สงครามอัฟกานิสถาน - โซเวียต ในช่วงปี 1978-1992
 




  

หมวด เนื้อหาทั้งหมด
    มอสโก
    เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
    โปรแกรมทัวร์
    ความรู้เกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
    สถานทูตไทย ในต่างประเทศ
    วลาดิเมียร์
    ซูซดาล
    ซากอร์ส
    แผนที่และเส้นทางการท่องเที่ยว
    เวลาและอุณหภูมิโลก
    ของฝากจารัสเซีย
    หนังสือเดินทาง ชนิดต่างๆ
    ที่สุดของรัสเซีย
    บุคคลสำคัญที่ควรรู้จัก
    รวมภาพ ในแต่ละทริป
    คุยกับ เว็บมาสเตอร์
    16 ซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟ
    เที่ยวบินไปประเทศรัสเซีย
    Webcam
    การเดินทางสู่กรุงมอสโก
    ราชนิกุลรัสเซียที่ควรรู้จัก
    ไปรัสเซียต้องระวัง
    ภาษารัสเซีย ???????
    Golden Ring Cities
    Russian Clips
    ราชตระกูล จักรพงษ์
    Russian TV
    เอกอัครราชทูต
    การก่อการร้ายในรัสเซีย
    ไซบีเรีย
    รัสเซีย : สงครามต่างๆ
    พลซุ่มยิงของโซเวียต (รัสเซีย)
    มรดกโลกของ รัสเซีย
    มาเฟียรัสเซีย
    หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
    รักร่วมเพศ ในรัสเซีย
    คิง ไกเซอร์ ซาร์
    เขี้ยว เล็บ รัสเซีย
    อวกาศกับรัสเซีย
    12 ประเทศในเครือรัฐเอกราช
    วอดก้ารัสเซีย
    เขตปกครองของรัสเซีย
    เพชรรัสเซีย
    เสด็จเยือนรัสเซีย
    คาเวียร์
    เครื่องดนตรีรัสเซีย
    น้ำดื่ม (วาดะ)
    ศิลปินรัสเซีย
    Trans-siberian railway
    ze
    8
    

    

ภาพเว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ บ่น
ตามใจ ไปหลวงพระบาง








หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์.. ไม่มากก็น้อย ขอบคุณครับ
 
























เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
สงครามอัฟกานิสถาน - โซเวียต ในช่วงปี 1978-1992
Soviet war in Afghanistan
27 December 1979 – 15 February 1989 (9 years, 50 days)
ระยะเวลา 9 ปี 50 วัน

สงครามอัฟกานิสถาน เป็นการต่อสู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านคอมมิวนิสต์ (มูจาเฮ็ดดิน) กับรัฐบาลอัฟกันและกองทัพโซเวียต สงครามนี้เริ่มต้นจากการทำรัฐประหารในปี 1978 ซึ่งโค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถานคือซาร์ดาร์ มูฮามัด เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ในปี 1973 ตัวประธานาธิบดีเองถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้ง ในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ฮาฟิซูลล่าห์ อามินมีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน (ธันวาคม ปีเดียวกัน)และตั้งให้บาบราก คาร์มาลเป็นประธานาธิบดี

การรุกรานของสหภาพโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้านเกิดจากกองทหารเพียงสามหมื่นนาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็นแสนนาย กลุ่มมูจาแฮ็ดดินได้รับการสนับสนุนโดยสหรัฐฯ ,จีนและซาอุดิอาระเบีย ผ่านปากีสถานและอิหร่าน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่าและมีกำลังทางอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้นที่ในเมืองและกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบทซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมื่อสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุนและที่ยึดได้รวมไปถึงอาวุธต่อต้านอากาศยานของสหรัฐฯ ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรื่องของอาวุธที่ทันสมัย

ในปี 1986 คาร์มัลลาออกและมูฮามัด นาจิบูลลาห์ได้กลายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1988 ประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟประกาศการถอนกองทัพโซเวียต ซึ่งสิ้นสุดภายในหนึ่งปี เพราะประชาชนของโซเวียตนั้นเริ่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยืดเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ

ในฤดูใบไม้ผลิปี 1992 รัฐบาลของนาจิบูลลาห์ได้ถึงกาลอาวสาน ภายหลังการปกครองของพรรคประชาธิปไตยประชาชนเป็นเวลาสิบสี่ปี กรุงคาบูลก็ได้ตกอยู่ใต้อำนาจของรัฐบาลผสมของกลุ่มมูจาเฮ็ดดินภายใต้การปกครองของกองทัพของอาห์เม็ด ชาห์ มาสซุด สงครามได้ทำให้อัฟกานิสถานพบกับปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ชาวอัฟกันมากกว่าหนึ่งล้านคนต้องเสียชีวิตจากสงครามและห้าล้านคนได้กลายเป็นผู้อพยพในประเทศเพื่อนบ้าน

นอกจากนี้ ทหารโซเวียตหมื่นห้าพันนายเสียชีวิตและสามหมื่นเจ็ดพันนายบาดเจ็บ เศรษฐกิจต้องหดตัวอย่างรวดเร็วและพื้นดินส่วนใหญ่ถูกปล่อยให้ไร้ประโยชน์ เมื่อสงครามสิ้นสุด ทุ่นระเบิดกว่าห้าล้านจุดซึ่งถูกฝังอยู่ในพื้นที่รวมกันได้สองเปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศก็ยังคงเป็นอันตรายต่อทั้งคนและสัตว์จนมาถึงปัจจุบันนี้ กลุ่มกองโจรที่ได้รับชัยชนะมีหลายกลุ่มไม่สามารถรวมกันได้และอัฟกานิสถานก็ถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ของการยึดครองหลายแห่ง การแบ่งแยกทางการเมืองเหล่านั้นได้ทำให้กลุ่มตาลิบันก้าวขึ้นมามีอำนาจภายในหนึ่งทศวรรษต่อมา

(อีกบทความหนึ่ง)
เอกสารซึ่งเพิ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้จากหอจดหมายเหตุของสหภาพโซเวียตเก่าและบันทึกช่วยจำของผู้นำทางการเมืองและกองทัพของโซเวียตได้นำเสนอภาพอันน่าเศร้าและซับซ้อนของการเข้าเกี่ยวข้องของกองทัพโซเวียตเป็นเวลาสิบปีในอัฟกานิสถาน ผู้สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดเห็นร่วมกันว่าสงครามครั้งสุดท้ายของโซเวียตได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวภายในซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของประเทศตัวเอง เอกสารซึ่งถูกนำเสนอในที่นี้จะให้ความกระจ่างแก่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน นั้นคือการร้องขอของรัฐบาลอัฟกันสำหรับความช่วยเหลือ และการปฏิเสธในช่วงแรกๆ ของโซเวียตในการส่งกำลังทหาร การผกผันนโยบายนี้โดยคณะโปลิสบูโรกลุ่มเล็ก ๆ และการตัดสินใจของโซเวียตในการเข้ารุกราน และการขยายตัวของปฏิบัติการช่วงเริ่มต้นซึ่งรวมไปถึงการทำสงครามกับฝ่ายต่อต้านชาวอัฟกันและ การวิพากษ์ในช่วงต้น ๆ ต่อนโยบายของโซเวียตและรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (พีดีพีเอ) และการตัดสินใจในการถอนกองกำลังทหาร เอกสารเหล่านั้นเมื่อนำมารวมกันแล้วก็ได้ให้บทเรียนบางประการซึ่งอาจจะเกิดจากการประสบการณ์ของโซเวียตในการทำสงครามในอัฟกานิสถาน

