| เนิ้อหานี้อยู่ในหมวด : รัสเซีย : สงครามต่างๆ
กองทัพแดงบุก - กรุงเบอร์ลิน (สงครามโลกครั้งที่ 2 ) | การรบแห่งเบอร์ลินจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ - 1945
THE BATTLE OF BERLIN 1945
การรบแห่งเบอร์ลินเป็นการรบครั้งสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป กองทัพอันมหาศาลของสหภาพโซเวียตได้บุกขยี้กรุงเบอร์ลินมาจากทางด้านยุโรปตะวันออกตั้งแต่ช่วงท้ายเดือนเมษายนไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมปีค.ศ.1945 ส่งผลให้อดอฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมประเทศเยอรมันต้องยอมแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตรในอีก5วันต่อมาสงครามในยุโรปก็สิ้นสุดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่ปีค.ศ.1945 สถานการณ์ของแนวรบด้านตะวันออก (Eastern Front) นับว่าคงที่และแน่นอนแล้วว่าฝ่ายเยอรมันไม่สามารถที่จะรุกได้ต่อไป คงได้แต่เป็นฝ่ายถอยอยู่ฝ่ายเดียว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1944ในยุทธการแบ็กเกรชั่น (Operation Bagration) เยอรมันต้องสูญเสียบูดาเปสต์ ( Budapest )เมืองหลวงของฮังการี รวมทั้งประเทศพันธมิตรของตนให้กับสหภาพโซเวียตไป ได้แก่ฮังการี,โรมาเนียและบัลแกเรีย ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยเป็นพันธมิตรร่วมในกลุ่มประเทศอักษะ บัดนี้กลับหันไปญาติดีกับโซเวียตเพื่อเอาตัวรอด โดยได้เซนต์สัญญาสงบศึกกับโซเวียต หักล้างกับการประกาศสงครามตอนส่งทหารไปร่วมเหยียบแผ่นดินโซเวียตร่วมกับนาซีเยอรมัน แถมตอนนี้ยังหันมาประกาศสงครามกับเยอรมันซะอีก โดยได้ทำการไล่ให้เยอรมันถอยด้วยอาวุธของเยอรมันเอง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกกองทัพแดง ปล่อยให้เข้าประเทศเพื่อไล่พวกเยอรมันที่กำลังถอย ในขณะเดียวกันกองทัพโซเวียตก็เริ่มบุกมาทางที่ราบสูงโปแลนด์
กองทัพโซเวียตยึดกรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงของโปแลนด์ได้สำเร็จ ในเดือนมกราคมปีค.ศ.1945 หลังจากรอดูการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเยอรมันกับฝ่ายใต้ดินโปแลนด์ ในการลุกฮือของกรุงวอร์ซอร์( Warsaw Uprising ) ต่อมากองทัพแดงก็เปิดแนวรบขนาดกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยกำลังพลถึง 4 กองทัพ บุกผ่านแม่น้ำนาริว และบุกจากวอร์ซอร์ โดยใช้เวลาแค่ 3 วัน อีก 4 วันต่อมากองทัพแดงเคลื่อนพลไปได้ ไกลเป็นระยะทางถึง 30-40กิโลเมตร ภายในวันเดียว สามารถยึดรัฐต่างๆในทะเลบอลติก (Baltic states) อันประกอบไปด้วยดานซิก (Danzig) ปรัสเซียตะวันออก(East Prussia) และพอซนัน (Poznan) บัดนี้กองทัพแดงได้มาอยู่หน้าแม่น้ำโอเดอร์ ห่างจากกรุงเบอร์ลินทางทิศตะวันออกเพียง 60กิโลเมตรเท่านั้น
