอดสงครามครั้งนี้ญี่ปุ่นมีนโยบาย ที่จะหลีกเลี่ยงการทำให้พลเรือนจีนได้รับความสูญเสีย ซึ่งแตกต่างไปจากก่อนหน้านี้คือระหว่าง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) และหลังจากนี้คือ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ( Second Sino-Japanese War) เป็นอย่างมาก

การรบ การรบเปิดฉากขึ้นเมื่อกองทัพที่ 5 ของญี่ปุ่น ทำการโจมตีทางด้านปีกซ้ายของฝ่ายรัสเซีย ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พอถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ กองทัพที่ 4 ของญี่ปุ่นก็เปิดฉากโจมตีทางปีกขวา ส่วนกองทัพอื่นๆของญี่ปุ่น เข้าโจมตีแนวป้องกันของรัสเซียด้านหน้า ในวันเดียวกันกองทัพที่ 3 ของญี่ปุ่น ได้มุ่งหน้าตีวงล้อมทางตะวันตกเฉียงเหนือของมุกเดน

ในวันที่ 1 มีนาคม การรบกระทำกันทางตะวันออก และแนวหน้าตอนกลางเป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายญี่ปุ่นพยายามรุกด้วยกำลังไปทีละน้อย แต่ก็ต้องได้รับการต้านทานอย่างรุนแรงจากฝ่ายรัสเซีย จนสูญเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งในวันที่ 7 มีนาคม นายพลคูโรแพทคินได้ตัดสินใจ ย้ายกองกำลังจากด้านตะวันออก มาตีโต้กองทัพที่ 3 และมุ่งหน้าสู่แนวรบด้านตะวันตก เพราะเขาเป็นกังวัลในการรุกของนายพลโนกิ นายพลคูโรแพทคินได้ตัดสินใจนำกองทัพบุกโจมตีด้วยตนเอง แต่เนื่องจากกองทัพรัสเซียทางด้านตะวันออกและตะวันตก ไม่ได้ประสานการโจมตีพร้อมกัน กองทัพแมนจูเรี่ยนที่ 1 และ 3 ต่างกระจัดกระจายและอยู่ในความยุ่งเหยิงไร้ระเบียบ จึงสบโอกาสให้จอมพลโอยาม่า ซึ่งรออยู่แล้วออกคำสั่งโจมตี และกลายเป็นฝ่าย "ติดตามและทำลาย" และเป็นโชคดีของญี่ปุ่นที่สภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้น้ำในแม่น้ำฮั่น (Hun River) จับตัวเป็นน้ำแข็ง ไม่เป็นอุปสรรคแก่การโจมตีของญี่ปุ่นแต่อย่างใด

แต่เมื่อกำลังจะถูกล้อมและไม่มีความหวังที่จะได้รับชัยชนะแล้ว นายพลคูโรแพทคินได้ออกคำสั่งให้ถอนทัพไปทางเหนือ เมื่อเวลา 18.45น. ของวันที่ 9 มีนาคม การถอนกำลังของรัสเซียประสบความยุ่งยาก เนื่องจากการกองทัพญี่ปุ่นของนายพลโนะสุ ได้ติดตามข้ามแม่น้ำฮั่นมาจากทางด้านหลัง และได้เร่งเข้ารุกตีฝ่ายรัสเซียที่ล่าถอยอยู่ตลอดเวลา กองทัพรัสเซียที่เสียขวัญได้ละทิ้ง คนเจ็บ อาวุธ และเสบียงไว้ ระหว่างทางที่มุ่งหน้าไปสู่ เตี่ยหลิง(Tiehling)

ณ.เวลา 10.00น.ของวันที่ 10 มีนาคม กองทัพญี่ปุ่นก็สามารถยึดเมืองมุกเดนไว้ได้อย่างเด็ดขาด

อวสาน
ฝ่ายรัสเซียสูญเสียรวมแล้วเป็นจำนวนกว่า 90,000คน และต้องสูญเสียเสบียงและกระสุนไปเป็นจำนวนมาก นายพลคูโรแพทคินเกรงว่าฝ่ายญี่ปุ่นจะรุกเข้ามาอีก จึงมีคำสั่งให้เผาเมืองเตี่ยหลิงทิ้ง และให้กำลังพลที่เหลือออกเดินทางไปทางเหนือ ใช้เวลาเดินทาง 10วัน จึงไปถึงที่มั่นใหม่ที่ หัสเผิงไค (Hspingkai) ปัจจุบันคือเมืองสื้อเผิง (Siping) จังหวัดจีลิน (Jilin) สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่นมียอดสูญเสียรวมอยู่ที่ 70,000คน

หลังการรบครั้งนี้ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ทำการสู้รบขนาดใหญ่อีกเลยไปจนสิ้นสุดสงคราม

การรบแห่งมุกเดน : เป็นส่วนหนึ่งของ:สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
วันเวลา 20 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม 1905
สถานที่ ทางใต้ของมุกเดน,แมนจูเรีย
ผลการรบ จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะ
คู่สงคราม : จักรวรรดิญี่ปุ่น - จักรวรรดิรัสเซีย
ผู้บัญชาการ : ญี่ปุ่น จอมพล โอยาม่า อิวาโอ - รัสเซีย นายพล อเล็กเซ คูโรแพทคิน
กำลังพล : ญี่ปผุ่น 200,000-270,000 นาย รัสเซีย 210,000-276,000นาย
ความสูญเสีย : ญี่ปุ่น เสียชีวิต 15,892คน บาดเจ็บ 59,612คน
รัสเซีย : เสียชีวิต 8,705คน บาดเจ็บ 51,438คน สูญหาย 28,209คน


ที่มาของข้อมูล
http://www.tanarmy.com/ index/before%20ww1/russo%20japanese%20war/ Battle%20of%20Mukden.html
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
01-05-2011 Views : 7590
หมวด รัสเซีย : สงครามต่างๆ : 39 หัวข้อ   
    01-05-2011
  • การรบแห่งมุกเดน (ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น)
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.236.100.210 = UNITED STATES    Thursday 19th September 2024  IP : 3.236.100.210   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com