การตัดสินใจในการส่งกองกำลังทหารเกิดขึ้นภายหลังจากการแสดงความตั้งใจอย่างยาวนานและการร้องขอซ้ำๆ ซาก ๆจากผู้นำของพีดีพีเอนั้นคือประธานาธิบดีฮาฟิซูลลาห์ อามินและประธานาธิบดีนูร์ มูฮามัด ทารากิ การถกเถียงกันในคณะโปลิสบูโรแสดงให้เห็นบรรดาผู้นำโซเวียตนั้นลังเลใจอย่างมากในการส่งกองกำลังทหารและตอบสนองความต้องการของรัฐบาลอัฟกันโดยการส่งอุปกรณ์การทหารมาให้แต่ไม่ใช่กำลังทหารตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในปี 1979 อย่างไรก็ตามการโค่นล้มทารากิโดยอามินในเดือนกันยายนภายหลังจากที่ทารากิได้เดินทางกลับจากกรุงมอสโควได้ทำให้ความวิตกกังวลของโซเวียตว่าอามินอาจจะหันไปพึ่งสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้น การตัดสินใจที่แท้จริงในการรุกรานนั้นมีขึ้นอย่างลับ ๆ โดยกลุ่มเล็ก ๆในคณะโปลิสบูโร ซึ่งต้องพบกับการต่อต้านอย่างเปิดเผยและแข็งขันของกองทัพและโดยสมาชิกคณะโปลิสบูโรคนอื่นๆ ผู้นำของกองทัพคือจอมพล โอการ์คอฟและผู้ช่วยของเขาคืออาค์โรมีฟแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างมากในการส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ซึ่งกองกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้

การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัด จากคำให้การของอดีตทหารผ่านศึกโซเวียต แหล่งข่าวของเคจีบีนั้นถูกป้อนให้กับหน่วยสืบราชการลับของกองทัพ อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของประธานเคจีบีนั้นคือยูริ วี อันโดรปอฟผู้ซึ่งควบคุมข้อมูลที่ถูกส่งไปยังเลขาธิการพรรคคือเบรซเนฟผู้ซึ่งป่วยและเริ่มบกพร่องความสามารถในการตัดสินใจตลอดปี 1979 รายงานของเคจีบีจากอัฟกานิสถานได้สร้างภาพของความจำเป็นอันเร่งด่วนและได้มุ่งเน้นอย่างมากต่อความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของอามินและซีไอเอและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของสหรัฐฯในภูมิภาคต่างๆ (ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้ลงนามอย่างลับๆ ในเดือนกรกฏาคมปี 1979 ในการอนุมัติความช่วยเหลือแบบใต้ดินต่อผู้ต่อต้านรัฐบาลทารากิและอามิน)

อัฟกานิสถานนั้นไม่ได้เข้ากับกรอบทางอุดมการณ์และแผนที่ความคิดของเหล่าผู้นำโซเวียตเลย การวิเคราะห์ของพวกเขาต่อความเป็นไปทางทางสังคมภายในของอัฟกานิสถานนั้นถูกทำผ่านเลนส์ของลัทธิเลนินนิสต์ มาร์กซิสต์ ซึ่งทำให้พวกเขามองไม่เห็นความเป็นจริงของสังคมชนเผ่าซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณของประเทศนี้ โดยการเชื่อว่าไม่มีประเทศไหนที่ไม่สุขงอมสำหรับลัทธิสังคมนิยม นักคลั่งอุดมการณ์ของพรรคอย่างเช่น มิคเคล สัสลอฟและบอรีส โปโนมารอพเห็นว่าอัฟกานิสถานนั้นเป็น "มงโกเลียแห่งที่สอง" การวิเคราะห์สถานการณ์เช่นนี้นำไปสู่ความพยายามในการนำวิธีการปฏิบัติแบบต่างชาติมาสู่สังคมอัฟกันเช่นการปฏิรูปที่ดินเชิงบังคับ

การตัดสินใจของสหภาพโซเวียตไม่ได้สนใจบทบาทสำคัญของอิสลามที่มีต่อสังคมของอัฟกานิสถาน มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอิสลามเพียงไม่กี่คนในรัฐบาลและสถาบันทางการศึกษาของโซเวียต ผู้นำสูงสุดนั้นได้รับความข้อมูลอย่างกระท่อนกระแท่นเกี่ยวกับพลังของความเชื่อทางศาสนาที่มีต่อมวลชนชาวอัฟกัน ผู้นำทางการเมืองและกองทัพ ต่างประหลาดใจที่พบว่าแทนที่กำลังของโซเวียตจะถูกมองว่าเป็นกองกำลังต่อต้านจักรวรรดินิยมผู้เกรียงไกร ชาวอัฟกันกลับมองพวกเขาว่าเป็นผู้รุกรานต่างชาติ และ "ผู้ทรยศ"รายงานจากอัฟกานิสถานแสดงให้เห็นถึงความตระหนักต่อ"ปัจจัยของศาสนาอิสลาม"ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในส่วนของนายทหารและนักการเมืองของโซเวียต