การโจมตีตอบโต้ของฝ่ายเยอรมันนั้น ใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่ากลุ่มกองทัพวิสตูลา (Army Group Vistula) ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริกส์ ฮิมเลอร์( Heinrich Himmler )ผู้บัญชาการของหน่วยเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว ในวันที่ 24กุมภาพันธ์ รัสเซียก็สามารถขับไล่เยอรมันออกจากแคว้นโปมีราเนีย (Pomerania) และเคลียร์ด้านขวาของแม่น้ำโอเดอร์ ทางทิศใต้ เยอรมันพยายามเข้าล้อมกรุงบูดาเปสต์ เพื่อยึดคืนจากฝ่ายโซเวียตแต่ก็ล้มเหลวอีก ในวันที่ 13กุมภาพันธ์ เมืองก็อยู่ในความครอบครองของโซเวียตอีก เยอรมันยังจะทำการรุกโต้อีกครั้งเพราะฮิตเลอร์ ยังคงดื้อรั้นและไม่ฟังคำคัดค้านของใครทั้งสิ้น เขายังคิดว่ามีโอกาสที่จะยึดแม่น้ำดานูบ( Danube )กลับคืนมาได้ การโจมตีก็ประสบความล้มเหลวอีกครั้ง ในวันที่ 16 มีนาคม คราวนี้ฝ่ายรัสเซียจึงทำการรุกบ้างในวันเดียวกัน พอถึงวันที่ 30มีนาคม กองทัพแดงก็รุกเข้าไปในประเทศออสเตรีย และยึดกรุงเวียนนาเมืองหลวงของประเทศได้ในวันที่13 เมษายน
ในตอนนี้กองทัพบกเยอรมัน ( ซี่งต่อไปนี้ขอเรียกว่าแวร์มัคส์ ) มีความต้องการน้ำมันเป็นอย่างมากเพราะในตอนนี้ ในกองทัพเหลือน้ำมันเพียงน้อยนิด ไม่เพียงพอกับเครื่องบินขับไล่และรถถังที่มีอยู่ รวมทั้งยังต้องใช้สำหรับเครื่องจักรโรงงานผลิตอาวุธต่างๆด้วย ตั้งแต่ปีค.ศ.1944 เป็นต้นมาอาวุธต่างๆของเยอรมันนั้นผลิตออกมาด้วยคุณภาพที่ต่ำมาก หากยังเป็นเช่นนี้เยอรมนีจะสามารถทำการรบ ต่อไปได้อีกเพียงสองสามสัปดาห์เท่านั้น แต่ฝ่ายเยอรมันก็จำเป็นต้องต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด เพราะฝ่ายพันธมิตรใช้นโยบายคือ การยอมแพ้โดยปราศจากเงี่อนไข (unconditional surrende ) และความถือศักดิ์ศรีของชาตินักรบเยอรมัน (ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเพราะยังมีฮิตเลอร์อยู่บนแผ่นดินเยอรมนี) ด้วยความกลัวความป่าเถื่อนโหดร้าย ของคอมมิวนิสต์กองทัพแดง จะทำการแก้แค้น ชาวเยอรมันส่วนใหญ่จึงเริ่มอพยพไปทางตะวันตกของประเทศ (ที่ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกยึดครองอยู่)
ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกจึงวางแผนใช้ทหารพลร่มยึดกรุงเบอร์ลิน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากนายพลไอเซนฮาวน์ (Eisenhower)ของสหรัฐ เขาบอกว่าเพราะไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก(กับฝ่ายไหนก็ไม่รู้) เขาจึงให้เกียรติสหภาพโซเวียตในการยึดกรุงเบอร์ลินนครหลวงของประเทศคู่แค้นตลอดกาล พอสงครามจบลงก็ยังไม่ทราบตัวเลขของทหาร และเสบียงที่ต้องใช้ในปฏิบัติการดังกล่าวของฝ่ายพันธมิตรตะวันตก
