| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
สงครามรัสเซีย - ฟินแลนด์ (สงครามฤดูหนาว) | สงครามฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter War, ฟินแลนด์: talvisota, สวีเดน: vinterkriget, รัสเซีย: Советско-финская война, และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน
การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราว หนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียต กับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ
ฟินแลนด์ ประเทศทางตอนเหนือของรัสเซีย ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิรัสเซียมาเป็นเวลาช้านาน แต่หลังการปฏิวัติของพวกบอลเชวิคในรัสเซียในปี1917 จึงประกาศเอกราช และได้รับการรับรองจากต่างชาติในปี1918 การแยกตัวของฟินแลนด์ ไม่ส่งผลกระทบใดกับรัสเซียทั้งสิ้น
แต่หลังจากการบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบในเดือนกันยายน 1939 ของเยอรมัน ทำให้ทางโซเวียตตระหนักได้ถึงมหาภัยคุกคามจากทางตะวันตก และต้องการเวลาที่จะเสริมแนวป้องกันการรุกรานจากเยอรมัน โดยเริ่มจากการแบ่งโปแลนด์กับเยอรมัน การยาตราทัพเข้ายึดกลุ่มประเทศชายฝั่งทะเลบอลติด และเริ่มมองไปทางฟินแลนด์ แม้ฟินแลนด์จะเป็นกลางก็ตาม แต่ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่อยู่เหนือหัวรัสเซีย ทำให้หากมีชาติใดยึดฟินแลนด์ได้ ก็จะสามารถส่งกำลังเข้าคุกคามรัสเซียตอนเหนือจากคอคอดคาเรเรียนเข้าสู่นครเลนินกราด เมืองเอกในภาคเหนือได้
จากเหตุผลนี้ รัสเซียจึงส่งสาณ์สขอเจรจาตกลงเรื่องความร่วมมือกับฟินแลนด์ เมื่อวันที่5ตุลาคม ปี1939 เนื้อหาสำคัญคือ การขอปรับเส้นพรมแดนบริเวณคอคอดคาเรเรียน ขอครอบครองเมืองสำคัญทางเหนือของฟินแลนด์ และขอเช่าเกาะฮังโก ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์ยอมรับทุกข้อเสนอของรัสเซีย ยกเว้นการขอเช่าเกาะฮังโก ซึ่งฟินแลนด์ยืนกรานไม่ยอมยกให้ เมื่อไม่ได้ดังใจหวัง วันที่13พฤศจิกายน 1939 เครื่องบินทิ้งระเบิดรัสเซียบินเข้าไปทิ้งระเบิดที่เมืองวีพูรีและกรุงเฮลซิงกิทันที สองชาติประกาศภาวะสงคราม สันนิบาตชาติ ลงมติขับรัสเซียออกจากสมาชิกภาพ
รัสเซียยาตราทัพกำลังพล1,000,000นาย รถถัง3,000คัน เครื่องบิน3,800ลำ ภายใต้การบรรชาการของ นายพลคลีเมนตี โวโรชิรอฟ เข้าโจมตีฟินแลนด์หลายๆด้านพร้อมกัน ภาคใต้ เข้าตีแนวแมนเนอร์ไฮม์ ที่คอคอดคาเรเรียน อีกกองทัพเข้าตีอ้อมทางทะเลสาบลาโดกาเพื่อโอบล้อมแนวแมนเนอร์ไฮม์ ทัพหนึ่ง เข้าตีทางหมู่บ้านซูโอมัสซัลมี ภาคกลาง อีกทัพหนึ่ง เข้าตีเมืองซัลลา ในภาคเหนือ และกองทัพจากเมืองท่าเมอร์มังค์ในอาร์คติก เคลื่อนทัพเข้าตีเมืองเพ็ตซาโม การบุกใหญ่นี้ เป็นการกระทำที่ต้องการใช้ยุทธการสงครามสายฟ้าแลบแบบเยอรมัน
ทัพฟินแลนด์โดยการบัญชาการของนายพล คาร์ล กุสตาฟ เอมิล แมนเนอร์ไฮม์ ระดมพลได้250,000นาย รถถัง30คัน เครื่องบิน130ลำ ทั่วโลกต่างคาดการว่า ฟินแลนด์คงต้านรัสเซียได้ไม่กี่น้ำ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น กองทัพฟินแลนด์ต่อต้านกองทัพรัสเซียอย่างดุเดือดและเหนียวแน่น ทั้งที่รัสเซียมีกำลังพลมากกว่า แต่กลับประสบผลสำเร็จในการรบเพียงด้านเดียว นั่นคือ ยึดเมืองเพ็ตซาโมทางตอนเหนือไว้ได้ ส่วนด้านอื่นๆ ทัพรัสเซียเสียหานหนัก และแตกพ่ายย่อยยับ แนวรบเหนือทะเลสาบลาโดกา ทัพฟินแลนด์ตีกองทหารรัสเซีย3กองพลแตกพ่าย ที่หมู่บ้านซูโอมัสซัลมี ทหารฟินแลนด์มีชัยเหนือทหารรัสเซีย2กองพล ทหารรัสเซีย30,000นายถูกสังหาร รัสเซียพยายามเข้าโจมตีกองบัญชาการกองทัพฟินแลนด์ที่เมืองกาจานีในภาคกลาง แต่กลับถูกทัพฟินแลนด์บดขยี้อย่างหนัก กองทัพฟินแลนด์มีการใช้กองทหารเคลื่อนพลด้วยสกี เข้าโจมตีแนวหลังและขบวณส่งกำลังบำรุงของรัสเซียที่ฝ่ายรัสเซียปล่อยให้เปิดโล่งไม่มีการป้องกัน ในหลายแนวรบ ทัพรัสเซียที่พ่ายแพ้ล้วนแต่ทิ้งอาวุธมากมาย ล้วนเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายฟินแลนด์ทั้งสิ้น
เมื่อไม่อาจเอาชนะในหลายแนวรบได้ กองทัพรัสเซียที่ภายหลัง บรรชาการโดย นายพลซีเมน ทิโมเชงโก ได้เปลี่ยนแผนการ โดยระดมทัพทั้งหมดทั้งทหารราบ ปืนใหญ่ รถถัง เครื่องบินรบ เข้าโจมตีแนวแมนเนอร์ไฮม์ด้านเดียว จำนวนที่เทียบไม่ได้เลยของกองทัพรัสเซียนี้ ทำให้ฝ่ายฟินแลนด์ต้องถอยร่นเข้าไปทางเหนือ กองทัพรัสเซียยึดนครไวเบอร์ก เมืองเอกอันดับสองของฟินแลนด์ได้ ทำให้ฟินแลนด์ยอมจำนน วันที่13มีนาคม 1940 ฟินแลนด์ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกมองโคว์ ที่พระราชวังเครมลิน ทำให้รัสเซีย ได้ครอบครองเมืองทางเหนือของฟินแลนด์ ได้ครอบครองฐานทัพเรือบนเกาะฮังโก อ่าวฟินแลนด์ และได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือของทะเลสาบลาโดกา และได้ปรับแนวเส้นพรมแดนบริเวนคอคอดคาเรเรียอีกด้วย
การลงทุนสร้างแนวป้องกันด้านฟินแลนด์ของรัสเซียนี้ แม้จะเป้นการลงทุนราคาแพง แต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะในกาลต่อมา แนวป้องกันใหม่นี้จะช่วยป้องกันการรุกรานของเยอรมันจากฟินแลนด์ได้ |
|