พรรคคอมมิวนิสต์พีดีพีเอของอัฟกานิสถานนั้นไม่เคยเป็นพรรคที่สามัคคีกัน มันถูกแบ่งแยกไปตามชนเผ่าและเชื้อชาติ การต่อสู้ระหว่างก๊ก "คาร์ค"และ"ปาร์ชาม"ได้ทำให้การเข้าควบคุมสถานการณ์นั้นเป็นการท้ายทายอย่างมากต่อมอสโคว์ถึงแม้ว่าจะมีที่ปรึกษาของโซเวียตจำนวนมหาศาลในทุกระดับของพรรคและรัฐบาลอัฟกัน การประเมินค่าที่ต่ำเกินไปของโซเวียตต่อความขัดแย้งของชนเผ่าภายในสังคมอัฟกันนั้นกลายเป็นเหตุผลหนึ่งของนโยบายที่ไร้ความสำเร็จของการสร้างสมานฉันท์ระหว่างคนในชาติ

สงครามในอัฟกานิสถานนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการเมืองภายในประเทศของโซเวียต มันเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องหมดความชอบธรรมไป ประชาสังคมของโซเวียตได้มีปฏิกิริยาต่อการรุกรานโดยการไม่ใส่ใจต่อทหารผ่านศึกจากสงครามอัฟกานิสถาน กองทัพนั้นสูญเสียขวัญและกำลังใจอันเนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้รุกราน อังเดรย์ ซาการอฟ นักวิชาการ นักกิจกรรมต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและปรปักษ์คนสำคัญของรัฐบาลโซเวียต ได้กล่าวประณามอย่างเปิดเผยต่อสงครามของโซเวียตในอัฟกานิสถาน ภาพของกองทัพโซเวียตในการต่อสู้กับอิสลามในอัฟกานิสถานนำไปสู่การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของพวกหัวรุนแรงมุสลิมในบรรดาสาธารณรัฐในเอเชียกลางและนำไปสู่การรวมพลังของขบวนการต่อสู้เพื่ออิสระภาพในเชเชน ซึ่งยังคงเป็นภัยคุมคามต่อความมั่นคงสำคัญของรัสเซียจนถึงทุกวันนี้

กองทัพโซเวียตนั้นยังตระหนักอย่างรวดเร็วต่อการเตรียมตัวและการวางแผนที่ไม่ดีของตนต่อภารกิจในอัฟกานิสถาน ภารกิจช่วงต้นคือการป้องกันเมืองสำคัญ ๆและการบูรณะประเทศนั้นในไม่ช้ากลายเป็นการต่อสู้ ซึ่งเพิ่มความรุนแรงอย่างรวดเร็ว กองหนุนในฐานะส่วนใหญ่ของกองทัพของโซเวียตในช่วงแรก ๆที่ถูกส่งไปนั้นถูกดึงเข้าไปสู่การสู้รบเต็มรูปแบบกับฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่กองทัพประจำของอัฟกานิสถานนั้น มักจะไม่ได้รับความไว้ใจเพราะมีแต่คนหนีกองทัพและขาดระเบียบวินัย