เมื่อเริ่มเข้าสู่ปีค.ศ.1945 สถานการณ์ของแนวรบด้านตะวันออก (Eastern Front) นับว่าคงที่และแน่นอนแล้วว่าฝ่ายเยอรมันไม่สามารถที่จะรุกได้ต่อไป คงได้แต่เป็นฝ่ายถอยอยู่ฝ่ายเดียว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี ค.ศ.1944ในยุทธการแบ็กเกรชั่น (Operation Bagration) เยอรมันต้องสูญเสียบูดาเปสต์ ( Budapest )เมืองหลวงของฮังการี รวมทั้งประเทศพันธมิตรของตนให้กับสหภาพโซเวียตไป ได้แก่ฮังการี,โรมาเนียและบัลแกเรีย ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยเป็นพันธมิตรร่วมในกลุ่มประเทศอักษะ บัดนี้กลับหันไปญาติดีกับโซเวียตเพื่อเอาตัวรอด โดยได้เซนต์สัญญาสงบศึกกับโซเวียต หักล้างกับการประกาศสงครามตอนส่งทหารไปร่วมเหยียบแผ่นดินโซเวียตร่วมกับนาซีเยอรมัน แถมตอนนี้ยังหันมาประกาศสงครามกับเยอรมันซะอีก โดยได้ทำการไล่ให้เยอรมันถอยด้วยอาวุธของเยอรมันเอง นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกกองทัพแดง ปล่อยให้เข้าประเทศเพื่อไล่พวกเยอรมันที่กำลังถอย ในขณะเดียวกันกองทัพโซเวียตก็เริ่มบุกมาทางที่ราบสูงโปแลนด์
กองทัพโซเวียตยึดกรุงวอร์ซอร์เมืองหลวงของโปแลนด์ได้สำเร็จ ในเดือนมกราคมปีค.ศ.1945 หลังจากรอดูการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายเยอรมันกับฝ่ายใต้ดินโปแลนด์ ในการลุกฮือของกรุงวอร์ซอร์( Warsaw Uprising ) ต่อมากองทัพแดงก็เปิดแนวรบขนาดกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยกำลังพลถึง 4 กองทัพ บุกผ่านแม่น้ำนาริว และบุกจากวอร์ซอร์ โดยใช้เวลาแค่ 3 วัน อีก 4 วันต่อมากองทัพแดงเคลื่อนพลไปได้ ไกลเป็นระยะทางถึง 30-40กิโลเมตร ภายในวันเดียว สามารถยึดรัฐต่างๆในทะเลบอลติก (Baltic states) อันประกอบไปด้วยดานซิก (Danzig) ปรัสเซียตะวันออก(East Prussia) และพอซนัน (Poznan) บัดนี้กองทัพแดงได้มาอยู่หน้าแม่น้ำโอเดอร์ ห่างจากกรุงเบอร์ลินทางทิศตะวันออกเพียง 60 กิโลเมตรเท่านั้น
การโจมตีตอบโต้ของฝ่ายเยอรมันนั้น ใช้กองทัพที่สร้างขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่ากลุ่มกองทัพวิสตูลา (Army Group Vistula) ภายใต้การบัญชาการของนายพลเฮนริกส์ ฮิมเลอร์( Heinrich Himmler )ผู้บัญชาการของหน่วยเอสเอส แต่ก็ประสบความล้มเหลว ในวันที่ 24กุมภาพันธ์ รัสเซียก็สามารถขับไล่เยอรมันออกจากแคว้นโปมีราเนีย (Pomerania) และเคลียร์ด้านขวาของแม่น้ำโอเดอร์ ทางทิศใต้ เยอรมันพยายามเข้าล้อมกรุงบูดาเปสต์ เพื่อยึดคืนจากฝ่ายโซเวียตแต่ก็ล้มเหลวอีก ในวันที่ 13กุมภาพันธ์ เมืองก็อยู่ในความครอบครองของโซเวียตอีก เยอรมันยังจะทำการรุกโต้อีกครั้งเพราะฮิตเลอร์ ยังคงดื้อรั้นและไม่ฟังคำคัดค้านของใครทั้งสิ้น เขายังคิดว่ามีโอกาสที่จะยึดแม่น้ำดานูบ( Danube )กลับคืนมาได้ การโจมตีก็ประสบความล้มเหลวอีกครั้ง ในวันที่ 16 มีนาคม คราวนี้ฝ่ายรัสเซียจึงทำการรุกบ้างในวันเดียวกัน พอถึงวันที่ 30มีนาคม กองทัพแดงก็รุกเข้าไปในประเทศออสเตรีย และยึดกรุงเวียนนาเมืองหลวงของประเทศได้ในวันที่13 เมษายน