กองทัพโซเวียตไม่ได้รับการฝึกให้พบกับการสู้รบแบบกองโจร ในขณะที่ภารกิจแบบเป็นทางการของกองทัพนั้นคือการปกป้องพลเรือนจากพวกต่อต้านรัฐบาล ตามความเป็นจริงแล้ว ทหารโซเวียตมักจะพบว่าพวกตนต่อสู้กับพลเรือนที่เคยตั้งใจจะมาปกป้อง สิ่งนี้หลายครั้งได้นำไปสู่การฆ่าชาวบ้านแบบไม่เลือกหน้า ปฏิบัติการในการติดตามและจับกุมกลุ่มต่อต้านนั้นมักจะไร้ผลสำเร็จและต้องถูกทำซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดียวกันเพราะกองกำลังต่อต้านนั้นมักจะล่าถอยไปยังภูเขาและกลับไปยังหมู่บ้านของพวกตนทันทีที่กองทัพโซเวียตกลับไปที่ค่ายทหาร อาวุธและอุปกรณ์ทางทหารของโซเวียตโดยเฉพาะรถและรถถังหุ้มเกราะนั้นเปราะบางอย่างมากต่อพื้นที่ของอัฟกานิสถาน

กองทัพของโซเวียตยังต้องทุกข์ใจจากความสับสนในเป้าหมายของตัวเองนั้นคือภารกิจอย่างเป็นทางการในครั้งแรกคือการปกป้องรัฐบาลของพีดีพีเอ แต่เมื่อกองทัพเข้าถึงกรุงคาบูล คำสั่งที่พวกเขาได้รับคือการโค่นล้มรัฐบาลของอามิน และคำสั่งก็เปลี่ยนอีกครั้ง แต่บรรดาผู้นำไม่ได้ตั้งใจที่จะยอมรับว่ากองทัพโซเวียตนั้นที่จริงแล้วต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของอัฟกานิสถานเพื่อพีดีพีเอ ความคิดที่ว่า "หน้าที่ของวีรบุรุษแห่งโลก"ซึ่งกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดของโซเวียตกำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นอุดมการณ์แบบล้วน ๆ เกิดจากความคิดที่ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องการปฏิวัติของสังคมนิยมในอัฟกานิสถาน ในขณะที่ประสบการณ์ภาคพื้นดินก็ได้ทำลายเหตุผลเหล่านั้น

การตระหนักที่ว่าไม่อาจใช้กำลังทหารมาแก้ไขความขัดแย้งในอัฟกานิสถานเกิดขึ้นกับบรรดาผู้นำทางทหารของโซเวียตในช่วงต้นๆ ประเด็นของการถอนกำลังทางทหารและการหาการทางแก้ไขโดยวิธีทางการเมืองนั้นถูกยกมาพูดกันในช่วงปี 1980 แต่ก็ไม่มีการทำอะไรไปมากกว่านั้น และกองกำลังที่มีจำนวนจำกัดก็ยังรบในอัฟกานิสถานต่อไปโดยปราศจากเป้าหมายที่ชัดเจนแน่นอน

รายงานของกองทัพในช่วงต้น ๆ ได้เน้นถึงความยากในการต่อสู้บนพื้นที่แถบภูเขา ซึ่งกองทัพโซเวียตไม่ได้ฝึกมาก่อน ความคล้ายคลึงกันของสงครามของสหรัฐฯ ในเวียดนามนั้นชัดเจนและมักจะถูกยกมาพูดโดยนายทหารในกองทัพของโซเวียต
   ส่งหน้านี้ให้เพื่อน      ติดต่อเว็บมาสเตอร์    
08-05-2011 Views : 26715
หมวด รัสเซีย : สงครามต่างๆ : 39 หัวข้อ   
    08-05-2011
  • สงครามอัฟกานิสถาน - โซเวียต ในช่วงปี 1978-1992
๏ปฟ

เธญเธญเธเนเธšเธšเธเธฅเนˆเธญเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธ–เธธเธ‡  เธญเธญเธเนเธšเธšเธšเธฃเธฃเธˆเธธเธ เธฑเธ“เธ‘เนŒ
เธ—เธ™เธฒเธข เธ—เธ™เธฒเธขเธ„เธงเธฒเธก
เธญเธญเธเนเธšเธšเน‚เธฅเน‚เธเน‰ เน‚เธฅเน‚เธเน‰  logo logo design
เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธก เธชเธดเธก เธชเธดเธกเธญเธตเธชเธฒเธ™ เธซเธญเน„เธ•เธฃ เธฎเธนเธ›เนเธ•เน‰เธกเธญเธตเธชเธฒเธ™
เธฃเธฑเธšเธ—เธณ SEO, เธฃเธฑเธšเธ—เธณ Seo, seo, google, เธ›เธฑเนˆเธ™เน€เธงเน‡เธš
เธงเธฒเธ”เน€เธชเน‰เธ™ เธˆเธดเธ•เธฃเธเธฃเธฃเธก เธฅเธฒเธขเน„เธ—เธข เธชเธตเธ™เน‰เธณ