ในตอนนี้กองทัพบกเยอรมัน ( ซี่งต่อไปนี้ขอเรียกว่าแวร์มัคส์ ) มีความต้องการน้ำมันเป็นอย่างมากเพราะในตอนนี้ ในกองทัพเหลือน้ำมันเพียงน้อยนิด ไม่เพียงพอกับเครื่องบินขับไล่และรถถังที่มีอยู่ รวมทั้งยังต้องใช้สำหรับเครื่องจักรโรงงานผลิตอาวุธต่างๆด้วย ตั้งแต่ปีค.ศ.1944 เป็นต้นมาอาวุธต่างๆของเยอรมันนั้นผลิตออกมาด้วยคุณภาพที่ต่ำมาก หากยังเป็นเช่นนี้เยอรมนีจะสามารถทำการรบ ต่อไปได้อีกเพียงสองสามสัปดาห์เท่านั้น แต่ฝ่ายเยอรมันก็จำเป็นต้องต่อสู้ต่อไปจนถึงที่สุด เพราะฝ่ายพันธมิตรใช้นโยบายคือ การยอมแพ้โดยปราศจากเงี่อนไข (unconditional surrende ) และความถือศักดิ์ศรีของชาตินักรบเยอรมัน (ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเพราะยังมีฮิตเลอร์อยู่บนแผ่นดินเยอรมนี) ด้วยความกลัวความป่าเถื่อนโหดร้าย ของคอมมิวนิสต์กองทัพแดง จะทำการแก้แค้น ชาวเยอรมันส่วนใหญ่จึงเริ่มอพยพไปทางตะวันตกของประเทศ (ที่ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกยึดครองอยู่)
อดอฟ ฮิตเลอร์จะต้องยังคงมีชีวิตอยู่ในกรุงเบอร์ลินแน่นอน
ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกจึงวางแผนใช้ทหารพลร่มยึดกรุงเบอร์ลิน แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากนายพลไอเซนฮาวน์ (Eisenhower)ของสหรัฐ เขาบอกว่าเพราะไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก(กับฝ่ายไหนก็ไม่รู้) เขาจึงให้เกียรติสหภาพโซเวียตในการยึดกรุงเบอร์ลินนครหลวงของประเทศคู่แค้นตลอดกาล พอสงครามจบลงก็ยังไม่ทราบตัวเลขของทหาร และเสบียงที่ต้องใช้ในปฏิบัติการดังกล่าวของฝ่ายพันธมิตรตะวันตก
สหภาพโซเวียตเริ่มทำการบุกเยอรมันทางทิศตะวันออก โดยสตาลินมีจุดประสงค์สองอย่าง
อย่างแรก หลังสงครามสงบเขาจะได้ยึดเยอรมันตะวันออกเป็นเขตปกครองของโซเวียต ส่วนเยอรมันตะวันตกให้อยู่ในการปกครองของพวกพันธมิตรตะวันตกไป และจัดตั้งให้เยอรมันตะวันออก เป็นประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์เป็นอันว่าการที่ฝ่ายพันธมิตรใช้นโยบาย "การยอมแพ้โดยปราศจากเงื่อนไข" นั้นสหภาพโซเวียตมีแต่ได้กับได้ เพราะสามารถทำให้ประเทศในยุโรปตะวันออก กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์เสมือนประเทศบริวาร (ที่อยู่กันในกลุ่มวอร์ซอแพ็ค) กันชนกับประเทศกลุ่มนาโต้จนเกิดเป็นสงครามเย็นในที่สุด
และ อย่างที่สอง คือทำการยึดเมืองหลวงของเยอรมัน คือกรุงเบอร์ลินที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องทำการจับกุมอดอฟ ฮิตเลอร์ บุคคลที่เขาและชาวรัสเซีย( รวมถึงประเทศอื่นๆ )เกลียดนักเกลียดหนา มาลงโทษให้สาสมกับเคราะห์กรรมที่ได้ก่อไว้ อีกทั้งยังหวังที่จะยึดโครงการ วิจัยสร้างระเบิดอะตอมของเยอรมัน (German atomic bomb prograe)ไว้ในกำมือของกองทัพแดงด้วย
วันที่ 9เมษายนปีค.ศ.1945 กองทัพแดงก็บุกเข้ายึด โคนิกซ์เบิรก์( Konigsberg )ในแคว้นปรัสเซียตะวันออกไว้ได้ กองทัพของนายพล โรโคซอฟสกี้ (Rokossovsky) แห่งกองทัพเบลารุสเซี่ยนที่2 (2st Belorussian Front) หรือเรียกสั้นๆว่า 2 บีเอฟ ( 2BF ) สามารถเคลื่อนทัพได้อย่างสะดวกมุ่งไปทางทิศตะวันตก ถึงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโอเดอร์ ในสองสัปดาห์แรก ของเดือนเมษายน กองทัพโซเวียตรุกไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว นายพลจอร์จี ซูคอฟ(Georgy Zhukov) ได้รวมกำลังกองทัพเบลารุสเซียที่ 1 ของเขาประจำตำแหน่งเตรียมพร้อมรบตามริมแม่น้ำโอเดอร์ เป็นทางยาวตั้งแต่เมือง แฟรงเฟริท (Frankfurt) ทางใต้ของทะเลบอลติก ไปถึงเขตที่ราบสูงซีโลวฟ์(Seelow Heights )
เมื่อกองทัพ 1บีเอฟมุ่งหน้าไปทางเหนือสู่ที่ราบสูงซีโลวฟ์ กองทัพ 2บีเอฟก็จะเข้ามาประจำในพื้นที่ว่างแทน โดยมีกองทัพเยอรมัน 2กองทัพอยู่ด้านซ้ายของแนว ซึ่งจะถูกบีบวงล้อมจับใกล้ๆกับดานซิก ปิดทางหนีออกจากแม่น้ำโอเดอร์ ในทางทิศใต้นายพล โคเนฟ(Konev) เป็นผู้กุมกองทัพใหญ่คือกองทัพยูเครนเนี่ยนที่ 1( 1st Ukrainian Front ) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า 1ยูเอฟ (1UF) ได้ออกจากตอนบนของแคว้นไซลิเซีย (Upper Silesia) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันเฉียงเหนือสู่แม่น้ำไนซ์ซี(Neisse)
กองทัพใหญ่ทั้งสามของสหภาพโซเวียตนี้ ประกอบไปด้วยทหาร สองล้านห้าแสนคน! รวมทหารจากกองทัพโปแลนด์ที่1 (1st Polish Army) จำนวน 78,556คนเข้าไปด้วย,ใช้รถถังจำนวนมากถึง 6,250คัน,เครื่องบิน 7,500ลำ,ปืนใหญ่และปืนครกรวมกันกว่า 41,600กระบอก,รถบรรทุกเครื่องยิงจรวดแบบคัตยูซา(Katyushas) หรือที่มีชื่อเล่นว่าออแกนของสตาลิน(' Stalin Organs')จำนวน 3,255คัน และยานยนต์แบบต่างๆกว่า 95,383คันที่ส่วนใหญ่ผลิตใน สหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่วันที่20มีนาคม นายพลก็อดฮารด์ เฮนริกซี่ (Gotthard Heinrici) ได้เข้ามาทำหน้าที่ผู้บังคับบัญชากลุ่มกองทัพวิสตูล่า แทนนายฮิมเลอร์ ก็อดฮารด์ ได้วางแผนป้องกันประเทศที่ดีที่สุด ที่กองทัพเยอรมันในขณะนั้นสามารถทำได้ เขาคาดว่ากำลังหลักของโซเวียตจะต้องรุกมาทางแม่น้ำโอเดอร์ รวมทั้งจากทางตะวันออกตามทางด่วนสำหรับรถยนต์ในเยอรมัน ที่เรียกว่าออโตบาน (autobahn) เขาไม่ได้พยายามป้องกันฝั่งแม่น้ำโอเดอร์แต่อย่างใด จะใช้ก็แต่กำลังส่วนน้อยเข้าต่อสู้อย่างประปราย เพราะก็อดฮารด์ได้สั่งให้ทหารช่างของเขาสร้างป้อมปราการและแนวป้องกันบนที่ราบสูงซีโลวฟ์ ที่สามารถมองเห็นแม่น้ำโอเดอร์ได้อย่างชัดเจนทำให้ฝ่ายโซเวียตที่คิดจะข้ามแม่น้ำเสียเปรียบ