3.239.97.34 = UNITED STATES    Wednesday 06th November 2024  IP : 3.239.97.34   คนที่กำลังอ่าน      ส่งหน้านี้ให้เพื่อน     Bookmark and Share
Russia รัสเซีย  เรียนรัสเซีย  ภาษารัสเซีย ตุ๊กตารัสเซีย ของฝากรัสเซีย

น่าสนใจก่อนไปรัสเซีย
- พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช
- ค้นหาคำสาปแห่งราชวงศ์โรมานอฟ
- พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
- ราชวงค์โรมานอฟ
- จักรพรรดินี แคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนรัสเซีย
- ความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย
อยากให้อ่าน
- กรุงมอสโก
- นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- เมืองเขตโกล์เด้นริง
- รถไฟทรานส์ไซบีเรีย
- เมืองวลาดิเมียร์
- เมืองซากอร์ส
- ตุ๊กตาแม่ลูกดก
ชอบอ่านกันมาก
- สถาปัตยกรรมของรัสเซีย ที่เราควรรู้จัก
- ชิ้นส่วนอวัยวะเพศของรัสปูติน
- แฟเบร์เช่ (Faberge) งานศิลป์ สุดอลังการ
- รายพระนามสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย
- จักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราช
- Trans-Siberian Railway
- วิหารภายในพระราชวังเครมลิน
เรื่องน่ารู้
- ว้อดก้ารัสเซีย
- เพชรรัสเซีย
- รัสเซียนออร์โทดอกซ์ ที่กรุงเทพฯ
- ดู RT TV online (eng)
- ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เช
- เชชเนีย
- ชาวเกย์ที่รัสเซีย
มิตรภาพสองแผ่นดิน
- สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน
- พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ
- พระพี่นางเสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระเทพ เสด็จเยือนรัสเซีย
- สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนรัสเซีย
- เจ้าฟ้าหญิงเสด็จเยือนรัสเซีย

เครือรัฐเอกราช 12 ประเทศ
รัสเซีย  russia Russia อาร์เมเนีย (Armenia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อาร์เซอร์ไบจาน (Azerbaijan) พศ. 2536 รัสเซีย  russia Russia เบลารุส (Belarus) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia จอร์เจีย (Georgia) พศ. 2536-2551 รัสเซีย  russia Russia คาซัคสถาน (Kazakhstan) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia คีร์กิซสถาน (Kyrgyzstan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia มอลโดวา (Moldova) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia รัสเซีย (Russia) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia ทาจิกิสถาน (Tajikistan) พศ. 2534
รัสเซีย  russia Russia เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) พศ. 2548 รัสเซีย  russia Russia ยูเครน (Ukraine) พศ. 2534 รัสเซีย  russia Russia อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) พศ. 2534
   
รัสเซีย Russia
ออกแบบโลโก้ ออกแบบกล่อง ออกแบบถุง ออกแบบสิ่งพิมพ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ วาดเส้น จิตรกรรม Drawing  Painting รับทำ SEO, ปั่นเว็บ, หน้า 1, อันดับ 1 ฮูปแต้ม, สิมอีสาน, ฮูบแต้ม, ศิลปะอีสาน, สิม, โบสถ์, หอไตร, สถาปัตยกรรมอีสาน
อาร์ตนานา สตูดิโอ และ เดอะ ไดโนเสาร์ อาร์ต แกลเลอรี่
บ้านเลขที่ 9, 48 หมู่ 12 บ้านหนองซำ ต.น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร 35160
https://www.artnana.com