เมื่อเริ่มต้นชั่วโมงแรกของวันที่ 16เมษายน การรบก็เริ่มขึ้น ฝ่ายโซเวียตยิงปืนใหญ่จำนวนมากถึง พันกระบอกถล่มแนวของเยอรมัน ผสมโรงด้วยเครื่องยิงจรวดคัตยูซา หลังจากนั้นกองทัพที่ 1บีเอฟ (เบลารุสเซี่ยน) ก็ได้โจมตีข้ามแม่น้ำโอเดอร์ ส่วนกองทัพ 1ยูเอฟ(ยูเครนเนี่ยน )โจมตีข้ามมาจากแม่น้ำนีสส์ ทั้งหมดนี้เริ่มโจมตีในตอนรุ่งอรุณ กองทัพเบลารุสที่ 1เป็นกองทัพที่แข็งแกร่ง แต่ก็ต้องสู้รบอย่างลำบาก เพราะฝ่ายเยอรมันมีจำนวนมาก การโจมตีครั้งแรกของกองทัพเบลารุสที่ 1ต้องกลายเป็นหายนะ เฮนริกซี่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่า สนามเพลาะแนวแรกจะต้องถูกปืนใหญ่โซเวียตยิงถล่มจนสิ้น จึงสั่งให้ถอนทหารกลับไปก่อน ตามแผนของฝ่ายโซเวียตนั้น จะทำการเปิดไฟค้นหา (searchlights) ที่ปกติใช้ค้นหาเครื่องบินในเวลาการคืน เพื่อชี้เป้าให้ปืนต่อสู้อากาศยาน จำนวน 143หลอด (หรือจะเรียกเป็นอันดีหว่า)
ส่องไปทางฝ่ายตั้งรับให้เกิดอาการแสบตา และตาฝ้าฟางหรือตาพร่า ยิงปืนไม่ถูก ( ตอนนั้นยังมืดอยู่ ) แต่กลับกันก็ทำให้เห็นกลุ่มทหารโซเวียต ที่วิ่งเข้ามาหา ปรากฏเป็นเงาสีดำของทหาร ตัดกับพื้นสีขาวสว่างของแสงไฟ (ยิ่งเห็นชัดๆ) หน่ำซ้ำพื้นดินที่กลายเป็นโคลนตม ก็กลายเป็นอุปสรรค์ต่อการเดินเท้าของทัพทหารโซเวียตยิ่งนัก เพราะทำให้เดินได้ช้า ด้วยเหตุข้างต้น พอฝ่ายเยอรมันเริ่มทำการยิงขัดขวาง ทหารโซเวียตจิงต้องตกเป็นเหยื่อกระสุนนาซี เกิดการสูญเสียชีวิตทหารแดงอย่างหนัก ทำให้การรุกคืบเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเป็นไปไม่ได้ นายพลซูคอฟจึงให้ทหารกลับมาตั้งหลักก่อน เพื่อทำการบุกอีกในตอนเย็น
ด้วยการบุกอย่างกล้าหาญ ทหารแห่งสหภาพโซเวียตก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันเข้าไป ได้สำเร็จลึกเข้าไปกว่า 6 กิโลเมตร แต่แนวป้องกันของเยอรมันยังคงหลงเหลืออยู่ ในทางทิศใต้ทหารของกองทัพยูเครนที่ 1ซึ่งบัญชาการโดยซูคอฟเช่นกัน รายงานผลการรบแห่งที่ราบสูงซีโลวฟ์(Battle of the Seelow Heights) ว่าไม่สามารถรุกคืบหน้าตามแผนได้ สตาลินจึงส่งนายพล โคเนฟมาช่วยทำหน้าที่บุกกรุงเบอร์ลินทางทิศใต้ด้วยกองทัพรถถังแดง
ในวันที่สองกองทัพที่ 1เบลารุส อยู่ที่สันเขาด้านหลังเขตการรบเพื่อให้พักผ่อน ยุทธวิธีที่ฝ่ายโซเวียตใช้คือ การใช้การรุกด้วยคลื่นมนุษย์จำนวนมากๆ โดยยอมสูญเสียอย่างหนักเพื่อแลกมาซึ่งชัยชนะ ในคืนวันที่ 17เมษายนกองทัพเยอรมันที่เคยสู้รบกับกองทัพของซูคอฟมาก่อน แต่ยังไม่ถูกตีแตกซึ่งอยู่ทางทิศใต้ คือกลุ่มกองทัพกลาง(Army Group Centre) ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล เฟอร์ดินันด์ ชอร์เนอร์(Ferdinand Schorner) กองทัพรถถังแพนเซอร์ที่สี่ (IV Panzer Army) ที่อยู่ทางเหนือของปีกกองทัพของเขา ไม่ได้เป็นอุปสรรค์กีดขวางฝ่ายโซเวียตเลย เมื่อต้องเจอกับการบุกอย่างหนักของกองทัพยูเครนที่ 1ก็ต้องยอมถอยทัพ นายพล ชอร์เนอร์ได้เก็บกองพลรถถังแพนเซอร์สองกองพล ไว้ทางทิศใต้เพื่อป้องกันศูนย์กลางของกองทัพ และได้ถูกแทนที่ด้วยกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ที่เพิ่งหนีโซเวียตมา ทำให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนของการรบครั้งนี้
เพราะเมื่อกลุ่มกองทัพวิสตูล่า และ กลุ่มกองทัพกลางภาคใต้ ไม่สามารถป้องกันที่มั่นได้ จึงต้องสูญเสียไปในตอนกลางคืน กองทัพแพนเซอร์ที่ 4ต้องมาเผชิญหน้ากับกองทัพของนายพล โคเนฟพอดิบพอดี( เรียกว่าหนีเสือประจระเข้โดยแท้ ) ทัพของนายพลโคเนฟ สามารถตีการป้องกันที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ของนายพลชอร์เนอร์เสียแตกกระเจิงในการรบทางทิศใต้ ของการรบแห่งที่ราบสูงซีโลวฟ์ เป็นการทำลายการป้องกันของนายพลเฮนริกซี่ไปขั้นหนึ่ง
วันที่ 18เมษายนกองทัพสหภาพโซเวียตยังคงรุกไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โดยต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อของทหารแดงจำนวนไม่น้อย เมื่อการรบในตอนกลางคืนของวันที่ 17สิ้นสุดลง กองทัพเบลารุสที่ 1ก็มาถึงแนวตั้งรับที่สาม และเป็นแนวสุดท้ายของเยอรมัน และแล้วกองทัพยูเครนที่ 1ก็สามารถยึดป้อมปราการได้สำเร็จ และเตรียมพร้อมสำหรับการบุกไปบนภูมิประเทศที่เปิดโล่ง
วันที่ 19เมษายน วันที่สี่ของการรบ กองทัพเบลารุสที่ 1สามารถโจมตีแนวตั้งรับสุดท้ายของที่ราบสูงซีโลวฟ์แตก กองทัพเยอรมันที่เหลือถอยเข้าป้องกันกรุงเบอร์ลิน กองทัพที่ 9 (IX Army) ของเยอรมันคอยอยู่กับที่บนที่สูง และทางทิศเหนือของปีกกองทัพแพนเซอร์ที่ 4 ซึ่งเหลืออยู่ยังคงเป็นอันตรายต่อกองทัพเบลารุสที่ 1 กองทัพทหารการด์ที่ 3(3rd Guards Army) และกองทัพรถถังการด์ที่ 3และ 4 (3rd and 4th Guards Tank Armies) ได้ตีกองท้พแพนเซอร์ที่ 4แตกพ่ายไป และมุ่งสู่ทางเหนือของเบอร์ลิน กองทัพเบลารุสที่ 1บุกไปทางตะวันตก เพื่อไปหาฝ่ายอเมริกัน เมื่อสิ้นสุดวันที่ 19แนวตั้งรับของเยอรมันทางตะวันออก ได้ทำการหยุดยิง ส่วนที่ยังต่อต้านอยู่ก็ถูกทหารแดงล้อมจับหรือทำลาย
ฝ่ายโซเวียตได้ลงทุนไปอย่างมากในการรบครั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ 1เมษายน จนถึงวันที่ 19เมษายน ต้องสูญเสียรถถังไปเป็นจำนวนมากกว่า 2,807คันในขณะเดียวกัน ที่แนวรบด้านเยอรมันตะวันตกฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้สูญเสียรถถังไปถึง 1,079คัน นับว่าเป็นจำนวนมากแต่ก็เป็นจำนวนแค่ 1ในสองหรือสามของโซเวียตเท่านั้น |
|